วิศวกรระบบราง (Railway Engineering) ประกอบด้วยงานด้านวิศวกรรมหลายแขนง โดยจะเรียกรวมๆ ว่า ‘วิศวกรระบบราง’ จะประกอบไปด้วยคนหลายส่วนที่ทำงานร่วมกัน แต่ที่เกี่ยวข้องกับระบบรางโดยตรงมี 3 ส่วน คือ วิศวกรระบบรถไฟฟ้า (Rolling Stock Engineer) วิศวกรรางรถไฟฟ้า (Civil & Track Work) และวิศวกรระบบสัญญาณรถไฟฟ้า (Signalling System) โดยทักษะสำคัญที่วิศวกรระบบรางทุกคนต้องมี มีดังนี้
พื้นฐานด้านวิศวกรรม เช่น ความรู้พื้นฐานด้านวิศวกรรม ความรู้ด้านวิศวกรรมโยธา เครื่องกล และไฟฟ้า
ความรู้ด้านวิศวกรรมระบบราง ในด้านของวิศวกรรมขนส่งทางราง, เทคโนโลยีระบบรางหรือนวัตกรรมธุรกิจระบบราง ที่เรียนเกี่ยวกับระบบรถไฟฟ้าโดยเฉพาะ
ภาษาอังกฤษ ถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพราะวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในการทำงานจะเป็นภาษาอังกฤษ จึงต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับดี อ่านออก เขียนได้
การคำนวณ นอกจากภาษา การคำนวณก็เป็นอีกทักษะที่สำคัญมาก เพราะในการทำงานบางครั้งจะต้องมีการคำนวณเพื่อใช้ในงานต่างๆ
การสื่อสาร ในการทำงานเราจะต้องสามารถพูดสื่อสารให้ทุกคนเข้าใจตรงกัน เพื่อไม่ทำให้เกิดความสับสนจนทำให้การทำงานผิดพลาดหรือล่าช้า ไปจนถึงการนำเสนองานได้อย่างคล่องแคล่ว
การทำงานเป็นทีม เนื่องจากงานของระบบรางต้องทำงานกันเป็นทีมใหญ่ และต้องพบปะผู้คนหลายระดับ การมีทักษะที่รู้จักรับฟังและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดี จะทำให้การทำงานง่ายขึ้น
การวางแผนและการบริหารจัดการเวลา คือการรู้จักบริหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด โดยจะรู้ว่าอะไรควรทำก่อน-หลัง และไม่ใช้เวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ จนทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้
ทักษะด้านความปลอดภัย โดยจะหมายถึงการระวังและการมองหาข้อบกพร่องในการทำงานก่อนที่มันจะเกิดขึ้น เพื่อให้งานในทุกขั้นตอนมีความปลอดภัย และป้องกันการเกิดอันตรายต่อตัวเองได้และคนรอบข้างได้
การแก้ปัญหา เป็นการรู้จักใช้เหตุผลและสติในการแก้ไขปัญหาอย่างรอบคอบ ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด เพื่อให้ปัญหาคลี่คลายไปในทางที่ถูกต้อง ทำให้งานเดินต่อไปได้โดยไม่มีปัญหา
ใครที่สนใจในเรื่องระบบราง ก็สามารถเข้าไปอ่านเรื่องของอาชีพวิศวกรระบบรางได้ที่! bit.ly/2W8Y1AL
ส่วนใครสนใจหลักสูตรของสาขาวิศวกรรมระบบราง ก็ตามไปที่นี่เลย www.spu.ac.th/fac/engineer/