Facultyคณะนิติศาสตร์

เรียนนิติศาสตร์จบแล้วทำงานอะไร?

เรียนนิติศาสตร์จบแล้วทำงานอะไร?

วันนี้แอดมินจะพา Dek สายกฎหมายไปรู้จักกับ 7 อาชีพในฝันของคนเรียนกฎหมาย
จะมีอะไรบ้าง? ไปดูเลย

 

 

เรียนนิติศาสตร์จบแล้วทำงานอะไร?

ทนายความ เป็นผู้แก้ต่างในคดี ให้คำปรึกษากฎหมาย ยื่นฟ้องคดี และงานด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของลูกความ
✅ ต้องผ่านการสอบคัดเลือกจากสภาทนายความ (ตั๋วทนาย)
✅ เงินเดือนตามประสบการณ์ และความยากง่ายของคดีความ

 

อาชีพทนายความ ถือว่าเป็นอาชีพในฝันของหลายๆ คนที่จะเรียนสายกฎหมาย โดยทนายความมักจะเป็นอาชีพแรกที่เด็กจบใหม่ให้ความสนใจมากที่สุด เพราะเพียงแค่สอบผ่านตามหลักสูตรของสภาทนายความ ก็สามารถคว้าใบอนุญาตทนายความมาอยู่ในมือได้

ไม่ต้องจบเนติบัณฑิตก็เป็นทนายได้ แถมถ้าสอบได้แล้วยังสามารถประกอบอาชีพทนายความแบบตลอดชีพได้อีกด้วย

 

 

เรียนนิติศาสตร์จบแล้วทำงานอะไร?

เป็นนักกฎหมาย ที่ปฏิบัติงานด้านกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชน
✅ มีตั๋วทนายหรือไม่ก็ได้
✅ เงินเดือนตามประสบการณ์

 

หน้าที่ของนิติกร คือการปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการพิจารณา วิเคราะห์ปัญหากฎหมาย ร่างและพิจารณาตรวจร่างกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง จัดทำนิติกรรม รวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน เพื่อดำเนินการทางคดี การสอบสวน ตรวจพิจารณา ดำเนินการเกี่ยวกับวินัยข้าราชการ และการร้องทุกข์หรืออุทธรณ์ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ปฏิบัติงานระดับต้น

โดยงานนี้จะต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านนิติการตามที่ได้รับมอบหมาย

 

 

เรียนนิติศาสตร์จบแล้วทำงานอะไร?

ที่ปรึกษากฎหมาย เป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายของหน่วยงานต่างๆ ทั้งในกฎหมายเฉพาะ กฎหมายทั่วไป ฯลฯ
✅ มีตั๋วทนายหรือไม่ก็ได้
✅ เงินเดือนตามประสบการณ์ หรือความเฉพาะด้านกฎหมายของการให้คำปรึกษา

 

ที่ปรึกษากฎหมาย จะมีหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำหน่วยงาน องค์กรของรัฐ และเอกชน ในงานด้านกฎหมายจะให้คำปรึกษาแนะนำและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการร่างกฎหมาย ร่างพระราชบัญญัติ คำสั่งและเอกสารทางกฎหมายอื่นๆ ดำเนินการบทบัญญัติแห่งกฎหมายต่างๆ รวมทั้งเรื่องสิทธิหน้าที่ และข้อผูกพันตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฎิบัติงานขององค์กร ให้ผู้บริหารทราบ สนับสนุนและประสานงานกับทนายความขององค์กร

 

 

เรียนนิติศาสตร์จบแล้วทำงานอะไร?

ผู้พิพากษา คือข้าราชการ มีหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดี ให้เป็นไปตามกฎหมาย
✅ ต้องจบเนติบัณฑิต
✅ ต้องผ่านการสอบคัดเลือก
✅ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง
✅ ได้รับค่าตอบแทนตามที่กฎหมายกำหนด

 

ผู้พิพากษา มีหน้าที่หลักคือ นั่งอยู่บนบัลลังก์ศาล และเป็นผู้ควบคุมการดำเนินคดีในชั้นศาลให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย และมีอำนาจในการตัดสินพิพากษาคดี และเป็นผู้รับคำฟ้องร้องจากอัยการหรือทนายฝ่ายโจทก์ในการฟ้องร้อง รวมถึงกำหนดวงเงินในการประกันตัวสำหรับจำเลยหรือผู้ต้องหาด้วย

 

ขณะที่ในหลายประเทศของตะวันตกที่ใช้ระบบการตัดสินคดีอาญาด้วยคณะลูกขุน ผู้พิพากษาจะเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายในการตัดสินลงโทษ แต่อำนาจการตัดสินใจพิพากษาคดีความว่าจำเลยผิดหรือไม่นั้น ก็จะอยู่ที่คณะลูกขุนเป็นหลัก

 

แต่บางประเทศเช่นในญี่ปุ่น ผู้พิพากษาทั้งสามคนจะมีส่วนร่วมออกเสียงโหวตกับคณะลูกขุนได้เช่นกัน อำนาจของผู้พิพากษาในการตัดสินคดีจึงมีความแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละประเทศ

 

ในส่วนของผู้พิพากษาที่จะต้องตัดสินคดีและกำหนดบทลงโทษ ต้องพิจารณาจากหลักฐานที่ปรากฏในรูปคดีเท่านั้น

 

 

เรียนนิติศาสตร์จบแล้วทำงานอะไร?

อัยการ หรือที่เรียกกันว่า “ทนายของแผ่นดิน” เป็นเจ้าพนักงานของรัฐ มีหน้าที่รวบรวมสำนวนคดี ยื่นฟ้องต่อศาล ฯลฯ
✅ ต้องจบเนติบัณฑิต
✅ ต้องผ่านการสอบคัดเลือก
✅ ได้รับค่าตอบแทนตามที่กฎหมายกำหนด

 

อัยการคือเจ้าพนักงานของรัฐที่มีหน้าที่รวบรวมสำนวนคดีจากเจ้าพนักงานสอบสวนหรือตำรวจ แล้วรับมาดำเนินการต่อว่า จะฟ้องไปชั้นศาลหรือไม่ ถ้าสั่งฟ้อง อัยการก็จะเป็นทนายฝ่ายโจทก์ในการดำเนินคดีฟ้องเอาผิดจำเลยหรือผู้ต้องหาในคดีนั้นๆ ไป

โดยอำนาจหน้าที่ของอัยการก็จะแตกต่างไปตามรูปคดีและในแต่ละประเทศด้วย

 

 

เรียนนิติศาสตร์จบแล้วทำงานอะไร?

พนักงานสอบสวน คือผู้ที่มีหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐาน สอบสวนการกระทำความผิด ทำสำนวนส่งอัยการ ซึ่งต้องมีความแม่นยำด้านกฎหมายเป็นอย่างมาก
✅ หากสอบตรงเข้าเป็นพนักงานสอบสวน จะต้องจบ ป.ตรี นิติศาสตร์ หรือสอบเข้าโรงเรียนนายร้อย (บางปีจะมีการรับวุฒิเนติบัณฑิตด้วย)
✅ ได้รับค่าตอบแทนตามที่กฎหมายกำหนด

 

พนักงานสอบสวน คือพนักงานที่มีหน้าที่สรุปสำนวนการสอบสวน และทำความเห็นพร้อมสำนวนเสนอพนักงานอัยการ ว่าควรงดการสอบสวนหรือสั่งฟ้อง หรือสั่งไม่ฟ้อง ตามบทบัญญัติมาตราต่างๆ

 

 

เรียนนิติศาสตร์จบแล้วทำงานอะไร?

อาจารย์ สอนวิชากฎหมายในมหาวิทยาลัยต่างๆ หรือเป็นติวเตอร์ ฯลฯ
✅ มีตั๋วทนายหรือไม่ก็ได้
✅ เงินเดือนตามประสบการณ์

 

อาจารย์ด้านกฏหมาย จะมีหน้าที่รับผิดชอบการสอนและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา เตรียมการบรรยายหน้าชั้นเรียน และทำวิจัยเพื่อพัฒนาการสอน หรือจะเป็นติวเตอร์ด้านกฎหมายสำหรับการเรียน การสอบทางกฎหมาย

 

 

ที่สำคัญที่สุด ในทุกอาชีพจะต้องจบปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต และมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย แบบนี้แล้ว
ถ้าน้องๆ คนไหนฝันอยากทำอาชีพด้านกฎหมาย ก็ควรเลือกเรียนคณะนิติศาสตร์ เพื่อเป็นจุดสตาร์ทจุดแรกของการทำความฝันให้เป็นจริงนะ

 

แน่นอนว่าแอดมินก็จะขอแนะนำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
เพราะที่นี่เขารู้จริงทุกเรื่องกฎหมาย สอนว่าความได้อย่างมืออาชีพ และมีหลักสูตรกฎหมายที่ทันทุกเหตุการณ์โลก สอนจริงโดยผู้เชี่ยวชาญในวงการกฎหมาย
ไม่เชื่อก็ไปดูด้วยตัวเองได้เลย คลิก! : www.spu.ac.th/fac/law/

 

สุดท้ายนี้ แอดมินต้องขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากเพจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ใครที่อยากรู้เรื่องหลักสูตร ความรู้ เคล็ดลับ และเรื่องต่างๆ ของกฎหมายเพิ่มเติม
ก็สามารถเข้าไปดูได้ที่นี่เลย www.facebook.com/lawsripatum

 

คราวหน้าแอดมินจะมีเรื่องน่าสนใจอะไรอีก อย่าลืมติดตามกันน้าาาาา ^-^

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก : 1 2 3 4

 

 

(Visited 3,428 times, 1 visits today)

Related posts

MICE คืออะไร? มาเรียน MICE กันมั้ย?

P'Krish

ธุรกิจดิจิทัลให้มากกว่าความรู้…

P'Menu SPU

อยากเริ่มทำธุรกิจเล็กๆ มีข้อควรรู้อะไรบ้าง? #คณะบริหารธุรกิจ SPU

P'Menu SPU