
“นักออกแบบผลิตภัณฑ์ คือผู้ที่สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าอุตสาหกรรมแต่ละประเภท ตามรูปแบบของงานหรือโจทย์ที่ได้รับ
โดยคำนึงถึงการใช้งาน ความสวยงาม ต้นทุนการผลิต เวลา รวมทั้งกรรมวิธีการผลิตในระบบอุตสาหกรรมที่เป็นไปได้จริง อาชีพนี้แม้จะได้ชื่อว่าเป็นนักออกแบบแต่ต้องทำงานภายใต้เงื่อนไขที่หลากหลาย ท้าทาย
เพื่อให้การใช้ชีวิตของมนุษย์สะดวกสบายมากขึ้น
จึงเรียกได้ว่าเป็นนักออกแบบที่ช่วยแก้ปัญหาชีวิตคนให้ดีขึ้น”
การทำงานของนักออกแบบผลิตภัณฑ์ คือการผสมผสานระหว่างศาสตร์ด้านศิลปะการออกแบบ วิศวกรรม และธุรกิจการตลาด เพราะไม่ใช่เพียงแค่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นออกมาเท่านั้น แต่ยังต้องตอบโจทย์ลูกค้า คำนึงถึงวัสดุ กระบวนการผลิตในวงจรอุตสาหกรรม ความต้องการตลาด งบประมาณ รวมถึงระยะเวลาในการออกแบบด้วย โดยงานออกแบบผลิตภัณฑ์อาจจำแนกตามความชำนาญของนักออกแบบว่า ถนัดออกแบบสำหรับอุตสาหกรรมแบบใด เช่น งานเฟอร์นิเจอร์ของแต่งบ้าน อุตสาหกรรมการแพทย์ ธุรกิจยานยนต์ หรืองานเซรามิก เป็นต้น

ขั้นตอนการทำงาน
USER RESEACH เมื่อได้โจทย์ประเภทสินค้ามาเบื้องต้นแล้ว จะเริ่มต้นด้วยการวิจัยการตลาดก่อน ว่าผู้ใช้งานของผลิตภัณฑ์เป็นใคร? กลุ่มเป้าหมายมีจำนวนเท่าไหร่? มีกำลังซื้อมากน้อยแค่ไหน?
หา Solution คือการนำข้อมูลที่ได้มาเริ่มต้นกระบวนการคิดและทำแบบแผน คิดภาพรวม คิด Concept คร่าวๆ แล้วจึงทำ Mockup ออกมา อาจจะทำออกมาหลายแบบและทดลองกับกลุ่มคนที่ตรงเป้าหมาย ว่าชอบแบบไหน แล้วนำผลมาเปรียบเทียบกัน
ทำ Present นำเสนอลูกค้า เพื่อหาข้อสรุปแนวทางการทำงานต่อไป หรือรับการแก้ไขงานเพิ่มเติม
สรุปงาน หลังจากได้ข้อสรุปจากลูกค้าแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการลงรายละเอียดเรื่องวัสดุที่จะใช้ รวมถึงขั้นตอนการผลิตในโรงงาน และราคา ว่าเหมาะสมกับงบประมาณและราคาที่กำหนดหรือไม่ จากนั้นจึงนำไปเสนอลูกค้าอีกครั้ง จนกว่าจะได้ข้อสรุป
ทำแบบสำหรับผลิต หลังจากได้ข้อสรุปแล้ว จึงถึงขั้นตอนการทำแบบสำหรับผลิต คือทำแบบขยายดีเทล ใส่รายละเอียด
ประสานงานกับทางโรงงานที่ผลิต ซึ่งอาจจะมีแก้ไข หรือมีข้อจำกัดบางอย่างของทางโรงงาน ที่อาจจะต้องมาแก้ไขปรับเพิ่มเติม เก็บตกข้อบกพร่อง เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด
เสนอลูกค้า นำมาเสนอลูกค้าอีกครั้ง แล้วจึงประสานทางการตลาดให้ทำการส่ง Testing ลองตลาด หากพบว่าผลตอบรับจากผู้บริโภคดี จึงดำเนินการวางแผนธุรกิจต่อไป
ทีมการตลาด ถือเป็นคนกำหนดโจทย์ ที่ต้องมีการคุยประสานงานและต่อรองกันงานกันอยู่เสมอ
ฝ่ายผู้บริหารหรือฝ่ายวางแผน เป็นผู้อนุมัติและตัดสินใจ ซึ่งเราต้องคอยนำเสนองานในทุกๆ ขั้นตอน
ช่างหรือฝ่ายโรงงาน ซึ่งเราต้องทำแบบเพื่อไปให้ช่างผลิต และต่อรองวิธีการทำงาน นำเสนอ เพื่อให้เข้าใจและผลิตงานให้เราได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์
ทักษะด้านศิลปะ การจัดองค์ประกอบ สี และสุนทรียะความสวยงาม
ทักษะการสื่อสาร รวมทั้งการนำเสนอผลงาน ให้เข้าใจง่ายและสื่อถึงรูปแบบงาน
ทักษะการจัดการเวลา การวางแผนการทำงานภายใต้เงื่อนไขของเวลา
ทักษะการนำเสนองาน เพราะจบงานง่าย เห็นภาพตรงกัน
ทักษะการเข้าใจสังคม ต้องมีการเข้าใจสังคม เทรนด์ และความต้องการของผู้บริโภคที่มักเปลี่ยนไปเสมอ จะทำให้ออกแบบงานได้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
โปรแกรมเฉพาะทางของสายวิชาชีพ ซึ่งนักออกแบบต้องคอยอัปเดตและเรียนรู้โปรแกรมใหม่ๆ เสมอ
ทักษะพื้นฐานทางวิศวกรรม อาจจะไม่ได้จำเป็นมาก แต่ในบางงานอาจต้องคำนวณการโครงสร้างได้ด้วยตัวเองในบางครั้ง โดยเฉพาะสายงานที่ออกแบบเฟอร์นิเจอร์หรือกลุ่มสินค้าที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค
ความเข้าใจพื้นฐานด้านงานช่าง เช่น งานไม้ งานเหล็ก งานเรซิน หรืองานปูน ควรมีความรู้เรื่องข้อจำกัดของวัสดุแต่ละชนิดว่าคืออะไร เข้าใจวิธีและขั้นตอนการผลิตว่าเป็นอย่างไร

งานของนักออกแบบผลิตภัณฑ์นั้น สามารถทำงานในบริษัทหรือรับงานแบบอิสระ และอาชีพนี้ถือเป็นหนึ่งในอาชีพที่มีส่วนในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อโลก ไม่สร้างมลพิษหรือปัญหาในระยะยาว เพราะเรื่องการออกแบบและวัสดุเป็นเรื่องสำคัญที่ทั่วโลกให้ความสำคัญอย่างมาก
แต่ถ้าใครอยากออกแบบได้ ถ่ายภาพเป็น วาดรูปเก่ง ตัดต่อไว เข้าใจเรื่องศิลปะและเทคโนโลยี
ก็ต้องสาขาการออกแบบกราฟิก คณะดิจิทัลมีเดีย SPU!
อยากรู้ว่าดียังไง คลิก! : www.spu.ac.th/fac/sdm/
ที่มาข้อมูลจาก : www.trueplookpanya.com/