Facultyวิทยาลัยการบินและคมนาคม

หลากอาชีพ @ว.การบิน ที่เลือกเป็นได้

หลากอาชีพ @ว.การบิน ที่เลือกเป็นได้

 

ยังคงมีคำถามว่า จบไปแล้วทำงานในส่วนไหนได้บ้าง

วันนี้พี่แอดมินเลยมีคำตอบมาให้น้องๆ ที่อยากจะเข้ามาเรียนวิทยาลัยการบินและคมนาคม ที่ SPU

ว่าทำงานยังไงแล้วทำในตำแหน่งไหนได้บ้าง ตามพี่แอดมินไปดูพร้อมๆ กันเลยค่ะ

 

 

นักบิน (PILOT) มาดูที่กัปตันสุดเท่ ที่เป็นความฝันของน้องๆ หลายคนก่อนเลย แต่ในความเท่นั้น “ตำแหน่งนักบิน” ก็ต้องทำงานภายใต้ความกดดัน มีความคล่องตัว และยังต้องมีความสามรถหลากหลายด้าน รวมถึงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอีกด้วยค่ะ

 

เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการลานจอด (RAMP AGENT) ซึ่งจะมีหน้าที่ดูแลภาพรวม ความเรียบร้อย และความปลอดภัยของลานจอดเครื่องบินเป็นหลัก ต้องทำงานเป็นทีม รู้กฎหมายและความรู้เกี่ยวกับเรื่องการบินในขั้นที่เป็นประโยชน์ต่อตำแหน่งของตนเองได้เป็นอย่างดี

หลากอาชีพ @ว.การบิน ที่เลือกเป็นได้

 

 

เจ้าหน้าที่ควบคุมการขนถ่ายสัมภาระ (FOREMAN) เพื่อความเรียบร้อยและความปลอดภัยของสัมภาระต่างๆ ของผู้โดยสาร หน้าที่นี้เลยสำคัญเป็นอย่างมาก ทำงานอย่างว่องไว มีไหวพริิบ และรู้ขั้นตอนการทำงานเป็นอย่างดี เพื่อให้ไม่เสียเวลาในการบิน และน้ำหนักสัมภาระเป็นไปตามที่กำหนดไว้

 

เจ้าหน้าที่บริการลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้น (GROUNG EQIUPMENT SERVICES) เป็นหน้าที่ที่มีส่วนช่วย Support ในระหว่างที่เครื่องขึ้นและลง และดูแลอุปกรณ์ต่างๆ ที่สำคัญในบริเวณลานจอดให้เป็นระเบียบ ไม่กีดขวางทางเส้นทางขึ้นลงของเครื่องบิน

หลากอาชีพ @ว.การบิน ที่เลือกเป็นได้

 

 

เจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์สินค้าและไปรษณียภัณฑ์ (CARGO SERVICES) มาถึงส่วนของการขนส่งสินค้าทางอากาศกันบ้าง ส่วนนี้จะเป็นตำแหน่งงานที่ต้องอาศัยความละเอียดรอบคอบ รู้ทุกกระบวนการขนส่งสินค้าต่างๆ คำนวณน้ำหนัก และส่งต่อข้อมูลต่างๆ ให้กับผู้ดูแลสินค้าในขั้นต่อไปให้ครบครันและถูกต้อง

 

พนักงานธุรการคลังสินค้า (CARGO COORDINATOR) ดูแลเรื่องสินค้าภายในคลัง การนำสินค้าเข้าและออกจากคลังอย่างละเอียด เช็คของในคลังว่าถูกต้องครบถ้วนไหม มีสินค้าเข้าออกต่อวันเท่าไหร่ และสรุปรายละเอียดสินค้าในคลังแบบวันต่อวันเพื่อกันเหตุสินค้าหายและตกหล่นในการขนส่ง

หลากอาชีพ @ว.การบิน ที่เลือกเป็นได้

 

 

พนักงานจัดระวางบรรทุกสินค้าและไปรษณีย์ (WAREHOUSE LOADER) การคำนวณการจัดวางสินค้าบนเครื่องเพื่อให้เครื่องบินสมดุลในระหว่างการบินขนส่งสินค้า ตรวจเช็คความถูกต้องของสินค้า และน้ำหนักในการขนส่งในแต่ละรอบ

 

ตัวแทนออกของ (SHIPPING) หรือตัวแทนดูแลเรื่องสินค้าของเราที่ไม่ว่าจะส่งออกหรือนำเข้า ดูแลทุกขั้นตอนและรวมถึงดูแลเรื่องเอกสารกับศุลกากรก่อนนำสินค้า เข้า-ออก ประเทศ ให้สินค้าถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัย

หลากอาชีพ @ว.การบิน ที่เลือกเป็นได้

 

 

หวังว่าจะเป็นคำตอบให้น้องๆ ได้อย่างดีเลยนะคะ

ความจริงแล้วยังมีตำแหน่งงานอีกมากมายที่น้องๆ และพี่แอดมินยังไม่รู้

ใครสนใจวิทยาลัยการบินและคมนาคม

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามลิงก์นี้เลยค่ะ www.spu.ac.th/fac/asf/

หรือ INBOX เข้ามาถามได้ในทุกช่องทางได้เลยนะคะ

 

 

(Visited 474 times, 1 visits today)

Related posts

มารู้จักอาชีพ “มัณฑนากร”

P'Lilly SPU

15 คณะน่าเรียน ม.ศรีปทุม มีอะไรบ้าง มาดูกัน!!

P'Krish

รวม 6 ทักษะ ที่สาย IT ต้องมี Upskill สาย Tech ให้รอบด้าน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ SPU

P'Krish