Facultyคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

จากใจเด็กไอที! กับความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Programmer

เชื่อได้ว่าเด็กไอทีหลายคนฝันอยากจะเป็นเซียนในอาชีพโปรแกรมเมอร์ ถือเป็นอาชีพที่หลายๆ คนอยากเป็นเลยก็ว่าได้

แล้วรู้ไหมว่าการจะเป็นโปรแกรมเมอร์มืออาชีพเขาเป็นยังไง? เรื่องที่ได้ยินมาที่เขาว่ากันเกี่ยวกับโปรแกรมเมอร์มันจริงหรือเปล่า?

รอบนี้เราได้รวบรวมความเข้าใจผิดที่หลายคนมีต่ออาชีพโปรแกรมเมอร์มาฝากกัน!

 

 

ความจริงแล้วการเรียนในทุกๆ สายสิ่งสำคัญที่ต้องมีคือการรักในสิ่งที่ทำ เพราะงั้นไม่จำเป็นเลยว่าจะต้องมีระดับ IQ เท่าไหร่ หรือจะต้องได้ที่หนึ่งของการเรียนคณิตศาสตร์ ขอแค่เรามีความพยายามและตั้งใจก็ทำให้เราเป็นโปรแกรมเมอร์มืออาชีพได้แล้ว

 

 

เพราะไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนเราก็สามารถเรียนรู้เรื่องต่างๆ ได้โดยไม่จำเป็นต้องไปนั่งเรียนในห้องเรียน ส่วนเรื่องของภาษาที่ใช้ ในละโปรแกรมจะมีความแตกต่างกัน เราเลยไม่จำเป็นต้องเลือกภาษาที่ดีที่สุด แต่ต้องเป็นภาษาที่เหมาะสมที่สุด

 

 

ความจริงคือเราไม่ได้เก่งมาตั้งแต่เกิด เพราะฉะนั้นทั้งการเขียนโปรแกรมหรือการปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมต่างๆ ต้องอาศัยเวลาและตัวช่วยบ้าง (แต่ไม่ใช่ไปลอกเขามานะ) เพราะถึงเราจะมีความรู้ แต่เราก็สามารถผิดพลาดและไม่รู้ในบางเรื่องได้ ถือเป็นเรื่องปกติ

 

 

มีน้อยคนที่จะรู้ว่าความจริงแล้วโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลกเป็นผู้หญิง นั้นคือ Ada Lovelace (เอดา เลิฟเลซ) และไม่จำเป็นว่าเก่งเท่านั้น ถึงจะหางานได้ เพราะแต่ละคนอาจจะมีสามารถ มีสกิลที่แตกต่างกันออกไป ทำให้เราอาจจะเหมาะกับบางบริษัทมากกว่าคนอื่นๆ ก็ได้

 

 

Syntax เปรียบเสมือนไวยากรณ์ในภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งความจริงแล้วเวลาทำงานเราจะได้ใช้คำสั่งหรือข้อมูลเหล่านี้ซ้ำไปซ้ำมาอยู่แล้ว ซึ่งนั้นจะทำให้เราสามารถจำจดและเข้าใจ Syntax ได้โดยไม่ต้องพยายามท่องจำเลย

 

 

เป็นยังไงกันบ้างกับข้อมูลที่นำมาฝากกันวันนี้ รู้อย่างนี้แล้วการเป็นโปรแกรมเมอร์มืออาชีพก็ไม่ไกลเกินไปแล้ว
ติดตามข่าวสารต่างๆ ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศได้ที่ www.spu.ac.th/fac/informatics

 

 

(Visited 1,071 times, 1 visits today)

Related posts

เจาะลึก 4 ปี สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เรียนอะไร?

P'Lilly SPU

รวมศัพท์ ENG สายแบกเป้!! เที่ยวคนเดียวก็เฟี้ยวได้ #สาขาภาษาอังกฤษสื่อสารธุรกิจ

P'Menu SPU

สมัครเลย! SPU เรียนกับตัวจริง ประสบการณ์จริง

P'Krish