สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และนวัตกรรมการพัฒนาซอฟต์แวร์
Computer Science and Software Development Innovation
“เป็นสาขาที่เน้นสร้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Full Stack
มีความคิดสร้างสรรค์ เก่ง Coding
ไม่ว่าจะ HTML CSS JavaScript Python PHP .Net Node.js Java ฯลฯ
พร้อมแก้ปัญหา ออกแบบระบบ พัฒนาซอฟต์แวร์
ทั้งส่วน Front-end และ Back-end
แบบที่เรียกว่า “ทำได้ครบ จบ ในคนเดียว”เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจและอุตสาหกรรมในยุคดิจิทัล
เช่น Games, AI, Blockchain ในรูปแบบ Cryptocurrency,DeFi, NFT, Metaverse ฯลฯ
และตอบโจทย์ความต้องการนักพัฒนาซอฟต์แวร์ของประเทศ”
เริ่มกันที่วิชาแรกอย่าง Front End Software Development (การพัฒนาโปรแกรมส่วนหน้า)
ที่เราจะได้เรียนเกี่ยวกับข้อกำหนดรายละเอียดการใช้งาน สถาปัตยกรรมแบบ Distributed และ Headless องค์ประกอบของ Application แพลตฟอร์มและระบบนิเวศสำหรับการพัฒนาโปรแกรมส่วนหน้า React Angular ภาษาสำหรับการพัฒนาโปรแกรมส่วนหน้า HTML CSS Python JavaScript การเชื่อมผสานการใช้งาน Redux
Back End Software Development (การพัฒนาโปรแกรมส่วนหลัง)
ที่จะอธิบายถึงข้อกำหนดรายละเอียดการใช้งาน องค์ประกอบของ Application แพลตฟอร์มและระบบนิเวศ สนับสนุนการพัฒนาโปรแกรมส่วนหลัง Node.js Angular ภาษาสำหรับการพัฒนาโปรแกรมส่วนหลัง PHP Java Json .Net Ruby การเชื่อมต่อผสานฐานข้อมูล MySQL MongoDB PostgreSQL
Software Full Stack Development (การพัฒนาโปรแกรมแบบ Full Stack)
หรือการวิเคราะห์ภาพรวมข้อกำหนดและความต้องการใช้งาน การวิเคราะห์โครงสร้างการทำงานโปรแกรมส่วนหน้า วิเคราะห์โครงสร้างการทำงานโปรแกรมส่วนหลัง วิเคราะห์โครงสร้างโปรแกรมส่วนการทำงานร่วม พัฒนาโปรแกรม Application Front-End และ Back-End จนถึงการพัฒนาโปรแกรมส่วนการเชื่อมต่อระหว่าง Front-end กับ Back-end
Data Science (วิทยาการข้อมูล)
คือกรอบแนวคิดวิทยาการข้อมูล ที่ถือเป็นทักษะสำคัญสำหรับนักวิทยากศาสตร์ข้อมูล การใช้สถิติเพื่อการพยากรณ์ ใช้คณิตศาสตร์เพื่อการสร้างแบบจำลองข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาชุดคำสั่ง การวิเคราะห์ความต้องการของธุรกิจ การสร้างแบบจำลองข้อมูลธุรกิจ เครื่องมือสร้างแบบจำลองเพื่อการพยากรณ์ทางธุรกิจ
Data Visualization (การแปลงข้อมูลออกมาเล่าเป็นภาพ)
เป็นวิชาที่เกี่ยวกับ Data Visualization วิเคราะห์ความต้องการผู้ใช้ มิติความต้องการการใช้งาน Data Visualization การปรับสภาพข้อมูล การเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล ประเภทข้อมูล การออกแบบการนำเสนอภาพ สี การวางตำแหน่ง รูปแบบการนำเสนอข้อมูล แผนภูมิ แดชบอร์ด กรณีศึกษา โครงงานบูรณาการความรู้
Smart Contract Development (การพัฒนา Smart Contract)
เกี่ยวกับการทำงานของบล็อกเชน โปรโตคอล Distributed Ledger Technology (DLT)
โครงสร้างการทำงานของ Ethereum Virtual Machine (EVM) เครื่องมือและภาษาเพื่อการพัฒนา Smart Contract เช่น Solidity Node.js และได้ทำโครงงานด้านความรู้ด้านสัญญาอัจฉริยะ
Artificial Intelligence Technology (เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์)
เทคโนโลยีดิจิทัล แพลตฟอร์มสำหรับงานปัญญาประดิษฐ์ กรอบแนวคิดเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ปริภูมิการค้นหาและการวางแผน การแทนความรู้ การเรียนรู้ของเครื่อง เทคนิคการจำแนกข้อมูล เทคนิคการจัดกลุ่มข้อมูล ต้นไม้ตัดสินใจ เบยส์ โครงข่ายประสาทเทียม
การเรียนรู้เชิงลึก สาขาวิทยาการปัญญาประดิษฐ์ ระบบผู้เชี่ยวชาญ ระบบหุ่นยนต์ ระบบประมวลภาษาธรรมชาติ กรอบการทำงานของงานปัญญาประดิษฐ์ เครื่องมือสำหรับการพัฒนา Application ของปัญญาประดิษฐ์
Web Service
หลักการทำงานและกลไกของระบบเว็บบริการ สถาปัตยกรรมและส่วนประกอบของเว็บบริการ เช่น SOAP (Simple Object Access Protocol) WSDL (Web Services Description Language) RESTful Web Services หลักการทำงาน และการพัฒนา API (Application Program Interface)
Design Thinking for Innovation (กระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อนวัตกรรม)
เรียนเรื่องการเพื่อพัฒนานวัตกรรมสร้างสรรค์ ความต้องการทางธุรกิจ การวิเคราะห์โอกาสทางธุรกิจ หลักการการมีส่วนร่วม การระดมสมอง หลักวิธีแบบ Agile การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางเทคนิค การพัฒนาต้นแบบนวัตกรรม การบริหารจัดการนวัตกรรม การจัดการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา กรณีศึกษา โครงงานบูรณาการความรู้นวัตกรรม
Database and Big Data Management (ฐานข้อมูลและการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่)
เทคโนโลยีฐานข้อมูล ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) ข้อมูลที่มีโครงสร้าง (Structured data) ภาษาฐานข้อมูล การ Query ข้อมูลทั้งแบบ Structured และ Unstructured
การออกแบบฐานข้อมูล นอร์มัลไลเซชัน แบบจำลองความสัมพันธ์ ข้อมูลอภิพันธุ์ (Metadata) กรอบแนวคิดเทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่ โครงสร้างสถาปัตยกรรมข้อมูลขนาดใหญ่ Hadoop แพลตฟอร์ม องค์ประกอบ เครื่องมือ การเตรียมข้อมูล การจัดการข้อมูล การทำซ้ำ MapReduce แบบจำลองข้อมูลขนาดใหญ่ จนถึงการประยุกต์เทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่
สำหรับใครที่อยากรู้จักสาขาและคณะมากกว่านี้ ก็สามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์และเพจได้เลย!
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ www.spu.ac.th/fac/informatics
เพจคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม www.facebook.com/spu.informatics