Uncategorized

Review สาขาวิศวกรรมระบบราง คณะวิศวกรรมศาสตร์

ชวนน้องๆ มาทำความรู้จักกับสาขาวิศวกรรมระบบราง คณะวิศวกรรมศาสตร์ SPU!

หลักสูตรที่มีความต้องการวิศกรสูงมากในอุตสาหกรรมระบบราง
น้องๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง การซ่อมบำรุง ควบคุมรถ การบริหารจัดการด้านระบบราง เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเทคโนโลยีและกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในระบบราง พร้อมบินไกลไปเรียนวิศวกรรมระบบรางจากสถาบันชั้นนำในประเทศจีน 1 ปี ที่
Hunan Vocation College of Railway Technology (HVCRT) ได้ทั้ง Engineer Skill และภาษาจีน

วิศวกรรมระบบราง คณะวิศวกรรมศาสตร์ 4 ปี ต้องเรียนอะไรบ้าง มาดูกันเลย!!

#ชั้นปีที่ 1

น้องๆ จะได้เตรียมพร้อมสู่การทำงานอย่างครบวงจร ตั้งแต่ เขียนแบบวิศวกรรม วิศวกรรมไฟฟ้า การวิจัยดำเนินงานในระบบราง ความปลอดภัยทางวิศวกรรมระบบราง การจัดการการบำรุงรักษาระบบราง โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับวิศวกร ตลอดจนเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมในการปฏิบัติการทางราง

จบปี 1 น้องๆ สามารถคำนวณผลตามหลักการของงานวิศวกรรมระบบราง และประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการจัดการวิศวกรรมแก้ปัญหาด้านวิศวกรรมระบบรางได้

ใส่รูป

#ชั้นปีที่ 2


น้องๆ จะได้ไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัย Hunan Vocation College of Railway Technology (HVCRT) ประเทศจีน ซึ่งจะได้เจาะลึกเกี่ยวกับการจัดการระบบราง เข้าใจโครงสร้างพื้นฐานของระบบราง การจัดการงานก่อสร้างระบบราง โดยเน้นทั้งเทคโนโลยีตัวรถ รถไฟความเร็วสูง และระบบควบคุมการเดินรถอย่างปลอดภัย ฝึกการปฏิบัติการเทคโนโลยีระบบราง ทั้งการวางแผน ควบคุม การตรวจ การบํารุงรักษา และระบบไฟฟ้าสํารอง โดยใช้ทักษะวิศวกรรมเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

จบปี 2 น้องๆ สามารถปฏิบัติงานวิศวกรรมระบบรางภาคสนามได้ และยังได้ Skill ภาษาจีนอีกด้วย

ใส่รูป

#ชั้นปีที่ 3


น้องๆ จะได้ Upskill ความรู้และทักษะการเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ เน้นเสริมทักษะด้านภาษา การสื่อสารและการนำเสนอ เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อในการจัดการข้อมูลและการทำงานด้านระบบรางในอนาคต ในเทอมสอง น้องๆ จะได้เลือกเรียนข้ามศาสตร์ได้ตามใจชอบ อยากเจาะลึกด้านวิศวกรรม จะเรียนออกแบบกราฟิก หรืออยากทำเบเกอรี่ก็เลือกได้ไม่จำกัด

จบปี 3 น้องๆ จะมีทักษะการใช้เครื่องมือดิจิทัลในการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมระบบรางได้

ใส่รูป

#ชั้นปีที่ 4


น้องๆ จะได้เจาะลึกแบบเข้มข้นด้านวิศวกรรมระบบราง การบริหารโครงการระบบราง ที่เน้นการวางแผน การจัดการ และการปรับปรุงกระบวนการเชิงวิศวกรรม พร้อมปฏิบัติจริงเกี่ยวกับการเดินรถ สถานี ขบวนรถ และศูนย์ควบคุมการเดินรถ และการฝึกสหกิจศึกษาด้านวิศวกรรมระบบรางในองค์กรที่น้องๆ สนใจทั้งในและต่างประเทศ
เพื่อเสริมทักษะทางเทคนิคครบถ้วน พร้อมเข้าสู่อุตสาหกรรมระบบรางอย่างมั่นใจ

จบปีสุดท้าย สามารถประยุกต์ใช้หลักวิศวกรรมระบบรางในการออกแบบ ดำเนินการ รายงานผล และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

รวม 10 วิชา สาขาวิศวกรรมระบบราง คณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมชาร์จพลังงานในตัวคุณให้เต็ม เพื่อขับเคลื่อนอนาคตการเดินทางด้วยระบบราง…

  • เทคโนโลยีตัวรถระบบราง
    ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับตู้รถไฟและองค์ประกอบหลักของรถราง รางรถไฟ โบกี้ ช่วงล่าง ระบบเบรก และตัวถังรถ ระบบการเฝ้าติดตาม การบำรุงรักษา รวมถึงแนวคิดการออกแบบ เทคโนโลยีหัวรถจักร
  • ระบบควบคุมและอาณัติสัญญาณระบบราง
    เรียนรู้มาตรฐานระบบกลไก สัญญาณไฟ ระบบคอมพิวเตอร์ ระบบควบคุมรถไฟ การใช้โปรแกรม (PLCs & SCACA) ระบบความปลอดภัย และการซ่อมบำรุงระบบอาณัติสัญญาณ
  • โครงสร้างพื้นฐานของระบบราง
    เจาะลึกโครงสร้างพื้นฐานระบบราง ประเภทของระบบราง วัสดุโครงสร้างทาง การบำรุงระบบราง รวมถึงหลักการออกแบบระบบราง สะพาน อุโมงค์ สถานี การจราจร และพื้นที่เชื่อมต่อการขนส่งหลายรูปแบบ
  • ปฏิบัติการเทคโนโลยีระบบราง
    ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิศวรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบราง กลศาสตร์ กลศาสตร์ของไหล วัสดุศาสตร์  ระบบควบคุม  อุณหพลศาสตร์ การถ่ายเทความร้อน และยานยนต์
  • การจัดการงานก่อสร้างระบบราง
    เรียนการวางแผนและควบคุมงานก่อสร้างระบบราง การประมาณราคา การตรวจสอบระบบบริการ การตรวจสอบสมรรถนะของระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ของระบบราง และการบริหารจัดการความปลอดภัยในระบบราง
  • การตรวจจับความผิดพลาดทางราง
    เจาะลึกประเภท ระดับความรุนแรง การตรวจสอบและประเมินความเสื่อมสภาพ ความเสียหายของทางรถไฟ สาเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสียหาย วิธีการซ่อมแซม การใช้เครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์
  • ระบบควบคุมและฉุดลากรถรางไฟฟ้า
    ศึกษาการดำเนินการและการบำรุงรักษาระบบควบคุม การตรวจสอบและการบำรุงรักษาระบบการลาก และระบบป้องกันความล้มเหลว การวิเคราะห์ความผิดพลาดและการแก้ไขป้องกันอีเอ็มยู
  • รถไฟความเร็วสูง
    เจาะลึกข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟความเร็วสูง สถานี แหล่งจ่ายไฟ องค์กรการขนส่ง การใช้ความปลอดภัยและความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์สมัยใหม่ของรถไฟความเร็วสูง
  • การบริหารโครงการระบบราง
    ศึกษาการจัดการองค์กร กระบวนการจัดการโครงการ ปัจจัยควบคุมความสำเร็จของการจัดการโครงการ ทั้งคุณภาพ ทรัพยากรมนุษย์ การสื่อสาร ความเสี่ยง การจัดซื้อจัดหา และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากกรณีศึกษาโครงการด้านระบบราง
  • การปฏิบัติเดินรถ : สถานี ขบวนรถ และศูนย์ควบคุมการเดินรถ
    การจำลองสถานการณ์เกี่ยวกับโครงสร้างองค์กร อุปกรณ์ประจำสถานี การปฏิบัติการสถานี การควบคุมการเดินรถ การสับรางกล อุปกรณ์ประจำขบวนรถ การควบคุมขบวนรถไฟ การให้บริการ การแก้ไขปัญหารถไฟขัดข้อง และการอพยพผู้โดยสาร

ใส่รูป

สาขาวิศวกรรมระบบราง คณะวิศวกรรมศาสตร์ตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรมระบบรางไทย สู่วิศวกรระบบรางมืออาชีพ

  • วิศวกรระบบรถไฟฟ้า
  • วิศวกรรางรถไฟฟ้า
  • วิศวกรระบบสัญญาณรถไฟฟ้า
  • วิศวกรระบบรางในองค์กรของรัฐและเอกชน
  • วิศวกรปฏิบัติการ หรือ การบริหารจัดการการเดินรถไฟ
  • วิศวกรบริการงานซ่อมบำรุงรักษา
  • วิศวกรควบคุมงานก่อสร้างระบบราง
  • วิชาชีพทางวิศวกรรมและการปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับระบบราง
  • พนักงานขับเคลื่อนรถไฟ
  • พนักงานควบคุมสถานีรถไฟ
  • ฯลฯ

ปิดท้าย

สาขาวิศวกรรมระบบราง คณะวิศวกรรมศาสตร์ SPU เรียนรู้ระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง การซ่อมบำรุง ควบคุมรถ การบริหารจัดการด้านระบบราง ด้วยเทคโนโลยีสุดทันสมัยพร้อมบินไปศึกษาที่ประเทศจีน 1 ปี ครอบคลุมทุกส่วนงาน ในอุตสาหกรรมระบบรางสนใจอยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเข้าดูได้ที่เว็บไซต์
คณะ www.spu.ac.th/engineer หรือ โทร. 0 2558 6888 ต่อ 2121-4 ได้เลย

คณะวิศวกรรมศาสตร์ SPUเรียนเรื่องยากให้เข้าใจง่าย ใช้งานได้จริงครบทุกสายงานวิศวะ กับอาจารย์ ตัวจริง ในอุตสาหกรรมมาสอนอย่างใกล้ชิด…

  • วิศวกรรมไฟฟ้า
  • วิศวกรรมโยธา
  • วิศวกรรมเครื่องกล
  • วิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ
  • วิศวกรรมระบบราง

(Visited 51 times, 1 visits today)

Related posts

มัดรวม 10 ซีรีส์เกาหลี ด้านกฏหมาย ที่DEK นิติ ห้ามพลาด!!

piyathida

พีระมิดวางแผนการเงิน by DEK บัญชี SPU

piyathida

มัดรวม 50 อาชีพ ที่ DEK สาขาภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล จบแล้วพร้อมทำงาน

piyathida