ใครที่มีความฝันอยากจะเป็นผู้พิพากษา แต่ยังไม่รู้ว่าต้องทำอะไร
จะต้องเริ่มจากตรงไหน? ต้องทำอะไรบ้าง?
วันนี้เรามีคำตอบ! กับเส้นทางของการเป็นผู้พิพากษามาให้อ่านกันให้เข้าใจและเห็นภาพกันได้ชัดๆ บอกเลยว่าคนเรียนนิติศาสตร์ไม่รู้ไม่ได้!
ข้อแรกแน่นอนว่าจะต้องเรียนจบปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ก่อน เพราะจะต้องได้การรับรองว่าเรียนจบหลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิตแล้ว ถึงจะเรียกว่าผ่านเงื่อนไขแรกได้
หลังจากเรียนจบหลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิตแล้ว ขั้นต่อไปก็จะต้องลงเรียนเนติบัณฑิตอีก 1 ปี และสอบปากเปล่าอีกครั้ง เพื่อให้ได้ประกาศนียบัตรเนติบัณฑิตไทย
ต้องทำงานเพื่อเก็บอายุงานตามที่คณะกรรมการตุลาการกำหนด เช่น เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย สอนกฎหมาย นิติศาสตร์ เป็นพนักงานสอบสวน เป็นนิติกร ทนายความ เป็นต้น
เมื่อทำงานเก็บอายุงานแล้วต่อไปก็คือการสอบ! โดยในการสอบคัดเลือกผู้ช่วยผู้พิพากษามีทั้งหมด 3 สนามด้วยกัน ซึ่งแต่ละสนามสอบก็จะใช้คุณสมบัติในการสอบที่แตกต่างกันไปตามวุฒิการศึกษาด้านกฎหมาย
แน่นอนว่าก่อนที่เราจะได้นั่งบนบัลลังก์เป็นผู้พิพากษา ก็จะต้องทำงานในการเป็นผู้ช่วยก่อน เพื่อเก็บประสบการณ์การทำงาน และถือเป็นการเตรียมความพร้อมให้ตัวเองอีกด้วย!
อ่านกันแล้วเป็นยังไงกันบ้าง? น้องๆ คนไหนที่กำลังเรียนกำลังสอบต้องอ่านหนังสือกันอยู่ แอดมินเป็นกำลังให้นะ ส่วนครั้งต่อไปจะเป็นเรื่องอะไรอย่าลืมติดตามกัน!
หรืออยากอ่านเรื่องราวข่าวสาวจากทางคณะนิติศาสตร์ ก็ทางนี้เลย! www.spu.ac.th/fac/law/