ใครชอบดูหนังบ้าง? แล้วเคยสงสัยไหมว่ากว่าจะได้หนังมาให้เราดู 1 เรื่องนั้น ต้องมีกระบวนการอย่างไรบ้าง
อย่างแรกที่เราจะได้เรียน นั่นก็คงหนีไม่พ้นทักษะของการเล่าเรื่องและการเขียนบทภาพยนตร์ ถือว่าสำคัญมากเลยนะ เพราะเป็นการร่างเรื่องราวของภาพยนตร์ก่อนออกมาเป็นหนังหรือละคร ต้องแก้แล้วแก้อีกกว่าจะได้เรื่องราวที่สมบูรณ์ที่สุด และเรื่องราวแต่ละเรื่องก็จะมีรูปแบบเฉพาะที่ชัดเจน เป๊ะ! ปัง!
ผู้กำกับศิลป์คือผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาพและการจัดองค์ประกอบงานต่างๆ เพื่อให้ภาพที่เราเห็นไม่ว่าผ่านสื่อใดก็ตามสวยงามและตอบโจทย์การสื่อสารถึงผู้บริโภคมากที่สุด ผู้กำกับศิลป์มักจะต้องรับผิดชอบงานเกี่ยวกับภาพถ่าย ศิลปะ หรือการออกแบบศิลปประยุกต์อื่น ๆ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ ภาชนะบรรจุภัณฑ์ ภาพยนตร์และงานโทรทัศน์ โดยทำหน้าที่สร้างสรรค์และควบคุมทิศทางงานเหล่านั้นให้สวยงาม เป็นไปตามที่ลูกค้าและทีมต้องการ และตรงตามเวลา
เรียนเขียนบทไปแล้ว งั้นต่อมาเรามาเรียนรู้การผลิตภาพยนตร์และสื่อดิจิทัลกันบ้าง รู้ลึกทุกขั้นตอนการผลิต งานเบื้องที่ต้องใส่ใจรายละเอียดทุกอย่าง ตั้งแต่หน้ามอนิเตอร์จนถึงกระบวนการตัดต่ออย่างมืออาชีพ
มาดูรายละเอียดเล็กๆ แต่สำคัญกันบ้าง อย่างเสียงในงานภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล ส่วนเล็กที่ต้องอาศัยความใส่ใจ สร้างความรู้สึกและอารมณ์ร่วมให้กับผู้ชม จะปังหรือไม่ปัง เสียงก็เป็นส่วนสำคัญในงานภาพยนตร์นะ อย่ามองข้ามเลยเชียว
มาถึงขั้นตอนที่เรียกได้ว่าเป็นเส้นเลือดใหญ่ของงานผลิตหนังและสื่อดิจิทัล ก็คงหนีไม่พ้นการตัดต่อภาพยนตร์ งานที่ต้องรู้เรื่องราวแทบทั้งหมดเพื่อที่จะถ่ายทอดออกมาสู่สายตาให้เราได้ชมกัน อุปกรณ์ก็ต้องเจ๋ง ทักษะและประสบการณ์ของคนตัดต่อก็ต้องแน่น เพื่อผลงานภาพยนตร์ชิ้นเอก
มาถึงขั้นตอนส่วนท้ายก่อนจบ ก่อนเรียนจบก็ต้องแสดงฝีมือผ่านผลงานภาพยนตร์กันหน่อยเนอะว่าจะนำมาปรับใช้กันแบบไหน น้องๆ ทุกคนต้อง จัดทำโครงงานภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล ครีเอทกันให้สุดในรูปแบบและสไตล์ของตัวเอง ผลงานของน้องๆ จะได้ฉายจริงในมหกรรม “ฉายหนัง” ของคณะนิเทศศาสตร์อย่างน่าภูมิใจแน่นอนจ้า
เป็นไงกันบ้าง ตาลุกวาวกันเลยป่าว หลงเสน่ห์แห่งการผลิตภาพยนตร์กันบ้างยัง ถ้าใครชอบและอยากหาข้อมูลเพิ่มเติม คลิกที่ www.spu.ac.th/fac/commarts/
หรือใจร้อน อยากสมัครเรียนเลย คลิกที่ www.spu.ac.th/apply/spucare