STORY ABOUT US
ผู้นำด้าน Digital Content สู่การแรงบันดาลใจให้นักศึกษาก้าวไกลสู่ระดับสากลที่ School of Digital Media

ในยุคที่เทคโนโลยีด้านดิจิทัลเข้ามามีบทบาทและกลายเป็นปัจจัยสำคัญในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไร้สายต่าง ๆ ทำให้รูปแบบของสื่อด้านดิจิทัลมีการพัฒนาและแข่งขันกันมากขึ้นตามไปด้วยทั้งในด้าน
เนื้อหา เทคโนโลยี รูปแบบ รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งพัฒนาการของสื่อดิจิทัลนี้ทำให้ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์
สามารถนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างมหาศาล

ตัวอย่างการนำเทคโนโลยีด้านดิจิทัลมาผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และก่อให้เกิดมูลค่าในเชิงพาณิชย์เห็นได้ชัดจากอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ด้านดิจิทัลคอนเทนท์ เช่น ภาพยนตร์ ภาพยนตร์โฆษณา ภาพยนตร์การ์ตูน เกมออนไลน์ วิดีโอเกม เกมมือถือ และสื่อผสม (Multimedia) ต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันมีความต้องการผลงานดิจิทัลในรูปแบบเหล่านี้เป็นจำนวนมากจากการ
บริโภคสื่อด้านดิจิทัลทั้งในและต่างประเทศเมื่อความต้องการผลงานมีจำนวนเพิ่มขึ้น

ความต้องการด้านบุคลากรที่มีความสามารถในการผลิตผลงานก็มีเพิ่มขึ้นตามไปด้วยมหาวิทยาลัยศรีปทุมได้เล็งเห็นถึง
ความจำเป็นในการพัฒนาเยาวชนไทยซึ่งมีพื้นฐานด้านความคิดสร้างสรรค์อยู่แล้วให้เป็นบุคลากรที่เป็นกำลังสำคัญในการ
พัฒนาอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ด้านดิจิทัลคอนเทนท์ของประเทศจึงก่อตั้งคณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุมขึ้น โดยเปิดดำเนินการสอนหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดิจิทัลอาร์ตส์เมื่อปีการศึกษา 2547 โดยได้รับการรับ
รองมาตรฐานการศึกษาจาก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิง
สร้างสรรค์ด้านดิจิทัลคอนเทนท์ที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องและด้วยความพร้อมของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ทั้งในด้านบุคลากร 
ผูู้สอนและเครื่องมืออันทันสมัยในปีการศึกษา 2551 ทางคณะฯได้เปิดดำเนินการสอนสาขาเกมส์และแอนิเมชั่นเพิ่มอีกหนึ่ง
สาขาเพื่อผลิตบัณฑิตที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาผลงานแอนิเมชันและเกมของไทยต่อไป

ผศ.ดร. กมล จิราพงษ์ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลคอนเทนท์ โดยประสบการณ์การออกแบบสถาปัตยกรรม และสร้างสรรค์งาน 3 มิติตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นสถาปนิกอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาผลงานของ ผศ.ดร. กมล ได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัล และจัดแสดงในระดับนานาชาติอยู่หลายครั้ง เช่น การแสดงผลงาน Perfect Shell ใน Best 3d graphics magazine ของประเทศสหรัฐอเมริกา และการได้รับรางวัลรองชนะเลิศจากการ
ประกวด Science and Technology in Digital Art Competition ปี 2001 เมื่อกลับมา
ยังประเทศไทย ผศ.ดร. กมล ได้มีโอกาสทำงานเป็นที่ปรึกษาและคณะกรรมการให้แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาค
เอกชน และภาคการศึกษารวมถึงได้มีส่วนร่วมในการวิจัยและจัดทำรายงานอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนท์ไทย ด้าน
แอนิเมชั่นและเกม ปี 2550 – 2552 ปัจจุบัน ผศ.ดร. กมล ดำรงตำแหน่งคณะทำงานโครงการ Thailand Planet ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งตามนโยบาย เศรษฐกิจสร้างสรรค์สำนักนายกรัฐมนตรีและเป็นกรรมการ สถาบันเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งชาติสาขาซอฟต์แวร์