วิศวกรระบบราง หรือ Railway Engineering ประกอบด้วยงานด้านวิศวกรรมหลายแขนงด้วยกัน โดยในคำเรียกรวมๆ ว่า ‘วิศวกรระบบราง’ จะประกอบไปด้วยคนหลายส่วนที่ทำงานร่วมกัน แต่ที่เกี่ยวข้องกับระบบรางโดยตรงมี 3 ส่วน คือ วิศวกรระบบรถไฟฟ้า (Rolling Stock Engineer) วิศวกรรางรถไฟฟ้า (Civil & Track Work) และวิศวกรระบบสัญญาณรถไฟฟ้า (Signalling System)
ในการทำงานของวิศวกรระบบรางจะเรียกกันว่า “งานโครงการ” โดยจะทำงานลักษณะเป็นโครงการหรือเรียกว่า หนึ่งโปรเจค ซึ่งแต่ละโครงการจะใช้เวลาไม่เท่ากัน โดยจะแบ่งการทำงานเป็นขั้นตอนตั้งแต่ออกแบบและติดตั้ง ซึ่งแต่ละขั้นตอนอาจกินเวลาหลายเดือนถึง 1 ปี โดยมีขั้นตอนการทำงาน 3 ขั้นตอนหลัก คือ
1. การออกแบบ การติดตั้ง
2. การเปิดให้บริการ
3. งานซ่อมบำรุง
เจ้าของโครงการ ผู้ลงทุนในการดำเนินงาน จัดหาผู้รับสัมปทานเดินรถ กำหนดงบประมาณทั้งหมดซึ่งก็คือหน่วยงานภาครัฐที่กำกับดูแล
วิศวกรโครงการ เมื่อต้องพิจารณาเลือกระบบของรถไฟฟ้า
วิศวกรระบบรถไฟฟ้า อย่างวิศวกรเครื่องกล วิศวกรไฟฟ้า ที่สามารถทำได้ทั้งงานโครงการและซ่อมบำรุง
วิศวกรระบบรางและทางวิ่ง อย่างวิศวกรโยธา ที่สามารถทำได้ทั้งงานโครงการและซ่อมบำรุง
วิศวกรระบบสัญญาณ อย่างวิศวกรไฟฟ้า วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรคอมพิวเตอร์ ที่สามารถทำได้ทั้งงานโครงการและซ่อมบำรุง
หน่วยงานภาครัฐ ทำงานในส่วนการตรวจงานร่วมกัน
วิศวกรซ่อมบำรุง เพื่อการคุยงานกันเมื่อเกิดปัญหาต่างๆ
ซัพพลายเออร์ เมื่อต้องซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างและติดตั้งงานระบบทั้งในและต่างประเทศ
ผู้รับเหมางานก่อสร้าง เป็นทีมก่อสร้างประกอบด้วยช่างจากหลายแขนง
ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นตัวแทนของเจ้าของโครงการ เพื่อช่วยกันดูภาพรวมของระบบร่วมกับผู้ได้รับสัมปทาน
วิศวกรระบบรางจะมีความก้าวหน้าทางอาชีพในลักษณะของการได้เลื่อนขึ้นไปในตำแหน่งที่สูงขึ้น นั้นหมายถึงว่าค่าตอบแทนก็จะสูงตามไปด้วย โดยรายได้เริ่มต้นจะอยู่ที่ 22,000 – 30,000 ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง และบริษัทที่สังกัดอยู่
หากใครที่มีประสบการณ์มาก (ประมาณ 10 ปีขึ้นไป) ก็สามารถผันตัวไปเป็นที่ปรึกษาโดยที่รายได้สูงถึงหลักหลายแสนบาทต่อเดือน
พิเศษสุดๆ สำหรับสาขาวิศวกรรมระบบรางที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม เพราะมีทุนไปแลกเปลี่ยนเรียนที่จีน 1 ปี และทุนการศึกษาให้เลือกอีกเพียบ!!
อ่านหลักสูตรเพิ่มเติมของ คณะวิศวกรรมศาสตร์ SPU ได้ที่ : www.spu.ac.th/fac/engineer/