เปิดอาชีพ DEK ว.การบิน หลักสูตรอะไรทำไมรายได้สูง มีงานรองรับเยอะมาก!
ว.การบิน SPU ตัวจริงในอุตสาหกรรมการบิน! ทำไมรุ่นพี่ที่สนใจงานด้านอุตสาหกรรมการบิน ถึงเริ่มต้นเรียนที่ SPU วันนี้คอลัมน์ SPU GURU มีคำตอบ โดยอาจารย์สุภาพร สอนอินทร์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยการบินและคมนาคม ม.ศรีปทุม ได้เป็นไกด์พาไปรู้จัก ว.การบิน แบบเจาะลึกหลักสูตร พร้อมตอบคำถามที่เด็กอยากบินจะต้องรู้ ว่าเรียนจบแล้วมีงานอะไรบ้าง งานนี้ก่อนเลือกไม่อยากให้พลาด ลองมาอ่านก่อนขึ้นบินกันได้เลย!
PROFILE :
อาจารย์สุภาพร สอนอินทร์
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยการบินและคมนาคม
วุฒิการศึกษา :
- ปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเกริก (เกียรตินิยมอันดับ 1)
- ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการบิน วิทยาลัยการบินนานาชาติ มหาวิทยาลัยนครพนม
- กำลังศึกษาปริญญาเอก บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม
วิชาที่สอน :
- ระบบการจัดการความปลอดภัยการบิน
- มนุษย์ปัจจัยในการป้องกันอากาศยานอุบัติเหตุ
- การวิเคราะห์ความเสี่ยงและความปลอดภัย
- การจัดการบริการภาคพื้น
ความรู้ที่ถนัด : การจัดการความปลอดภัยการบิน
หลักสูตร ว.การบิน ที่น่าสนใจ ไม่อยากให้พลาด
- นักบินพาณิชย์ตรี (Commercial Pilot License course)
- นักบินส่วนบุคคล (Private Pilot License course)
- นักบินอากาศยานไร้คนขับ (Remote Pilot Aircraft System)
- พนักงานอำนวยการบิน (Flight Operations Officer-Dispatcher)
- การควบคุมจราจรทางอากาศ (Air Traffic Control)
อยากเป็นนักบิน ทำไมต้องเริ่มที่ ว.การบิน SPU
เพราะเรามีแผนการเรียนให้นักศึกษาที่จะต่อยอดเพื่อเป็นนักบิน สามารถเรียนจบ Coursework ในมหาวิทยาลัยตอนปี 3 และส่งเรียนหลักสูตรนักบินต่อในช่วงภาคฤดูร้อนของปี 3 ได้เลย ทำให้นักศึกษาที่จบปริญญาตรีสาขาการจัดการความปลอดภัยการคมนาคม จบหลักสูตรนักบินไปพร้อมๆ กันได้ ซึ่งถือเป็นข้อดีที่ทำให้มีเวลาในการเตรียมตัว เพื่อขอสอบใบอนุญาต หรือ Pilot License กับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) ได้เร็วขึ้น
ว.การบิน จบไปทำงานอะไรดี?
วิทยาลัยการบินและคมนาคม เปิดการเรียนการสอนด้านการจัดการความปลอดภัยการบิน ซึ่ง “ความปลอดภัยถือเป็นหัวใจสำคัญของการบิน” นักศึกษาจบไปสามารถทำงานได้ทุกส่วนของอุตสาหกรรมการบิน โดยนำหลักการด้านความปลอดภัยเข้าไปประยุกต์ใช้ทุกสายงานอุตสาหกรรมการบิน นอกจากนี้ ยังมีงานที่ฮิตและน่าสนใจ คือ นักบินพาณิชย์ นักบินส่วนบุคคล นักบินอากาศยานไร้คนขับหรือนักบินโดรน หรือส่วนงานเจ้าหน้าที่อำนวยการบิน อาชีพนี้มีความรับผิดชอบไม่แตกต่างจากนักบิน หน้าที่หลักคือวางแผนเส้นทางบิน หรือ Fight Planning ให้กับเครื่องบินทั้งภายในและต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีงานด้านการควบคุมจราจรทางอากาศ ที่มีหน้าที่ดูแล กำหนดทิศทาง ความเร็ว เพดานบินของเครื่องบิน ซึ่งนักบินต้องปฏิบัติตาม
เปิดอาชีพรายได้สูงของ เด็ก ว.การบิน ที่มีอยู่จริง
อาชีพรายได้สูงของเด็ก ว.การบิน ที่อยากให้รู้จัก คือ
- อาชีพนักบินพาณิชย์ นักบินส่วนบุคคล : ด้วยลักษณะงานที่ต้องรับผิดชอบชีวิตผู้คนจำนวนมากและใช้ทักษะความชำนาญเฉพาะด้าน ทำให้ยิ่งประสบการณ์หรือชั่วโมงบินสูง รายได้ยิ่งเติบโตมากขึ้นตามไปด้วย
- อาชีพเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรทางอากาศ : เป็นผู้ทำหน้าที่ดูแล ตรวจตรา ควบคุมเส้นทาง กำหนดเวลาการบิน กำหนดทิศทาง ความเร็วเพดานบินของเครื่องบิน การจัดการเส้นทางการเดินทางทางอากาศ ให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามกฎข้อบังคับเกี่ยวกับความปลอดภัย รวมถึงทำหน้าที่ติดต่อประสานงานกับนักบินตลอด ซึ่งถือเป็นอาชีพที่ต้องใช้ทักษะในหลายๆ ด้าน ต้องมีความอดทน สามารถควบคุมอารมณ์ในทุกสถานการณ์ได้ ต้องมีสมาธิสูงมาก และเป็นได้ทั้งผู้นำและผู้ตามที่ดี จึงทำให้เป็นอีก 1 อาชีพที่มีรายได้สูง
- อาชีพพนักงานอำนวยการบิน : อาชีพนี้มีความรับผิดชอบไม่แตกต่างจากนักบิน หน้าที่หลักคือวางแผนเส้นทางบิน หรือ Fight Planning ให้กับเครื่องบิน ทั้งภายในและต่างประเทศ ซึ่งเครื่องบินแต่ละเที่ยวบินจะต้องมีผู้วางแผนการบิน ดูข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา คำนวณน้ำหนัก คำนวณน้ำมัน จัดเตรียมเอกสารและอื่นๆ ของแต่ละวัน โดยจะกำหนดเส้นทางการบินให้กับนักบิน ก่อนที่นักบินจะนำเครื่องขึ้น 2 ชั่วโมง พร้อมทั้งช่วยบรรยายสรุปให้กับนักบินฟังในแต่ละเที่ยวบิน
- นักบินอากาศยานไร้คนขับหรือนักบินโดรน : อาชีพน้องใหม่มาแรง จากกระแสความนิยมของอากาศยานไร้คนขับ หรือที่เรียกกันว่า “โดรน” กำลังเข้ามามีบทบาทต่อวงการธุรกิจที่หลากหลายในปัจจุบันและสร้างรายได้ค่อนข้างสูง นับเป็นอาชีพที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการพัฒนาด้านไอทีของยุคดิจิทัลในขณะนี้
เด็ก ว.การบิน มีงานรองรับเยอะมากนะ!
วิทยาลัยการบินและคมนาคม มีหลักสูตรการจัดการความปลอดภัยการคมนาคม ทำให้นักศึกษาที่สำเร็จจากหลักสูตร มีโอกาสนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้โดยตรงในทุกส่วนงานด้านอุตสาหกรรมการบิน เพราะงานของอุตสาหกรรมการบินนั้นให้ความสำคัญด้านความปลอดภัย ตลอดจนทางวิทยาลัยยังมีกลุ่มวิชาเฉพาะด้านที่นักศึกษาสามารถเข้าไปทำงานได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นงานเฉพาะด้านที่ลึกเฉพาะทางลงไปอีก เช่น งานจราจรทางอากาศ ในบริษัทวิทยุการบิน ตำแหน่งจะเริ่มต้นจาก เจ้าหน้าที่ข้อมูลการบิน > เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ > เจ้าหน้าที่ Area Control Center > Supervisor ของแต่ละผลัดการทำงาน > ผู้จัดการการบิน และสามารถย้ายสายงานเพื่อเติบโตไปด้านงานบริหารต่อไป ได้อีกด้วย นี่คือตัวอย่างตำแหน่งงานที่เด็ก ว.การบิน สามารถเข้าไปทำได้จากหลักสูตรที่ทางวิทยาลัยได้จัดเตรียมไว้ค่ะ
อยากรู้ไหม? ทำไมต้อง ว.การบิน SPU
สำหรับน้องๆ ที่รักในงานด้านอุตสาหกรรมการบิน และรักในงานเฉพาะด้านทางการบิน สายงานนี้มีความท้าทายในแต่ละลักษณะงานรออยู่ ถ้าน้องๆ ได้มาเริ่มต้นก้าวแรกที่วิทยาลัยการบินและคมนาคม SPU น้องๆ จะได้เรียนรู้อุตสาหกรรมการบินทั้งหมด และได้เรียนรู้ด้านความปลอดภัยการบิน ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน นอกจากนี้ ทางวิทยาลัยยังมีกลุ่มวิชาชีพเฉพาะด้านที่ทันสมัยเหมาะกับเด็กรุ่นใหม่ หลักสูตรตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรมการบิน สามารถต่อยอดให้น้องๆ ได้มีโอกาสเข้าทำงานด้านการบินที่หลากหลายมากขึ้น ที่สำคัญหลักสูตรของเรานั้นถูกสร้างให้เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) อีกด้วย ดังนั้น ถ้าเริ่มต้นที่ SPU ก็ถือว่าเป็นก้าวแรกที่ดีแล้วนะคะ