คำว่า “ศาล” มีความหมายได้หลายอย่าง ดังนี้
ความหมายทางกฎหมาย “ศาล” หมายถึง องค์กรฝ่ายตุลาการซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี โดยดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ศาล
มีบทบาทสำคัญในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน โดยพิจารณาพิพากษาคดีต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
ความหมายทางศาสนา “ศาล” หมายถึง สถานที่อันเชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของเทวดา เทพารักษ์ หรือเจ้าผี เป็นต้น เช่น ศาลพระภูมิ ศาลเจ้า ศาลพันท้ายนรสิงห์ เป็นต้น
ความหมายทางภาษา “ศาล” หมายถึง สถานที่ที่ชำระความ เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา
สำหรับศาลในความหมายทางกฎหมายนั้น ประเทศไทยมีศาลอยู่ 4 ประเภท ดังนี้
> ศาลรัฐธรรมนูญ
> ศาลยุติธรรม
> ศาลปกครอง
> ศาลทหาร
ศาลรัฐธรรมนูญ
> พิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างกฎหมายหรือกฎหมาย
> พิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร
วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือ องค์กรอิสระ
> การพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ระบอบการปกครอง และความมั่นคงแห่งรัฐ
> การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
ศาลยุติธรรม
> มี 3 ชั้นศาล : ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ตามลำดับ
> พิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา
> ยกเว้น คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น
ศาลปกครอง
> พิจารณาพิพากษาคดีปกครอง
> คดีพิพาทระหว่างหน่ายงานต่างๆ ของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
> เคดีพิพาทระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับเอกชน
ศาลทหาร
> มี 3 ประเภท : ศาลทหารในเวลาปกติ ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ ศาลอาญาศึก
> พิจารณาพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิดทางอาญา ซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในอานาจศาล
ทหารในขณะกระทำความผิด
> มีอำนาจในการพิจารณาคดีอย่างอื่นได้ ตามที่กฎหมายกำหนดเพิ่มเติม
นอกจากนี้ ยังมีศาลพิเศษอื่นๆ ที่อาจจัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย เช่น
ศาลภาษีอากร ศาลแรงงาน เป็นต้น โดยศาลทั้ง 4 ประเภทนี้ แยกออกจากกันโดยอิสระ
เพื่อความยุติธรรมและความเป็นธรรมในการพิจารณาพิพากษาคดี
คณะนิติศาสตร์ SPU
รู้จริงเรื่องกฎหมาย ว่าความได้อย่างมืออาชีพ
เปิดสอนครบ จบในที่เดียว ทั้งปริญญาตรี โท เอก
เลือกเรียนได้ทั้ง เวลาปกติหรือนอกเวลาราชการ
>> สมัครออนไลน์ คลิกที่นี่