Facultyคณะวิศวกรรมศาสตร์

DEK 63 ต้องรู้ วิศวกรรมระบบราง SPU เรียนอะไร?

 

ในทุกวันนี้ถ้าจะถามว่าสายงานหรือสาขาการเรียนวิศวกรรมศาตร์ด้านไหนจะฮอตฮิตมากที่สุดในตอนนี้ ก็คงไม่พ้นสาขาวิศวกรรมระบบรางแน่นอน! เพราะในประเทศไทยเรายังคงขาดแคลนวิศวกรรมระบบรางและธุรกิจที่เกี่ยวข้องอยู่มาก รวมไปถึงในระดับประเทศอาเซียนก็เช่นกัน

แล้วสาขานี้เรียนอะไรบ้างล่ะ? จะต่างจากที่เรียนวิศวกรรมสาขาอื่นมากหรือเปล่า?
วันนี้เราเลยจะเอาบางวิชาจากวิศวกรรมระบบรางที่พวกเขาเรียนมาฝากกัน มาดูไปพร้อมกันเลย!

 

 

ความปลอดภัยทางวิศวกรรมระบบราง (Railway Engineering Safety)

วิชาแรกขอเริ่มต้นด้วยเรื่องของความปลอดภัย ที่นับว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของงานทุกงานเลยก็ว่าได้ โดยวิชาความปลอดภัยทางวิศวกรรมระบบราง จะรวมถึงเรื่องของความปลอดภัยในการเดินรถไฟฟ้าอีกด้วย เพราะยิ่งเทคโนโลยีทันสมัยเท่าไหร่ ก็จะมีการใช้ความเร็วเพิ่มมากยิ่งขึ้น และยิ่งมีโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุที่มากขึ้นด้วย ดังนั้นจึงต้องเรียนรู้ถึงการประเมินความเสี่ยง การบริหารจัดการการเดินรถ การปฏิบัติงานของนายสถานี สร้างแนวคิดด้านความปลอดภัยเพื่อให้ผู้โดยสาร บุคลากร และผู้ที่มีความเกี่ยวข้องทั้งหมดได้รับความปลอดภัย

 

 

การจัดการการบำรุงรักษาสำหรับระบบราง (Railway Maintenance Management)

ไม่ว่าจะมีการออกแบบระบบและอุปกรณ์ในระบบรางมาดีแค่ไหน แต่ถ้าขาดการดูแลการใช้งานและบำรุงรักษาที่ดี ก็ย่อมทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง จนนำไปสู่ปัญหาในการบริการ การเกิดอุบัติเหตุ รวมไปถึงอาจจะส่งผลต่อการเงินของผู้ให้บริการด้วย โดยวิชานี้จะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับการประเมินด้านสถิติอย่าง MTBF MTTR การวัดประสิทธิภาพ OEE รวมถึงการบริหารจัดการด้วย PM  CBM และ TPM ที่จะช่วยให้มีความน่าเชื่อถือ ทำให้เห็นถึงประสิทธิภาพของระบบงานและอุปกรณ์ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม ทฤษฎีมาเต็ม เรียนเข้มๆ แบบวิศวะจริงๆ

 

 

ระบบควบคุมและอาณัติสัญญาณระบบราง (Railway Signal and Control System)

อาณัติสัญญาณเป็นระบบที่ใช้ในการเดินขบวนรถไฟ ทำให้พนักงานขับรถไฟทราบถึงสภาพเส้นทาง เป็นสิ่งที่ช่วยให้การเดินรถเป็นไปอย่างปลอดภัย ในปัจจุบันที่มีการใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้นมาพัฒนาและปรับเปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณ จึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องเรียนรู้ระบบและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับในระบบรางที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

 

 

การตรวจจับความผิดพลาดทางราง (Railway Fault Detection)

นอกจากขบวนรถไฟแล้ว รางก็เป็นส่วนที่สัมผัสกับล้อรถไฟเสมอ ถ้ารางอยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์จะทำให้เกิดอุบัติเหตุในการโดยสารหรือบรรทุกสินค้าได้  ดังนั้นการศึกษาเรื่องการประเมินและตรวจสอบสภาพของรางได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที ด้วยเทคนิคและอุปกรณ์ที่ทันสมัยจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และจะทำให้ลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้

 

 

อื้อหืออออ น่าเรียนจริงไรจริง นึกไม่ถึงเลยว่ากว่าจะมาเป็นรถไฟฟ้าที่ให้ผู้คนได้ใช้บริการกันในทุกวันนี้ต้องผ่านขั้นตอนอะไรมามากจริงอะไรจริง จนทำให้อาชีพของสายงานนี้มีค่าตอบแทนที่สูงมากกก และเทคโนโลยีการคมนาคมที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้อาชีพวิศวกรระบบรางเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาดแรงงานในปัจจุบัน

 

สำหรับน้องๆ คนไหนคิดว่าสาขาวิศวกรรมระบบราง เป็นสาขาแห่งอนาคตที่เหมาะกับตัวเอง ตอบโจทย์โดนใจและอยากจะเรียนต่อสาขานี้ ก็สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมทั้งการเรียนและโอกาสการทำงาน
ได้ที่ www.spu.ac.th/fac/engineer/ 

 

(Visited 2,249 times, 1 visits today)

Related posts

ใครมีสิทธิ์นั่งบริเวณประตูฉุกเฉินได้บ้าง? #วิทยาลัยการบินและคมนาคมมีดีมาแชร์

P'Menu SPU

3 รายวิชา ว.การบิน ที่ SPU อัดแน่น! รอบด้านทั้งงานภาคพื้นและบนฟ้า

P'Menu SPU

รู้ก่อนเลือก! สาขาวิชาในคณะบริหารธุรกิจ แต่ละสาขาวิชาแตกต่างกันอย่างไร?

P'Krish