Welcome Back to SPU
คณะดิจิทัลมีเดีย เดินหน้าผลักดันโครงการ “Welcome Back to SPU” คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม (SPU) ร่วมผลักดันโครงการ “Welcome Back to SPU” เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่เคยหยุดพักการศึกษาได้กลับมาสู่เส้นทางการเรียนอีกครั้ง โดยมุ่งเน้นการสนับสนุนการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง รองรับความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ พร้อมพัฒนาศักยภาพนักศึกษาให้พร้อมสำหรับชีวิตและการทำงานในยุคดิจิทัล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิรัช เลิศไพฑูรย์พันธ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า“ในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเรียนรู้และพัฒนาตนเองเป็นสิ่งจำเป็น แต่เราพบว่านักศึกษาหลายคนต้องหยุดเรียนด้วยเหตุผลจำเป็น โครงการนี้จึงถูกออกแบบเพื่อช่วยให้นักศึกษาเหล่านี้กลับมาเรียนต่อจนสำเร็จการศึกษา พร้อมเสริมสร้างศักยภาพและโอกาสในอาชีพการงานให้กว้างขึ้น” อาจารย์ กัณยาวีร์ เพชรสุข หัวหน้าสาขาดิจิทัลอาร์ตส์ กล่าวเสริมว่า“สาขาดิจิทัลอาร์ตส์ได้พัฒนาหลักสูตรใหม่ที่เชื่อมโยงประสบการณ์จริงของนักศึกษา โดยมุ่งเน้นการตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรมดิจิทัลในปัจจุบันและอนาคต นักศึกษาสามารถนำทักษะที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการเรียนรู้ พร้อมต่อยอดสู่ความสำเร็จทางการศึกษาและการทำงาน” อาจารย์ ชนินทร ฉายรัศมี หัวหน้าสาขาคอมพิวเตอร์แอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ กล่าวเสริมว่า“สาขาคอมพิวเตอร์แอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ มุ่งหวังที่จะสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นและสนับสนุนศักยภาพของนักศึกษาในยุคที่ทักษะด้านดิจิทัลและความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งสำคัญ เราได้ปรับปรุงหลักสูตรให้ตอบโจทย์ทั้งเทคโนโลยีใหม่และความต้องการของอุตสาหกรรม เพื่อให้นักศึกษาไม่เพียงแค่กลับมาเรียนต่อ แต่ยังสามารถก้าวหน้าไปสู่ความสำเร็จในอาชีพได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน” สาขาการออกแบบกราฟิก สาขาที่ตอบโจทย์การทำงานในยุคดิจิทัล โดยหัวหน้าสาขา อ.สิริภา จันทบูลย์ ได้ออกแบบการเรียนการสอนทันยุคดิจิทัลและตอบรับการพัฒนาของโลกในยุค AI ได้อย่างไม่หยุดยั้งซึ่งหากนักศึกษาที่ต้องการความรู้ใหม่ๆที่ตอบโจทย์กับยุคสมัยสามารถกลับมาเรียนอีกครั้งได่ หัวหน้าสาขา ผศ.ดร. ณัฐกมล ถุงสุวรรณ หัวหน้าสาขาการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟและเกมได้มุ่งเน้นการพัฒนาทั้งด้านการออกแบบเกมและอีสปอร์ตเพื่อตอบโจทย์ Trend ในปัจจุบันที่อุตสาหกรรมเกมนั้นมีแนวโน้มการเติบโตที่สูงขึ้น จุดเด่นของโครงการ1. การประยุกต์ประสบการณ์สู่การศึกษา นักศึกษาที่มีประสบการณ์ทำงานในสายอาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น การออกแบบคอนเซปต์อาร์ต การวาดคอมมิค หรือการออกแบบภาพประกอบ สามารถนำผลงานและทักษะที่มีมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียน ผ่านกระบวนการ RESK (Recognition of Existing Skills and Knowledge) หรือการเทียบโอนความรู้และทักษะที่มีอยู่เดิม โดยผ่านการประเมินสมรรถนะตามมาตรฐานอาชีพ ช่วยลดเวลาและทรัพยากรในการเรียนในหัวข้อที่มีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว 2. การผสานองค์ความรู้ใหม่กับประสบการณ์เดิม หลักสูตรได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัย เน้นการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมดิจิทัล เช่น การสร้างผลงานด้วยเทคโนโลยี AI การพัฒนางานสายดิจิทัลอาร์ตส์ 3. สนับสนุนการเรียนรู้ต่อเนื่องผ่านเทคโนโลยี สำหรับนักศึกษาที่ต้องการความยืดหยุ่น สาขาดิจิทัลอาร์ตส์ได้จัดรายวิชาออนไลน์ผ่านระบบ E-Learning ซึ่งช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้จากทุกที่ในเวลาที่สะดวก เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาระงานหรือไม่สะดวกเดินทางมาเรียน 4. สร้างบัณฑิตที่มีความพร้อมทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ด้วยการผสมผสานการเรียนรู้ในห้องเรียนกับประสบการณ์การทำงานจริง นักศึกษาจะได้รับความเข้าใจเชิงลึกในเนื้อหาวิชาสำคัญ เช่น การออกแบบคอนเซปต์อาร์ต การสร้างตัวละคร (Character Design) การสร้างลิขสิทธิ์คาแรกเตอร์ (Character Licensing) และการเล่าเรื่องผ่านสื่อดิจิทัล ซึ่งเป็นทักษะที่ตลาดงานในปัจจุบันต้องการ โครงการ “Welcome Back to...