Facultyคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

พาไปรู้จักกับอาชีพ Programmer อาชีพยอดฮิตของ DEK IT!

Programmer คือผู้นำข้อมูลไปออกแบบรายละเอียดการวางโครงสร้างระบบคอมพิวเตอร์ โดยเขียนโปรแกรมด้วยภาษาทางคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน
เช่น ภาษาซี และจาวา 
พวกเขามีหน้าที่เขียนและทดสอบรหัสหรือโค้ดเพื่อทำให้คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ทำงานได้
และทำการตรวจสอบรหัสที่เกิดข้อผิดพลาดหรือซ่อมแซมแก้ไข
ในกรณีที่เกิดปัญหาจากการทำงาน

 

 

Programmer หรือคอมพิวเตอร์โปรแกรมเมอร์ ทำหน้าที่รับรายละเอียดของความต้องการของผู้ใช้งานจากนักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) แล้วจัดทำแผนขั้นตอนการทำงาน (Flow Chart) ที่ละเอียดและถูกต้อง เพื่อประโยชน์ในการเขียนโปรแกรมสำหรับการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ โดยจะทำหน้าที่ร่วมกันกับนักพัฒนาซอฟต์แวร์

 

โดยโปรแกรมที่ถูกสร้างมีจุดประสงค์เพื่อจัดการรหัสคอมพิวเตอร์ที่มีความซับซ้อน ซึ่งโปรแกรมที่ใช้ในการเขียนแอพพลิเคชั่นในมือถือมีจะมีความซับซ้อนน้อยกว่าเครือข่ายอื่นๆ ซึ่งระยะเวลาการทำงานในโปรแกรมที่ง่ายอาจใช้เวลาอันสั้น แต่สำหรับโปรแกรมที่มีความซับซ้อน เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ อาจใช้เวลานานเป็นปีหรือมากกว่านั้น

 

ขั้นตอนการทำงาน
> ทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ในการทำงานของโปรแกรม และวางแผนโดยเขียนแผนภาพ ขั้นตอนของโปรแกรมโดยละเอียด
> เขียนโปรแกรมด้วยภาษาทางคอมพิวเตอร์ต่างๆ เช่น ภาษา C++ ภาษา Java
> อัพเดทและพัฒนาขยายโปรแกรม
> ทดสอบโปรแกรมและแก้ไขปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น
> สร้างและทดสอบรหัสในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์

 

 

ในการทำงาน นอกจากโปรแกรมต่างๆ แล้ว สิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้เลยคือผู้ช่วยหรือบุคคลที่โปรแกรมเมอร์ต้องติดต่อด้วยในการทำงาน อย่างเช่น Graphic Designer, Business Analyst, System Analyst, และโปรแกรมเมอร์คนอื่นๆ สำหรับการทำงานที่ใหญ่กว่าปกติ

 

ผู้ที่ต้องทำงานด้วย
> โปรแกรมเมอร์ร่วมทีม ในการสร้างโปรแกรมแต่ละครั้งอาจมีขนาดงานที่ใหญ่เกินกว่าโปรแกรมเมอร์คนหนึ่งจะแบกรับไว้ได้ ผู้ร่วมทีมจะช่วยประสานและแบ่งงานกันให้ภารกิจเสร็จลุล่วงได้อย่างถูกต้อง ทันเวลา

> Business Analyst ทำหน้าที่ประสานงานและรับโจทย์จากลูกค้าหรือผู้บริหารที่ต้องการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แล้วนำมาถ่ายทอดส่งต่อให้ทีมโปรแกรมเมอร์ดำเนินการ
> System Analyst ช่วยทำหน้าที่จัดสรรและกระจายงานต่างๆ ไปให้โปรแกรมเมอร์ในทีม สร้างสรรค์โปรแกรมตามความถนัดและตามโจทย์ที่ได้รับจาก Business Analyst โดย System Analyst ต้องมีความรู้และเข้าใจระบบการทำงานของโปรแกรมเมอร์ เพื่อจะสามารถบริหารงานได้อย่างราบรื่น
> Graphic Designer งานโปรแกรมที่เราเห็นสวยงามได้ ไม่ได้เกิดขึ้นจากการเขียน Code จากโปรแกรมเมอร์เพียงอย่างเดียว แต่ต้องรวมองค์ประกอบจากเนื้อหาและงานภาพที่สวยงามจากการออกแบบของ Graphic Designer ด้วย

 

 

ความก้าวหน้าทางอาชีพของนักคอมพิวเตอร์โปรแกรมเมอร์ที่มีความรู้และประสบการณ์ สามารถพัฒนาต่อไปเป็นนักวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ได้ และถ้าบางคนมีประสบการณ์เพิ่มขึ้น สามารถพัฒนาเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์และขึ้นตำแหน่งผู้บริหารได้

> Programmer รายได้ประมาณ 15,000 – 30,000 บาท
> Senior Programmer รายได้ประมาณ 30,000 – 80,000 บาท
> Development Manager / Project Manager รายได้ประมาณ 50,000 – 90,000 บาท
> CTO (Chief Technology Officer) รายได้ประมาณ 100,000 – 250,000 บาท

 

 

นอกจากนี้ Programmer ยังสามารถเปลี่ยนตำแหน่งงานเป็น System Analyst ได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถและความถนัดในงานของแต่ละคน

ใครที่สนใจเรื่อง IT ก็ต้องที่นี่เลย!
หลักสูตรจากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ www.spu.ac.th/fac/informatics

 

ที่มา : www.trueplookpanya.com/explorer

 

(Visited 30,771 times, 2 visits today)

Related posts

จบ ปวส. อยากต่อ ปริญญาตรี สายเทคนิค VS สายพาณิชย์ เรียนคณะอะไรดี?

P'Krish

ทำไมต้องเรียนหลักสูตร 2 ปริญญา คณะบริหารธุรกิจ SPU!

P'Menu SPU

อยากสานต่อธุรกิจครอบครัว หรือ อยากเป็นวัยรุ่นสร้างตัว เริ่มที่ คณะบริหารธุรกิจ SPU

P'Krish