เรียนวิศวะแล้วจบไปทำงานอะไร? ถือว่าเรื่องนี้เป็นคำถามที่กว้างมากๆ เพราะในแต่ละสาขาของวิศวกรรมศาสตร์นั้น จะมีรูปแบบการเรียนที่แตกต่างกันไปในแต่ละสาย
ดังนั้นรอบนี้แอดมินขอรวบรวมอาชีพของวิศวกรรมศาสตร์ในแต่ละสาขามาให้ทุกคนได้อ่านกัน!
เริ่มกันที่สาขาน้องใหม่อย่างวิศวกรรมระบบราง แน่นอนอยู่แล้วว่าจะต้องเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมระบบราง ยกตัวอย่างเช่น
– วิศวกรระบบรางในองค์กรของรัฐและเอกชน
– วิศวกรควบคุมงานก่อสร้างระบบราง
– วิศวกรติดตั้ง หรือ ทดสอบระบบราง
– วิศวกรปฏิบัติการ หรือ การบริหารจัดการการเดินรถไฟ
– วิศวกรซ่อมบำรุง / วิศวกรบริการงานซ่อมบำรุงรักษา
– วิชาชีพทางวิศวกรรมและการปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับระบบราง เช่น ความปลอดภัย ระบบควบคุม ระบบอาณัติสัญญาณ การขนส่งและการบริการโลจิสติกส์ (LSPs)
อาชีพของวิศวกรรมเครื่องกลเป็นอะไรที่หลากหลายมากๆ ไม่ว่าจะเป็น
– วิศวกรออกแบบและติดตั้งระบบปรับอากาศ ระบบท่อประปา/สุขาภิบาล/ดับเพลิง ในอาคาร หรือระบบทางกล ในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม
– วิศวกรออกแบบชิ้นส่วนทางกล ออกแบบผลิตภัณฑ์
– วิศวกรวางโครงการบริหารโครงการ
– วิศวกรกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
– วิศวกรบริหารจัดการ ควบคุมคุณภาพการผลิต
– วิศวกรด้านวิเคราะห์ทุนในสถาบันทางการเงิน
– วิศวกรด้านอุตสาหกรรมพลังงาน หรือ พลังงานทางเลือก
– นักวิชาการ นักวิจัย นักพัฒนา ระบบทางกล เครื่องยนต์ ระบบพลังงาน
– เป็นผู้ประกอบการ
เมื่อเรียนด้านวิศวกรรมไฟฟ้า แน่นอนว่าอาชีพก็ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า เช่น
– วิศวกรออกแบบ ติดตั้ง และสร้างผลิตภัณฑ์ระบบไฟฟ้า
– วิศวกรระบบไฟฟ้ากำลัง
– วิศวกรออกแบบแผ่นพิมพ์วงจร
– วิศวกรด้านสมองกลฝังตัว
– วิศวกรดูแลเครื่องจักรกลไฟฟ้า
– วิศวกรวางแผนและออกแบบระบบโครงข่ายโทรคมนาคม
– วิศวกรระบบหุ่นยนต์อุตสาหกรรมและเมคคาทรอนิกส์
– ผู้ประกอบการ
วิศวกรรมยานยนต์สมัยใหม่ สามารถเป็นได้ทั้ง
– วิศวกรยานยนต์ประจำโรงงาน อำนวยการผลิต ควบคุมคุณภาพสินค้าหรือซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลภายในโรงงาน
– วิศวกรออกแบบ ควบคุมการติดตั้งระบบ และทดสอบงานทางด้านยานยนต์
– วิศวกรประจำทีมการแข่งขัน หรือฝ่ายจัดการแข่งขันทางด้านยานยนต์
– วิศวกรการขายหรืองานบริการทางด้านเทคนิคในอุตสาหกรรมยานยนต์
– ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมบริการทางด้านยานยนต์
– อาจารย์ / นักวิชาการและนักวิจัยทางด้านวิศวกรรมยานยนต์
ขอให้ทำความเข้าใจใหม่ที่ว่าการเรียนวิศวกรรมโยธาจะจบออกไปทำถนน! เพราะความจริงแล้ว งานของวิศวกรโยธานั้นสามารถเป็นได้ทั้ง
– วิศวกรรมโครงสร้าง
– การบริหารงานก่อสร้าง
– วิศวกรรมปฐพี
– วิศวกรรมแหล่งน้ำหรือวิศวกรรมชลประทาน
– วิศวกรรมขนส่ง
– วิศวกรรมสำรวจ
– วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
อาชีพวิศวกรรมอุตสาหการ จะเป็นวิศวกรในองค์กรของรัฐและเอกชน ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรม เช่น
– วิศวกรในองค์กรของรัฐและเอกชน ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมค้าส่งค้าปลีก นำเข้าและส่งออก
– วิศวกรด้านผู้ออกแบบ ควบคุม วิเคราะห์การขนส่ง และการบริการโลจิสติกส์ (LSPs)
– วิศวกรวางแผนด้านวัสดุ และการผลิต ในโรงงาน
– วิศวกรการบริหารจัดการ และออกแบบระบบด้านคลังสินค้า และกระจายสินค้า
– ผู้ประกอบการธุรกิจด้านโลจิสติกส์ (ขนส่ง จัดเก็บ วางแผน ฯลฯ)
– นักวิจัย นักวิชาการเกี่ยวกับงานทางด้านวิศวกรรมโลจิสติกส์ในหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน
– ที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมโลจิสติกส์
เห็นแบบนี้แล้วแอดมินขอบอกว่า นี้เป็นเพียงแค่บางส่วนเท่านั้นนะ! เพราะว่าสายงานของวิศวกรสามารถแยกย่อยได้อีกเยอะมากจริงๆ พูดทั้งวันก็ยังไม่หมด
อ่านข้อมูลหลักสูตรของคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ที่นี่เลย! www.spu.ac.th/fac/engineer/