Facultyคณะวิศวกรรมศาสตร์

เจาะลึก! อาชีพวิศวกรไฟฟ้า

วิศวกรไฟฟ้า คือผู้ทำหน้าที่วางแผน ออกแบบ ดูแลรักษา ตรวจสอบ ซ่อมบำรุง และใช้ความรู้ที่มีในการแก้ไขปัญหา เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือระบบวงจรต่างๆ ที่เกี่ยวกับไฟฟ้า ซึ่งเป็นอาชีพที่งานค่อนข้างกว้าง ตั้งแต่เครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้านเรือนจนถึงระดับมหภาคอย่างการไฟฟ้าของประเทศ

 

 

ขั้นตอนการทำงาน
สายซ่อมบำรุง
>วางแผนการบำรุงรักษา เพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์เสียหาย
>เก็บตัวอย่างน้ำมัน มีการทดสอบทางไฟฟ้า เพื่อตรวจเช็คสภาพ เป็นการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน
>คิดแผนการทดสอบและจัดหานำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาช่วยในการบำรุงรักษาอุปกรณ์ เพื่อให้ทำงานได้ง่ายขึ้น
>บำรุงรักษา เพื่อให้อุปกรณ์ที่เสียหายกลับใช้งานได้ไวที่สุด โดยวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นก่อนตัดสินใจขั้นตอนแก้ไข อาจมีการแกะอุปกรณ์สำรวจ
>วางแผนป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา หาสาเหตุไม่ให้เกิดขึ้นอีก วิเคราะห์หาสาเหตุเพื่อหาทางป้องกัน
>นำเสนอข้อมูลสรุปของเนื้องานทั้งหมด

สายงานออกแบบ
>ประเมินสภาพคร่าวๆ ก่อนทำการออกแบบระบบจะต้อง ก่อน เพื่อประเมินราคา
>เก็บข้อมูลสอบถามความต้องการของลูกค้า
>ประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้อง

ผู้ที่ต้องทำงานด้วย
>วิศวกรสายซ่อมบำรุง: วิศวกร, ช่างไฟ, ตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์
>วิศวกสายออกแบบ: ลูกค้า, สถาปนิก, ช่าง, ตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์

 

 

ทักษะการสื่อสาร เป็นจุดสำคัญที่จะทำให้เราทำงานร่วมกับทีมอื่นๆ ได้อย่างราบรื่น
ทักษะในการคิดวิเคราะห์ ทั้ง Analytical Mind and Critical Thinking เพื่อใช้พัฒนาและแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการทำงาน
ทักษะการบริหารจัดการ ช่วยให้จัดการเวลาการทำงานวางแผนอย่างเป็นระบบ
ทักษะทางภาษาอังกฤษ ในการติดต่อสื่อสารหรืออ่านคู่มืออุปกรณ์
ทักษะทางคณิตศาสตร์ เป็นสิ่งพื้นฐานสำหรับอาชีพด้านวิศวกรรม
ทักษะการพูดและนำเสนองาน การพูด การเรียบเรียงข้อมูล
ทักษะการเขียน สำคัญมากในการนำเสนอและทำคู่มือ โดยเฉพาะการสื่อสารสัญลักษณ์ทางไฟฟ้า
ทักษะการแก้ปัญหาตัดสินใจ ไหวพริบการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆ
ทักษะความเป็นผู้นำและการทำงานเป็นทีม ที่จะช่วยให้เราสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

ตำแหน่งและเส้นทางการเติบโต
สำหรับในสายงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ จะมีการเรียงลำดับการเติบโตของสายอาชีพ ดังนี้
วิศวกร > หัวหน้าแผนก > หัวหน้ากอง > หัวหน้าฝ่าย > ผู้ช่วยรองผู้ว่าฯ > รองผู้ว่าฯ > ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิต

 

สำหรับสายงานเอกชน เส้นทางการเติบโตจะขึ้นอยู่กับเป้าหมายและโครงสร้างองค์กร
วิศวกรไฟฟ้า (Junior) > วิศวกรไฟฟ้า (Senior) > ผู้ช่วยผู้จัดการ > ผู้จัดการ > ผู้บริหาร

 

รายได้
สำหรับหน่วยงานราชการ เงินเดือนจะขึ้นอยู่กับระดับขั้น วศ. โดยวิศวกรจบใหม่เริ่มที่ประมาณ 21,800 บาท

สำหรับเอกชน
>มีอัตราการขึ้นเงินเดือนที่ประมาณ 3-10% (ขึ้นอยู่กับความสามารถและผลประกอบการ) ซึ่งอาจมีการพิจารณาขึ้นเงินเดือนอีกเมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่ง
>เมื่อได้รับการเลื่อนเป็นระดับผู้จัดการ ก็จะเลื่อนเงินเดือนขึ้นอีก 20% โดยขึ้นอยู่กับผลงานและอายุงาน โดยเงินเดือนอยู่ที่ประมาณ 50,000 – 80,000 บาท
>สำหรับปลายทางแล้วหากไปสายบริหารก็มีโอกาสได้ขึ้นเป็นกรรมการหรือผู้บริหารขององค์กรณ์ ซึ่งจะมีเงินเดือนอยู่ที่หลักแสนขึ้นไป

 

 

วิศวกรไฟฟ้า ถือว่าเหมาะกับคนที่เป็นสายคำนวณ ชอบการแก้ไขปัญหา และชอบใช้ความคิดแบบเป็นเหตุเป็นผล

ใครที่สนใจในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าก็สามารถเข้าไปดูข้อมูลหลักสูตรได้ที่:
คณะวิศวกรรมศาสตร์ www.spu.ac.th/fac/engineer/
บอกเลยว่าสมัครช่วงนี้มีทุนและส่วนลดให้เพียบ!!

 

อ้างอิงข้อมูลจาก www.trueplookpanya.com/

 

(Visited 21,004 times, 4 visits today)

Related posts

ความแตกต่าง เรียนคณะบัญชี สายสามัญ VS สายอาชีพ

P'Lilly SPU

เรียนจบสาขาภาษาญี่ปุ่นเพื่อการสื่อสารธุรกิจ ทำงานอะไรได้บ้าง?

P'Menu SPU

อยากรู้ไหม? วิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ 4 ปีเรียนอะไร มาหาคำตอนกันเลย!

P'Krish