บริการงานวิชาทหาร
การขอผ่อนผันตรวจเลือกทหารกองเกิน (ช่วงเดือน กรกฎาคม-พฤศจิกายน)
คุณสมบัติ
1.นักศึกษาชายที่มีเคยเข้ารับราชการฝึกวิชาทหารแต่ไม่สำเร็จชั้นปีที่ 3 ซึ่งมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือมากกว่านั้นแต่ไม่ถึง 26 ปี
2.นักศึกษาใหม่โอนย้ายสถานศึกษากรณีเคยได้รับการผ่อนผันฯ มาจากสถานศึกษาเดิม
หลักฐานประกอบ
1. สำเนาสด.9 (หน้า-หลัง) จำนวน 3 ฉบับ (ตัวอย่าง สด.9)
2. สำเนาหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร สด.35 จำนวน 3 ฉบับ (ตัวอย่าง สด.35)
3. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 3 ฉบับ
4. หนังสือรับรองการเป็นนักศึกษา จำนวน 1 ฉบับ และ สำเนา 2 ฉบับ (ตัวอย่าง หนังสือรับรอง)
(ขอได้ที่สำนักงานทะเบียน อาคาร 1 ชั้น L)
5. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ฉบับ
**เอกสารสำเนาทุกฉบับให้นักศึกษาลงชื่อรับรองสำนเนาถูกต้องฉบับ**
การส่งเอกสาร
ยื่นเอกสารการขอผ่อนผันฯ ได้ที่งานวิชาทหาร อาคาร 10 ชั้น 5 ห้อง 501 เวลา 9.00-16.30 ภายในเดือน พฤศจิกายนของทุกปี
(หากพ้นกำหนดการส่งหลักฐานประกอบ งานวิชาทหาร กลุ่มงานกิจการนักศึกษาไม่รับรับดำเนินการให้ในทุกกรณี)
ข้อปฏิบัติสำหรับนักศึกษาสำหรับนักศึกษาที่ขอผ่อนผันการตรวจเลือกทหาร
1. นักศึกษาต้องไปตรวจสอบรายชื่อตนเองตามภูมิลำเนาทหาร ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมีนาคม หากไม่มีรายชื่อปรากฎในบัญชีรายชื่อบุคคลผ่อนผัน ให้มาแจ้งสถาบันการศึกษาเพื่อดำเนินการตรวจสอบต่อไป
2. นักศึกษาที่ได้รับสิทธิ์ผ่อนผันฯต้องไปรายงานตัวต่อคณะกรรมการตรวจเลือกเพื่อพิจารณาผ่อนผันในคราวที่มีคนพอทุกปีจนกว่าจะพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาของสถาบัน
3. นักศึกษาต้องรับหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (สด.35) ของตนเป็นประจำทุกปีหลังได้รายงานตัวต่อคณะกรรมการในวันตรวจเลือกฯ
4. นักศึกษาที่ได้รับการผ่อนผันฯเมื่อพ้นสภาพการเป็นนักศึกษาของสถาบันแล้วจะต้องแจ้งให้อำเภอตามภูมิลำเนาทหารของตนทราบ ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา
ผู้ใดไม่แจ้งจะมีความผิดตามกฏหมาย มาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 ซึ่งกำหนดไว้ว่า ต้องระวางจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกิน 200 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อนึ่งการยื่นเรื่องขอผ่อนผันฯ กับมหาวิทยาลัย จะกระทำครั้งเดียวแต่มีสิทธิ์ผ่อนผันจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา ตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ผ่อนผันให้จนถึงอายุ 26 ปีบริบูรณ์เท่านั้น หลังสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
การรับสมัครเป็นนักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 1 (ช่วงเดือน พฤษภาคม-สิงหาคม)
คุณสมบัติ
1. มีอายุไม่เกิน 22 ปีบริบูรณ์
2. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของสถานศึกษาที่กรมการรักษาดินแดน
มิได้เปิดทำการฝึกวิชาทหารมาก่อน
หลักฐานประกอบ
1. ใบสมัคร (ทบ.349-001) [downloadใบสมัคร (ทบ.349-001)]
ติดรูปถ่ายขนาด 3×4 ซ.ม. ต้องลงนามให้คำยินยอมโดยบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง
2. หนังสือเงื่อนไขประกอบการสมัครเป็น นศท. [download]
3. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ฉบับ
4. หลักฐานการศึกษา รบ.1
5. ใบรับรองการตรวจร่างกาย จากโรงพยาบาลของรัฐ หรือเอกชน ที่รัฐบาลรับรอง หน่วยตรวจโรคของทหาร และสถานพยาบาลเอกชนตามแบบฟอร์มที่หน่วยบัญชาการกำลังสำรองกำหนด
[download ใบรับรองการตรวจร่างกาย]
การส่งเอกสาร
ยื่นเอกสารการสมัคร ได้ที่งานวิชาทหาร อาคาร 10 ชั้น 5 ห้อง 501 เวลา 8.30-16.30
การรายงานตัวของนักศึกษาวิชาทหาร ชั้นปีที่ 2-5 (ช่วงเดือน พฤษภาคม-สิงหาคม)
คุณสมบัติ
1. นักศึกษาวิชาทหารของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่รายงานตัวซ้ำชั้น เลื่อนชั้นใช้เอกสารใบรายงานตัว (รด.2) [download ใบรายงานตัว (รด.2)]
2. นักศึกษาวิชาทหารที่รายงานตัวซ้ำชั้น เลื่อนชั้นโอนย้านสถานศึกษาใบรายงานตัว (รด.3)
[download ใบรายงานตัว (รด.3) ]
หลักฐานประกอบ
1. ใบรายงานตัวสีเขียว(รด.3 หรือ รด.2)
2. หนังสือรับรองการฝึก จำนวน 1 ฉบับ
3. หนังสือรับรองขอรอรับสิทธิ์ จำนวน 1 ฉบับ
การส่งเอกสาร
ยื่นเอกสารการรายงานตัวได้ที่งานวิชาทหาร อาคาร 10 ชั้น 5 ห้อง 501 เวลา 8.30-16.30
การขอรอรับสิทธินักศึกษาวิชาทหาร ชั้นปีที่ 2-5 (เดือนกรกฎาคม)
คุณสมบัติ
1. นักศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 2 – 5 ที่ไม่สามารถเรียนวิชาทหารและประสงค์ขอรอรับสิทธิเพื่อเรียนวิชาทหารในปีถัดไป ลงชื่อในบัญชีเพื่อขอรอรับสิทธิที่งานวิชาทหาร
หลักฐานประกอบ
1.ใบรับรองการฝึกนักศึกษาวิชาทหาร (ขอได้ที่ศูนย์ฝึก)
การส่งเอกสาร
ยื่นเอกสารการขอรอรับสิทธิ์ ได้ที่งานวิชาทหาร อาคาร 10 ชั้น 5 ห้อง 501 เวลา 8.30-16.30
ขอผ่อนผันการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหาร (ช่วงเดือนพฤษภาคม)
คุณสมบัติ
เป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยศรีปทุมที่สำเร็จการศึกษาวิชาทหารชั้นปีที่ 3หรือที่มีประสงค์จะศึกษาต่อในชั้นปีที่ 5 ที่ได้รับหมายเรียกพลเพื่อเข้าฝึก ต้องติดต่อแสดงความประสงค์ขอผ่อนผันเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหาร ได้ตั้งแต่วันที่ 1-31 พฤษภาคม ของทุกปี
หลักฐานการขอผ่อนผันการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหาร
1. สำเนาหนังสือตรวจสอบสภาพกองหนุน จำนวน 2 ฉบับ(ถ้ามี)
2. สำเนาสด.8 จำนวน 2 ฉบับ
3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 2 ฉบับ
4. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 2 ฉบับ
** ลงลายมือชื่อนักศึกษา รับรองสำเนาถูกต้องในเอกสารสำเนาทุกฉบับ
การส่งหลักฐาน
นำส่งงานวิชาทหาร อาคาร 10 ชั้น 5 ห้อง 501 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.30 น.
ข้อปฏิบัติหลังการยื่นเรื่องขอผ่อนผันการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหาร
1. ติตตามการได้รับสิทธิ์การขอผ่อนผันการเรียกพลฯจากการอนุมัติ ของกระทรวงกลาโหมได้ที่งานวิชาทหาร หลังจากยื่นเอกสารขอผ่อนผันการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหารประมาณ 10 วัน เพื่อขอถ่ายสำเนา หนังสือตอบรับ และบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์ได้รับการผ่อนผันการเรียกเพื่อฝึกวิชาทหาร เก็บไว้เป็นหลักฐานจนกว่าจะสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย
2. หลังสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องแจ้งต่องานวิชาทหารเพื่อการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้พ้นฐานะการผ่อนผันเรียกพล แจ้งต่อกระทรวงกลาโหมต่อไป

งานวิชาทหาร กลุ่มงานกิจการนักศึกษา อาคาร 10 ชั้น 5 ห้อง 10-501 02-5791111 ต่อ 3177
จันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00 – 16.30 น.
บริการประกันอุบัติเหตุ
1. การประกันอุบัติเหตุของมหาวิทยาลัยศรีปทุม
1.1 นักศึกษาในระดับปริญญาตรีทั้งภาคปกติและภาคพิเศษ (เสาร์-อาทิตย์) รวมถึงนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาภาคปกติ และภาคพิเศษ จะได้รับความคุ้มครองโดยจะเริ่มมีผลทันทีที่ลงทะเบียนเรียนและชำระค่าประกันอุบัติเหตุ
1.2 ถ้าในกรณีพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา กรมธรรม์ประกันภัยนี้จะไม่คืนเบี้ยประกันภัยให้ โดยจะให้ความคุ้มครองจนสิ้นสุดระยะเวลาเอาประกันภัย
1.3 จำนวนเงินเอาประกันภัยคนละ 200,000.-บาท ค่ารักษาพยาบาลคนละ 20,000.- บาท ต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง
1.4 นักศึกษาจะได้รับบัตรประกันฯ เพื่อนำบัตรไปยื่นต่อสถานพยาบาลที่ทำข้อตกลงเมื่อเข้ารักษาโดยไม่ต้องสำรองจ่ายเงิน
1.5 กรณีไม่มีบัตรประกันฯไปยื่นต่อสถานพยาบาล ให้นักศึกษาสำรองจ่ายแล้วมายื่นเรื่องขอเบิกเงินคืนในภายหลัง
2. ขั้นตอนการขอรับเงินคืน กรณีสำรองจ่าย (งานประกันอุบัติเหตุ อาคาร 10 ชั้น 5 ห้อง 501)
2.1 นักศึกษาขอแบบฟอร์มใบเรียกร้องค่าทดแทนเนื่องจากอุบัติเหตุ รับได้ที่งานประกัน (หรือ download แบบฟอร์มใบเรียกร้องค่าทดแทนเนื่องจากอุบัติเหตุ ได้ที่นี่ คลิ๊ก)
2.2 นักศึกษา ยื่นเอกสารประกอบการเบิกที่ งานประกันอุบัติเหตุ
2.3 นักศึกษาลงชื่อไว้เป็นหลักฐานเมื่อมาส่งเอกสารประกอบการเบิก
2.4 รอรับเงินค่าสินไหมประกันอุบัติเหตุคืนเข้าบัญชีธนาคาร ประมาณ 20 วัน
3. เอกสารที่ใช้ประกอบการเบิกค่ารักษาพยาบาลอุบัติเหตุทั่วไป(กรณีสำรองจ่าย)
3.1 แบบฟอร์มใบเรียกร้องค่าทดแทนเนื่องจากอุบัติเหตุ
3.2 ใบรับรองแพทย์ตัวจริง
3.3 สำเนาบัตรประชาชน
3.4 สำเนาหน้าบัญชีธนาคารใดก็ได้
3.5 กรณีอุบัติเหตุจราจร (แบบบันทึกประจำวันตำรวจ ถ้าแจ้งความ)
3.6 กรณีถูกทำร้ายร่างกาย (ต้องมีบันทึกประจำวันตำรวจ)
4. สิทธิในการเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลของผู้เอาประกันภัย
4.1 ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นบุตรธิดาของข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือ หน่วยงานของ เอกชน (ยกเว้นมหาวิทยาลัยศรีปทุม) ซึ่งมีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลจากต้นสังกัดของตน เมื่อได้ใช้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล และได้รับเงินรักษาพยาบาลที่ได้จ่ายไปแล้วจากต้นสังกัดของตนจะไม่สามารถใช้สิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทได้อีกเว้นแต่เงินค่ารักษา พยาบาลที่ได้รับนั้นไม่คุ้มกับค่ารักษาพยาบาลที่ได้จ่ายไปจริงโดยบริษัทจะชดใช้ส่วนที่ผู้เอาประกันภัยไม่ได้รับแต่สูงสุดไม่เกินจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาลต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง
4.2 ในกรณีที่บุคคลภายนอกทำละเมิดและมีผลให้ผู้เอาประกันภัยได้รับบาดเจ็บ เมื่อผู้กระทำละเมิดได้ชดใช้ค่ารักษาพยาบาลให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้ว ผู้เอาประกันภัยหรือบุคคลผู้มีส่วนได้เสียจะไม่มีสิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจำนวนนี้จากบริษัท เว้นแต่เงินค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับนั้นไม่คุ้มกับค่ารักษาพยาบาล ที่ได้จ่ายไปจริง โดยบริษัทจะชดใช้ส่วนที่ผู้เอาประกันภัยยังไม่ได้รับ แต่สูงสุดไม่เกินจำนวนเงินค่ารักษาพยาบาล ต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งที่ได้ซื้อประกันภัยไว้
4.3 ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยจำเป็นต้องรับการรักษาพยาบาลต่อเนื่องจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้น ให้ถือว่าค่ารักษา พยาบาลที่ผู้เอาประกันภัยได้จ่ายไปแต่ละครั้งเป็นค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุครั้งเดียวกันและมีสิทธิในการเบิกค่ารักษาพยาบาลรวมกันทั้งสิ้นไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัยค่ารักษาพยาบาลต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งที่ได้ทำประกันภัยไว้นอกเหนือจากการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามผลประโยชน์พื้นฐานแล้ว ผู้รับประโยชน์มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนผู้เอาประกันภัยได้ด้วย
4.4 ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากต้นสังกัดหรือจากต้นสังกัดของบิดามารดา หรือจากบุคคลภายนอกผู้ทำละเมิดแล้ว แต่เงินค่ารักษาพยาบาลนั้นไม่คุ้มกับค่ารักษาพยาบาลที่ได้จ่ายไปจริง และผู้เอาประกันภัยต้องการจะเรียกให้บริษัทชดใช้ค่ารักษาพยาบาลส่วนที่ผู้เอาประกันไม่ได้รับ ซึ่งสูงสุดไม่เกินจำนวนค่ารักษาพยาบาลต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งที่ได้ซื้อประกันภัยไว้ ผู้เอาประกันภัยจะต้องแสดงหลักฐานรับรองการได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากต้นสังกัด หรือจากต้นสังกัดของบิดามารดา หรือจากผู้ทำละเมิดแทนใบเสร็จรับเงินตัวจริง ซึ่งได้ใช้เบิกจ่ายเงินไปแล้วก็ได้
5. การปฏิบัติในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเฉพาะกรณีสูญเสียอวัยวะและสายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง
5.1 ให้ผู้รับประโยชน์หรือทายาทของผู้เอาประกันภัยแจ้งให้บริษัทและมหาวิทยาลัยทราบโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถกระทำได้
5.2 ให้ผู้รับประโยชน์หรือทายาทของผู้เอาประกันภัย รวบรวมเอกสารต่อไปนี้
ก.) หลักฐานทางการแพทย์ เช่น ใบรับรองแพทย์ ฟิล์มเอกซเรย์ และผลการรักษา
ข.) กรณีสูญเสียอวัยวะให้ถ่ายรูปอวัยวะส่วนที่สูญเสีย และถ่ายรูปเต็มตัวของผู้เอาประกันภัยมาด้วย
ค.) สำเนาบัตรประชาชน และ สำเนาบัตรประจำตัวของผู้เอาประกันภัย
ง.) หนังสือ หรือ คำรับรองของมหาวิทยาลัย
จ.) สำเนาบันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจ (ถ้ามี)
6. การปฏิบัติในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน กรณีเสียชีวิต
6.1 ให้ผู้รับประโยชน์หรือทายาทของผู้เอาประกันภัยแจ้งให้บริษัทและมหาวิทยาลัยทราบโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถกระทำได้
6.2 ให้ผู้รับประโยชน์หรือทายาทของผู้เอาประกันภัยรวบรวมเอกสารต่อไปนี้
ก.) แบบฟอร์มใบเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
ข.) สำเนาใบชันสูตรพลิกศพทั้งด้านหน้าและหลัง (รับรองสำเนาถูกต้องโดยหน่วยงานที่ออกให้)
ค.) สำเนาใบรายงานการผ่าศพ (รับรองสำเนาถูกต้องโดยหน่วยงานที่ออกให้) กรณีมีการผ่าศพพิสูจน์
ง.) สำเนาใบรับรองการเสียชีวิตหรือหนังสือรับรองการตาย (รับรองสำเนาถูกต้องโดยหน่วยงานที่ออกให้) ถ้ามี
จ.) สำเนาใบแจ้งความ และ/หรือ สำเนาบันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจ(รับรองสำเนาถูกต้องโดยหน่วยงานที่ออกให้)
ฉ.) สำเนาใบมรณะบัตรของผู้เอาประกันภัย (รับรองสำเนาถูกต้องโดยหน่วยงานที่ออกให้)
ช.) สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประชาชนของผู้เอาประกันภัย และผู้รับประโยชน์ (รับรองสำเนาถูกต้องโดยผู้รับประโยชน์)
ซ.) สำเนาใบทะเบียนสมรส (บิดา-มารดา, สามี-ภรรยา)
ฌ.) หนังสือรับรองสถานะโสดของผู้เอาประกันภัยและเอกสารพยาน (แบบฟอร์มตัวอย่างจาก มหาวิทยาลัย)
ญ.) หนังสือรับรองบิดา-มารดาหรือคู่สมรส ไม่ได้จดทะเบียนสมรส (แบบฟอร์มตัวอย่างจาก มหาวิทยาลัย)
ฎ.) หนังสือรับรองบุคคล (กรณีใบมรณบัตรไม่ระบุเลขที่บัตรประชาชนบิดาหรือมารดา และอื่น ๆ)
มหาวิทยาลัยจะรวบรวมเอกสารต่างๆ ส่งให้แก่ตัวแทนที่บริษัทส่งมาประสานงานกับมหาวิทยาลัย
ยื่นเอกสารและติดต่อสอบถาม ได้ที่ งานประกันอุบัติเหตุ กลุ่มงงานกิจการนักศึกษา อาคาร 10-501
โทรศัพท์ 0 2579 1111 ต่อ 3177 ทุกวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-16.30 น.

บริการงานพยาบาล
งานพยาบาลมหาวิทยาลัยศรีปทุม
งานพยาบาล ให้บริการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ดูแลเรื่องสุขภาพและอนามัยให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพนักศึกษาและบุคลากรเพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพที่แข็งแรงโดยแพทย์และพยาบาลจากโรงพยาบาลนวมินทร์ และให้ความรู้เกี่ยวกับการรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคระบาดต่างๆและจัดกิจกรรมการรณรงค์เชิญชวนนักศึกษาร่วมกันบริจาคโลหิตเพื่อช่วยเพื่อนมนุษย์ ร่วมกับสภากาชาดไทยปีละ 2 ครั้ง
หมายเหตุ บริการงานพยาบาลของมหาวิทยาลัยเป็นการรักษาอาการเจ็บปวยเบื้องต้นและไม่มียารักษาอาการเฉพาะโรค เช่นความดัน เบาหวาน หัวใจ หอบหืด กรณีต้องการรับยาแก้อักเสบพยาบาลเวรห้องจะไม่สามารถจ่ายยาให้ได้ เนื่องจากเป็นยาอันตรายต้องมีคำสั่งโดยแพทย์เท่านั้น และเมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินพยาบาลเวรจะพิจารณาส่งตัวเพื่อรักษาไปยังโรงพยาบาลที่ไกล้ที่สุดหรือโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยสะดวก
สถานที่และเวลาทำการ
อาคาร 4 ชั้น 1 (ข้างโรงอาหารเก่า )
เวลาเปิดทำการ ทุกวัน (จันทร์ – อาทิตย์) เวลา 09.00-19.00 น.
ปิดให้บริการในวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดของมหาวิทยาลัย
เวลาแพทย์ออกตรวจ
วันพุธ 13.00 -16.00 น.
หอพัก
- หอพัก โครงการหอพักสีขาว
- หอพัก โซนพหลโยธิน
- หอพัก โซนวัดพระศรี
- หอพัก โซนบางบัว
- หอพัก โซนสะพานใหม่
ทุนผู้มีความสามารถพิเศษด้านกิจกรรม
มหาวิทยาลัยศรีปทุม สนับสนุนให้นักศึกษาทำกิจกรรมควบคู่กับการเรียน เป็นผู้นำกิจกรรม อาทิเช่น ความสามารถในการโต้วาที เชียร์ลีดเดอร์ ฯลฯ โดยผู้ที่ได้รับทุนจะได้รับทุนการศึกษา ค่าหน่วยกิตและค่าบำรุงการศึกษา ตลอดหลักสูตรปริญญาตรี
1. ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือสำเร็จการศึกษาอื่นที่เทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการ รับรองวิทยฐาน
2. มีผลการเรียนสะสม 2.50 ขึ้นไป
3. มีผลงานด้านกิจกรรมที่ได้รับรางวัลด้านกิจกรรม อาทิเช่น ความสามารถในด้านการเป็นผู้นำนักเรียน การโต้วาที เชียร์ลีดเดอร์ ฯลฯ
4. เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย
5. ไม่ติดยาเสพติด ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
ผู้ได้รับทุนการศึกษาจะได้รับค่าหน่วยกิตและค่าบำรุงการศึกษาตลอดหลักสูตรปริญญาตรี
1. ผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาต้องให้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยด้วยดี ในการดำเนินการเพื่อส่งเสริมชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย
2. ผู้ที่ได้รับทุนจะต้องบำเพ็ญตนเพื่อช่วยงานให้กับหน่วยงานของมหาวิทยาลัย อย่างน้อยอาทิตย์ละ 3 ชั่วโมง
3. ผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาหมดสิทธิ์รับทุน เมื่อมีคะแนนเฉลี่ยสะสมเมื่อสิ้นปีการศึกษา ต่ำกว่า 2.50 ต้องไม่ปรากฏผลการเรียนในระดับ F หรือ W ตลอดปีการศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษา และไม่มีสิทธิ์ในการย้ายคณะหรือสาขาวิชา
4. ต้องเป็นผู้นำกิจกรรมปีละ 12 กิจกรรม (ภาคฤดูร้อน 2 กิจกรรม , ภาคเรียนที่ 1-2 ภาคละ 5 กิจกรรม)
มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตบางเขน จัดห้องละหมาดไว้สำหรับนักศึกษาที่นับถือศาสนาอิสลาม ห้องละหมาดของมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ ณ อาคาร 2 ชั้น 1