Uncategorized

Review สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และนวัตกรรมการพัฒนาซอฟต์แวร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

#ชั้นปีที่ 1

DEK ปี 1 จะต้องเตรียมพร้อมสู่การพัฒนาผู้เรียนให้เป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Full Stack เสริมทักษะเทคโนโลยีมัลติมีเดีย รู้ถึงทักษาศิลปะและการออกแบบ การเขียนโปรแกรม และในปีนี้จะเรียนเทคนิคเฉพาะด้าน และเลือกเรียนข้ามศาสตร์ได้ตั้งแต่ปี 1 ไม่ว่าน้องๆ จะชอบทำขนม หรืออยากเรียนภาษาก็สามารถเลือกได้ตามใจชอบ DEK จบปี 1 น้องๆ จะได้ความรู้ด้านมัลติมีเดีย ด้านการวาดภาพ ด้านการออกแบบและที่สำคัญสามารถเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ห๊ะ…Admin ยังอึ้งอยู่จบปี 1 น้องๆ ทำได้ขนาดนี้แล้วปังไม่ไหว

#ชั้นปีที่ 2


เป็นปีที่จะต้องเพิ่มความเข้มข้นเกี่ยวกับเทคนิคต่างๆ ด้านการพัฒนาภาพ 3 มิติ บนคอมพิวเตอร์ การออกแบบและพัฒนาสื่อปฏิสัมพันธ์ สุดว้าวกับการใส่กระดูกให้กับตัวละคร 3 มิติ เทคนิคดีๆ ของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออาชีพและการทำงาน และเจาะลึกด้านการเรียนเฉพาะด้านมากขึ้นอีกด้วย เมื่อ DEK จบปี 2 สามารถพัฒนาแอนิเมชั่น 2 มิติ หรือแอนิเมชั่น 3 มิติ รวมไปถึงสามารถพัฒนาและใช้งานโปรแกรมด้านมัลติมีเดียได้

#ชั้นปีที่ 3

เป็นพี่ปี 3 จะมาเรียนแบบเบาๆ ได้ยัไงหล่ะ โค้ชจะเน้นจัดการข้อมูลและการทำงานด้านสถิติและงานวิจัยด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดีย รวมถึงการออกแบบเว็บปฏิสัมพันธ์ ทางด้านภาษาเราจะบกพร่งไม่ได้ทางสาขาก็เตรียมภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมความพร้อมสู่งานอาชีพ และที่สำคัญปีนี้น้องๆ จะได้เลือกเรียนข้ามศาสตร์ได้ตามใจชอบเลือกเรียนได้ไม่จำกัดกรอบ และการเตรียมตัวออกไปสหกิจศึกษาพร้อมสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ SPU-CEFR จบปี 3 สามารถพัฒนาแอนิเมชั่น 3 มิติและพัฒนาเกม 3 มิติ รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีด้าน AR VR MR ได้

#ชั้นปีที่ 4


พี่ปี 4 พร้อมออกไปใช้ชีวิตนอกมหาวิทยาลัยกันแล้วหรือยังจ๊ะ ถ้าพร้อมแล้วก็ออกสหกิจกันได้เลย โดยการที่นำทักษะต่างๆ ในแต่ละชั้นสร้างผลงานและสามารถนำเสนอออกไปในแนวแนวคิดสร้างสรรค์โดยสอดรับรับกับบริบทและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี ความต้องการกำลังคนของประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป 

  • ทักษะเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้งานเครื่องมือพื้นฐานสำหรับเทคโนโลยีมัลติมีเดียประเภทต่างๆ ประกอบด้วย ซอฟต์แวร์สำหรับการสร้างภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว เสียง และวิดีโอ
  • การเขียนโปรแกรม ความรู้เกี่ยวกับชนิดข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร ตรรกะ ตรรกะแบบบูลีน เลขคณิตคอมพิวเตอร์ ขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาแบบลำดับ แบบตัดสินใจ แบบวนซ้ำ การเขียนส่วนย่อยของโปรแกรม การเรียกซ้ำ การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ การแก้ไขข้อผิดพลาดของโปรแกรม การจัดการข้อผิดพลาดของโปรแกรม
  • การเขียนโปรแกรมสำหรับงานมัลติมีเดีย  หลักการคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ หลักการด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ หลักการแก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์ หลักการเบื้องต้นของการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การกำหนดตัวแปร ชนิดของตัวแปร ค่าคงที่ การรับข้อมูลเข้า การแสดงผลข้อมูล โครงสร้างควบคุมประกอบด้วย การเลือกทำ และการทำซ้ำ การสร้างฟังก์ชัน ตัวแปรอาร์เรย์ พอยต์เตอร์และการดำเนินการเกี่ยวกับไฟล์
  • ศิลปะและการออกแบบ โครงสร้างพื้นฐานของการวาดรูปด้วยมือ วาดภาพสเก็ต การวาดรูป Perspective การวาดรูปแรเงา การตัดทอนแสงเงา การวาดรูปร่างและรูปทรงการออกแบบศิลปกรรม งานภาพประกอบ รูปทรงในอุดมคติ กระบวนการสร้างงานออกแบบ การสร้างภาพซ้ำ การสร้างดุลยภาพ การจัดองค์ประกอบศิลป์ เทคนิคการลงสี หลักการผสมสี จิตวิทยาของสี สีส่วนรวม สีเอกรงค์ การไล่เฉดสีภาพเสมือนจริง โดยมีชิ้นงานนำเสนอ
  • โครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธีสำหรับมัลติมีเดีย  วิชาบังคับก่อน พื้นฐานการเขียนโปรแกรมหรือได้รับความเห็นชอบจากคณะเจ้าของวิชาหลักการในขั้นตอนวิธีเบื้องต้น การวิเคราะห์ขั้นตอนวิธี ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโครงสร้างข้อมูลและวิธีการใช้ รายการ แถวลำดับ การเรียงทับซ้อน การเรียงลำดับ ต้นไม้ การค้นหา กราฟ การจัดการไฟล์
  • คณิตศาสตร์สำหรับเทคโนโลยีมัลติมีเดีย   ทฤษฎีกราฟ ต้นไม้ และการค้นหาโดยต้นไม้ทวิภาค วิธีของปริม และ ไดสค์ตรา ตรรกศาสตร์ และการพิสูจน์ พีชคณิตแบบบูลและวงจรตรรก พีชคณิตของเซ็ตและสายอักขระ กลุ่ม และ กลุ่มย่อย แบบชนิดของข้อมูล ที่เป็นโครงสร้างพีชคณิต ความสัมพันธ์สมมูลและการแบ่งกั้น สมการผลต่าง และฟังก์ชันปรากฏซ้ำ
  • หลักการออกแบบกราฟิก ประวัติและหลักการจัดการด้านการออกแบบ เพื่อนำไปสร้างองค์ประกอบเชิงทัศนศิลป์ ในรูปแบบภาพสัญลักษณ์ ตัวอักษร การจัดวาง การเลือกใช้สีและสิ่งพิมพ์ต่างๆ เพื่อสื่อสารไปยังผู้รับสาร
  • การออกแบบและพัฒนาสื่อปฏิสัมพันธ์    รูปแบบ เทคโนโลยี วิวัฒนาการของสื่อปฏิสัมพันธ์ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับกระบวนการ พัฒนาสื่อปฏิสัมพันธ์ การศึกษาและออกแบบส่วนการติดต่อผู้ใช้และประสบการณ์ผู้ใช้ การพัฒนาสื่อปฏิสัมพันธ์ด้วยซอฟต์แวร์ประยุกต์
  • การออกแบบเว็บปฏิสัมพันธ์  มาตรฐานเกี่ยวกับเว็บ นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวกับการออกแบบและสร้างเว็บไซต์ ในส่วนของเซิร์ฟเวอร์และไคลเอนท์ พื้นฐานการเขียนชุดคำสั่งภาษาสคริปต์ HTML5, XHTML, CSS และ JavaScript เป็นต้น การใช้เครื่องมือสำหรับการออกแบบและสร้างเว็บเพจแบบคงที่และแบบพลวัต โดยมีชิ้นงานนำเสนอ
  • การพัฒนาภาพ 3 มิติ การสร้างภาพ 3 มิติ ระบบกราฟิกส์แบบเวกเตอร์ ระบบพิกัดของภาพกราฟฟิกส์ กราฟิกส์แบบ 3 มิติ การควบคุมหน้าจอและวัตถุ การจัดการพิกัด UV การใส่พื้นผิวและลวดลายให้กับแบบจำลอง 3 มิติ การกำหนดลักษณะพื้นผิวของวัตถุ การจัดแสงและการประมวลผลภาพ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์สำหรับการสร้างแอนิเมชันแบบ 3 มิติโดยมีชิ้นงานนำเสนอ

อาชีพน่าสนใจของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และนวัตกรรมการพัฒนาซอฟต์แวร์

  • นักพัฒนาซอฟต์แวร์
  • นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ
  • งานซอฟต์แวร์
  • นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล
  • นักวิเคราะห์ข้อมูล
  • โปรแกรมเมอร์

เป็นไงกันบ้าง DEK DEK อันนี้ Admin มาแบบสรุปให้สำหรับใครที่กำลังมองหามหาวิทยาลัยอยู่Admin ขอย้ำอีกสักรอบ เลือก SPU ไม่มีคำว่าผิดหวัง เพราะเราจะมีโค้ชจากในวงการมาช่วยติว ช่วยดูเรียกได้ว่าแนบชิดจนจะหายใจไม่ออกกันเลยทีเดียวน้องๆ คนไหนอยากดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  https://www.spu.ac.th/fac/informatics/ หรือ โทร. 0 2558 6888 ต่อ 2121-4 ได้เลย

(Visited 39 times, 1 visits today)

Related posts

Review สาขาสื่อสารธุรกิจภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์

Nuchnarin Rohmanee

อยากเก่งภาษา ทันตลาดธุรกิจโลก ห้ามพลาด! กับ 3 สาขา คณะศิลปศาสตร์

Nuchnarin Rohmanee

Review สาขาการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ

piyathida