ใครว่ากฎหมายต้องเป็นเรื่องของคนที่เรียนนิติศาสตร์เท่านั้น? วันนี้แอดมินขอเสนอ กฎหมายที่ควรรู้เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ที่ไม่รู้ ไม่ได้!
– ทรัพย์และทรัพย์สิน ทรัพย์ที่หมายถึงวัตถุหรือสิ่งที่มีรูปร่าง ส่วนทรัพย์สินจะเป็นทรัพย์และวัตถุที่ไม่มีรูปร่าง เช่น ลิขสิทธิ์
– นิติกรรม คือการแสดงเจตนาผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับสิทธิ์ หลักการทำนิติกรรม
– สัญญาต่างๆ และประเภทของสัญญา เช่น สัญญาซื้อขายธรรมดา สัญญาซื้อขายเฉพาะอย่าง สัญญาเช่าทรัพย์ เช่าซื้อ และสัญญากู้ยืมเงิน
– การหมั้น คือ การทำสัญญาระหว่างชายหญิงว่าจะสมรสกัน จะทำได้เมื่อชายและหญิงอายุ 17 ปีบริบูรณ์
– การสมรส การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์หากมีอายุต่ำกว่านี้ต้องศาลอนุญาต
– มรดก คือ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่างๆ ของผู้ตายหรือเจ้าของมรดก ซึ่งเมื่อเจ้าของมรดกถึงแก่ความตาย มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีที่ตาย
– ทายาทมี 2 ประเภท คือ ทายาทโดยธรรม และทายาทตามพินัยกรรม
– พินัยกรรม คือ เอกสารที่เจ้าของมรดกแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์
– กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นการกำหนดสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ของบุคคล
– กฎหมายเลือกตั้ง เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมการจัดและดำเนินการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและยุติธรรม
– กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์
– กฎหมายเกี่ยวกับบัตรประชาชน
– กฎหมายเกี่ยวกับการรับราชการทหาร
– กฎหมายเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของชุมชน และสิ่งแวดล้อม
ต้องบอกเลยว่ากฎหมายไม่ใช่เรื่องไกลตัว เพราะไม่ว่าใครก็ต้องมีเรื่องของกฎหมายเข้ามาเกี่ยวทั้งนั้น ดังนั้นเราควรศึกษาเพื่อให้ได้รู้ทันและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
ติดตามเรื่องน่าสนใจอื่นๆ ได้ที่ คณะนิติศาสตร์ SPU : www.spu.ac.th/fac/law/