Facultyคณะนิติศาสตร์

รู้ไหม ลิขสิทธิ์มีกี่ประเภท?

ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน

โดยประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองแก่งานสร้างสรรค์มีทั้งหมด 9 ประเภท ดังนี้!

 

 

งานศิลปกรรม คืองานประเภทงานประติมากรรม ภาพพิมพ์ งานสถาปัตยกรรม ภาพถ่าย ภาพประกอบ หรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติเกี่ยวกับภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์ งานศิลปะประยุกต์ รวมถึงภาพถ่ายและแผนผังของงาน ส่วนฝั่งของงานวรรณกรรม จะเป็นประเภท หนังสือ สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ จุลสาร คำปราศรัย และโปรแกรมคอมพิวเตอร์

 

 

งานของนาฏกรรม เช่น งานที่เกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว รวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ ส่วนงานดนตรีกรรม จะเป็นคำร้อง ทำนอง การเรียบเรียงเสียงประสาน รวมไปถึงโน้ตเพลงที่แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว

 

 

งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง แผ่นคอมแพ็คดิสก์ (ซีดี) ที่บันทึกข้อมูลเสียง ไม่รวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์ หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุอย่างอื่น โดยจะแตกต่างกับงานโสตทัศนวัสดุ ที่เป็นวีดีโอเทป วีซีดี ดีวีดี แผ่นเลเซอร์ดิสก์ที่บันทึกข้อมูลประกอบด้วยลำดับของภาพหรือภาพและเสียงอันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีก

 

 

งานภาพยนตร์ แน่นอนว่าต้องเกี่ยวกับด้านภาพยนตร์ รวมถึงเสียงประกอบของภาพยนตร์นั้นด้วย (ถ้ามี)  ส่วนงานแพร่เสียงแพร่ภาพ จะเป็นในส่วนของการกระจายเสียงวิทยุ การแพร่เสียง หรือภาพทางโทรทัศน์

 

 

งานอื่นใดที่อยู่ในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ

 

 

รู้แบบนี้แล้ว เวลาเราจะทำอะไรก็อย่าลืมศึกษาข้อมูลและขอบเขตของกฎหมายกันด้วยนะ
ติดตามข่าวสารจากคณะนิติศาสตร์ : www.spu.ac.th/fac/law/

 

 

(Visited 4,923 times, 1 visits today)

Related posts

ในศาลอาญามีใครบ้าง? แต่ละคนมีหน้าที่อะไร? คณะนิติศาสตร์ SPU

P'Krish

อยากทำงานด้าน IT ฟังทางนี้! มาค้นหาเส้นทางอาชีพสุดปัง Upskill ให้พร้อม

P'Krish

ส่องอาชีพการบิน สายงานภาคพื้นและ Cargo #วิทยาลัยการบินและคมนาคม

P'Menu SPU