Facultyคณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์

อยากเป็นสถาปนิกมือโปรในโลก Metaverse ต้องอ่าน!!

“ไม่ว่าโลกไหนๆ ก็ต้องมีผู้สร้าง” นั่นจึงทำให้ Metaverse เองก็จำเป็นที่จะต้องมีนักสร้างสรรค์ หรือนักออกแบบในโลกเสมือนด้วยเช่นกัน ซึ่งคงไม่พ้นใครที่ไหน ก็คือสถาปนิกที่มีความเชี่ยวชาญด้านการออกกแบบ ทั้งภายในและภายนอกของโลกเสมือน

 

แต่จะแตกต่างหรือเหมือนโลกแห่งความจริงอย่างไร และมีอะไรที่น่าสนใจสำหรับน้องๆ ที่อยากเป็นสถาปนิกในโลก Metaverse บ้าง?

วันนี้เรามาเรียนรู้ผ่านมุมมองของ อาจารย์ธีรบูลย์ ฉลองมณีรัตน์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมด้วยกันค่ะ

 

 

“Metaverse คือโลกใบใหม่ที่เกิดขึ้นคู่ขนานกับโลกจริงๆ ที่เราอยู่”
ความน่าสนใจในมุมมองของสถาปนิกอย่างผมคือ มันเป็นพื้นที่ใหม่ในลักษณะของสิ่งจำลอง ทำให้กลายเป็นสนามแข่งขันใหม่สำหรับสถาปนิกที่จะเข้าไปทำงานอยู่ในนั้น จึงเป็นการสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นมาได้ เพราะในโลกแห่งความจริง เมืองเริ่มประสบปัญหาพื้นที่ถูกครอบครองเป็นจำนวนมาก ราคาก็สูง ทำให้การพัฒนาที่ดินต่างๆ นั้นเป็นไปได้ยากมาก ดังนั้นโอกาสใหม่ๆ ที่เกิดจากพื้นที่ใหม่ๆ จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก

 

 

ความเหมือนคือเราสามารถใช้แกนหลักในด้านพื้นฐานความรู้ ทักษะ และวิธีคิดของการเรียนสถาปนิกเหมือนกัน หรือจะพูดได้ว่าอ้างอิงอยู่ในความรู้ ทักษะ และวิธีคิดที่เหมือนกัน

ส่วนความต่างที่ทำให้ Metaverse ดูน่าสนใจ คือโลกเสมือนเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้อยู่บนกายภาพอะไรเลย จึงมีความอิสระและข้อกำจัดน้อยกว่าโลกจริง

ดังนั้นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในโลกแห่งความเป็นจริง จึงเป็นไปได้เสมอในโลกของ Metaverse ครับ

 

 

ด้วยความที่เราเป็นมหาวิทยาลัยแรกๆ ที่เข้ามาทำงานด้าน Metaverse และมีความร่วมมือกับบริษัท Wasabi Global Ventures ซึ่งทำให้นักศึกษาของเราได้ทำงานในด้าน Metaverse จริงๆ เราจึงได้รู้ว่าควรเพิ่มทักษะจุดไหนลงไปเพิ่มเติมรายวิชาใหม่ๆ ซึ่งสิ่งที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ SPU ได้เพิ่มเติมให้กับนักศึกษา เพื่อที่จะสามารถเข้าไปทำงานด้าน Metaverse ได้ คือการเขียนตัว Programming, การทำ Content, การทำการตลาดใน Metaverse ซึ่งมีความแตกต่างจากโลกจริง

และเนื่องจากเรามีความร่วมมือกับบริษัทเอกชน จึงทำให้นักศึกษาของเราเกิดการทำงาน และได้เรียนรู้นอกห้องเรียนอีกด้วย

 

 

ในด้านความรู้พื้นฐานสถาปัตย์ การทำ Content, การตลาด หรือการใช้โปรแกรมทางด้านสถาปัตย์ แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้เด็กสถาปัตย์ จำเป็นต้องรู้อยู่แล้ว

แต่ในบางทักษะหรือศาสตร์นั้นมันก็เหมือนกับว่า “ทำไมสถาปนิกต้องมีความรู้ในด้านของโครงสร้าง ทั้งๆ ที่มีวิศวะอยู่” ในการทำงานของโลกเสมือนของสถาปนิกจำเป็นต้องมีความรู้ด้วยเช่นกัน เพื่อที่จะสื่อสารกับทีมที่จะดูแลในเรื่องที่มีความซับซ้อนได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น
– ความรู้ด้าน AI, Coding
– ทักษะการทำ Graphic Design และ 3D Modeling
– เทคโนโลยี VR, AR

ซึ่งปัจจุบันทางเราก็ได้มีการสอนอยู่แล้ว

 

 

สิ่งที่จะเกิดเป็นอาชีพใหม่ อาจจะไม่ใช่ชื่อที่เฉพาะเจาะจงนัก แต่เราจะเรียกรวมๆ ว่า Construct Architect ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้สร้าง” ในโลก Metaverse ซึ่งทำให้เรามีปริมาณงานใหม่ๆ และโอกาสที่เพิ่มขึ้น สำหรับสถาปนิกรุ่นใหม่ที่เตรียมความพร้อมด้านความรู้และทักษาเพื่อเข้าไปสร้างสิ่งต่างๆ ในโลกเสมือน

 

 

มีความคิดที่ว่า “ความหลากหลายนั้น สร้างความแตกต่าง”
เราจึงมีนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาบ่อยมาก ด้วยความที่เราเน้นการเรียนที่มาจากตัวจริง ประสบการณ์จริง และการเรียนบนพื้นที่จริงๆ จากผู้ใช้สอย ทำให้นักศึกษาของเรานั้นมีต้นทุนของความแป็นสถาปนิกมากกว่าที่อื่น เพราะมีความรู้ ประสบการณ์ ทักษะความเชี่ยวชาญที่หลากหลาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้นักศึกษาของเรามีโอกาสและอนาคตที่ดีในการประกอบอาชีพที่มากกว่าสถาปนิกเพียงอย่างเดียว

 

 

ถ้าใครเป็นเด็กรุ่นใหม่ที่เชื่อในเรื่องของ Metaverse
หากมองอนาคตที่ไกลออกไป อาจารย์จะบอกว่า Metaverse นั้นเป็นสิ่งใหม่และเป็นโอกาสใหม่ๆ ในอนาคต มันจะเป็นความท้าทายใหม่ของพวกเราทุกคน ที่จะเข้าไปเป็นผู้สร้างในโลกอนาคต ด้วยอาชีพของสถาปนิกและการออกแบบ ถ้าใครเชื่อในเรื่องนี้ น้องๆ ต้องก้าวเข้ามาเรียนสถาปนิกเลยครับ เพราะในอีกไม่กี่ปี เทคโนโลยี Metaverse ในอนาคตจะพร้อมแล้ว ถึงวันนี้ถ้าน้องๆ ยังไม่เข้ามาเรียนก็อาจจะเอาท์ไปเรียบร้อยแล้วก็ได้นะครับ

 

 

ใครที่อยากรู้เรื่องของ Metaverse และดูผลงานต่างๆ ของรุ่นพี่จากมหาวิทยาลัยศรีปทุมเพิ่มเติม ก็สามารถเข้าไปอ่านกันได้ที่ SPU NEWS @May-Jun 2022 [Mataverse SPU] กันได้นะคะ
จิ้มเลย >>> www.spu.ac.th/contents/portfolio/spu-newsmay-jun2022/

 

ส่วนใครที่อยากอ่านเรื่องของหลักสูตรของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์เพิ่มเติม
ก็สามารถเข้าไปดูได้เลยที่เว็บไซต์…. http://arch.spu.ac.th/

 

 

(Visited 228 times, 1 visits today)

Related posts

รวม 8 คณะ ของมนุษย์เป็ด จบไปทำงานได้หลายอย่าง ครอบคลุมความรู้และทักษะหลายด้าน

P'Krish

7 สิ่งที่ได้จากการเรียนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

P'Lilly SPU

Dek66 เลือกเรียนอะไรดี ที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม

P'Krish