Computer Animation Visual Effect

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์แอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ Bachelor of Fine and Applied Arts Program in Computer Animation and Visual Effects

ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (คอมพิวเตอร์แอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์) B.F.A. (Computer Animation and Visual Effects)

สาขาคอมพิวเตอร์แอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์มุ่งเน้นการพัฒนานักศึกษาในด้านการสร้างสรรค์ผลงาน 2D Animation, 3D Animation และ Visual Effects ซึ่งเป็นทักษะวิชาชีพหลัก โดยผสานเทรนด์ใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมสื่อดิจิทัล เช่น Virtual Influencers, Music Video T-Pop, สื่อในธุรกิจบันเทิง รวมถึงภาพยนตร์ดิจิทัล เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในหลักสูตร นักศึกษาจะได้รับการฝึกฝนด้านการวางแผนการผลิตผลงาน ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ ทักษะด้านเทคโนโลยีรวมถึงการนำ AI มาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตผลงาน ทำให้สามารถพัฒนาผลงานให้มีคุณภาพสูงตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมืออาชีพ

COMPUTER ANIMATION & VISUAL EFFECTS KNOWLEDGE

ปี 1

ปูพื้นฐานและฝึกทักษะทางด้านศิลปะทั้งในแบบดั้งเดิม (วาดด้วยมือ)และแบบดิจิทัล (วาดในคอมพิวเตอร์) เช่น วาดเส้น ดิจิทัลเพ้นท์เบื้องต้น การถ่ายภาพ เป็นต้น

เริ่มเลือกสายที่จะเรียนระหว่างแอนิเมชันกับวิชวลเอฟเฟกต์ ซึ่งมีการเรียนวิชาพื้นฐานด้านการผลิตด้วยกัน เช่น สตอรี่บอร์ด การออกแบบ Pre production ในขณะที่จะมีรายวิชาที่เพิ่มความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของแต่ละสายโดยตรง เช่น 2D Animation และ Anatomy สำหรับสายแอนิเมชัน และ พื้นฐานการถ่ายทำวิชวลเอฟเฟกต์ และการ Composite สำหรับสายวิชวลเอฟเฟกต์

ปี 1

ปูพื้นฐานและฝึกทักษะทางด้านศิลปะทั้งในแบบดั้งเดิม (วาดด้วยมือ)และแบบดิจิทัล (วาดในคอมพิวเตอร์) เช่น วาดเส้น ดิจิทัลเพ้นท์เบื้องต้น การถ่ายภาพ เป็นต้น

เริ่มเลือกสายที่จะเรียนระหว่างแอนิเมชันกับวิชวลเอฟเฟกต์ ซึ่งมีการเรียนวิชาพื้นฐานด้านการผลิตด้วยกัน เช่น สตอรี่บอร์ด การออกแบบ Pre production ในขณะที่จะมีรายวิชาที่เพิ่มความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของแต่ละสายโดยตรง เช่น 2D Animation และ Anatomy สำหรับสายแอนิเมชัน และ พื้นฐานการถ่ายทำวิชวลเอฟเฟกต์ และการ Composite สำหรับสายวิชวลเอฟเฟกต์

ปี 2

เริ่มเลือกสายที่จะเรียนระหว่างแอนิเมชันกับวิชวลเอฟเฟกต์ ซึ่งมีการเรียนวิชาพื้นฐานด้านการผลิตด้วยกัน เช่น สตอรี่บอร์ด การออกแบบ Pre production ในขณะที่จะมีรายวิชาที่เพิ่มความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของแต่ละสายโดยตรง เช่น 2D AnimationและAnatomy สำหรับสายแอนิเมชัน และ พื้นฐานการถ่ายทำวิชวลเอฟเฟกต์ และการ Composite สำหรับสายวิชวลเอฟเฟกต์

ปี 3

เตรียมความพร้อมก่อนการเข้าสู่โลกของการทำงานจริงด้วยโปรเจคท์แอนิเมชัน หรือโปรเจคท์หนังสั้นผสมเทคนิคพิเศษ ภายในระยะเวลา 1 เทอม และการฝึกงานภาคฤดูร้อน (สำหรับนักศึกษาไม่เลือกสหกิจ)

ปี 3

เตรียมความพร้อมก่อนการเข้าสู่โลกของการทำงานจริงด้วยโปรเจคท์แอนิเมชัน หรือโปรเจคท์หนังสั้นผสมเทคนิคพิเศษ ภายในระยะเวลา 1 เทอม และการฝึกงานภาคฤดูร้อน (สำหรับนักศึกษาไม่เลือกสหกิจ)

ปี 4

โครงงานจบการศึกษาในรูปแบบแอนิเมชันขนาดสั้น หรือหนังสั้นผสมเทคนิคพิเศษ (สำหรับนักศึกษาไม่เลือกสหกิจ) หรือฝึกงานสหกิจศึกษาและโครงงานจบการศึกษา (สำหรับนักศึกษาเลือกสหกิจ)

ค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตร

อาชีพในอุตสาหกรรม

  • Visual Effects Artist ศิลปินผู้สร้างสรรค์เทคนิคพิเศษสำหรับงานภาพยนตร์และงานโฆษณาทางโทรทัศน์
  • Visual Effects Compositor ผู้ทำหน้าที่ประกอบภาพที่ถ่ายทำจริง (Live Action) กับภาพที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ (CGI)
  • Video Editor นักตัดต่อคลิปวิดีโอ
  • Motion Graphic นักทำแอนิเมชันแบบโมชั่นกราฟิก
  • 3D Animator นักทำภาพเคลื่อนไหวแบบ 3 มิติ
  • 3D Rigger นักติดตั้งกระดูกเพื่อการเคลื่อนไหวของตัวละคร
  • 3D Lighting Artist ศิลปินผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดแสง-เงาและการสร้างพื้นผิวต่างๆให้กับวัตถุในโปรแกรมสามมิติ
  • 3D Modeller นักสร้างโมเดลสามมิติ ออกแบบและสร้างสรรค์โมเดลสามมิติประเภทต่างๆ
  • Technical Director ผู้กำกับเทคนิคที่มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านศิลปะและการเขียนโปรแกรม ดูแลการทำงานด้านเทคนิคของวิชวลเอฟเฟกต์
  • 2D Animator นักวาดภาพเคลื่อนไหวแบบ 2 มิติ
  • 2D Rigger นักติดตั้งกระดูกเพื่อการเคลื่อนไหวของตัวละคร
  • 2D FX Artist นักวาดเอฟเฟกต์เคลื่อนไหวแบบ 2 มิติ
  • Storyboard Artist นักเขียนสตอรี่บอร์ดสำหรับงานแอนิเมชัน
  • Vtuber ผู้ให้ความบันเทิงออนไลน์ในรูปแบบอวาตาร์ที่ใช้ตัวละครสมมติ ในสายงานนี้จะมีงานในส่วนของการจัดสร้างองค์ประกอบต่าง ๆ ของวีทูบเบอร์ โดยเป็นผู้อยู่เบื้องหลังในกระบวนการสร้าง เช่น Live2D Rigger (นักติดตั้งกระดูกเพื่อการทำ Motion Capture), Vtube Modeler (นักวาดโมเดลตัวละครวีทูบเบอร์) เป็นต้น