สกิลเด็ด AI ทำไมเด็กรุ่นใหม่ต้องรู้?
AI คือสกิลสำคัญที่ทุกคนต้องรู้! มาดูกันว่าทำไมเด็กรุ่นใหม่ถึงต้องมีทักษะนี้ และ SPU เตรียมพร้อมแค่ไหนสำหรับโลกอนาคต!
PROFILE :
อาจารย์เจ – ผศ.ดร. ณัฐกมล ถุงสุวรรณ
ตำแหน่ง : หัวหน้าสาขาวิชาการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟและเกม
คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Q : สายงานดิจิทัลมีเดียต้องทำงานร่วมกับ AI ไหม?
A : ตอนนี้ทุกอาชีพในสายงานดิจิทัลต้องเรียนรู้การใช้งาน AI อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งในสายการผลิตและการเป็นผู้ประกอบการล้วนต้องใช้ AI สิ่งสำคัญคือเราต้องใช้งานให้เป็น ใช้ได้อย่างถูกต้องและให้เกิดประสิทธิภาพ เพื่อให้ AI เป็นผู้ช่วยสำคัญที่เติมเต็มศักยภาพของเรา และสร้างโอกาสก้าวหน้าในอาชีพ
Q : คณะดิจิทัลมีเดีย เสริมทักษะ AI อะไรบ้าง?
A : เราสอนให้นักศึกษาใช้ AI เสริมการเรียนรู้ด้านเนื้อหา การสร้างสรรค์ภาพ และการเขียนโปรแกรม พร้อมทั้งสอนการตรวจสอบผลลัพธ์จาก AI เพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจาก AI ยังมีไม่สามารถทำงานได้ถูกต้อง 100%
Q : AI มีประโยชน์กับเด็กดิจิทัลมีเดียยังไง?
A : AI นั้นสามารถช่วยสร้างเนื้อหา หรือข้อมูลใหม่จากข้อมูลเดิม เช่น Generative AI ที่ใช้ Prompt เพื่อสร้างไอเดียใหม่และช่วยในการสร้าง Prototype นำไปสู่การสรุปต่อยอดจนเป็นผลงานจริง นำมาใช้ในการพัฒนาแนวคิดและสร้างสรรค์ใหม่ๆ ทำให้ทำงานได้เร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Q : แนะนำคลาสเรียนเจ๋งๆ ด้าน AI
A : วิชาการทดลองสร้างสรรค์อินเทอร์แอคทีฟและเกม เราสอนทักษะเบื้องต้นของ AI ผ่านการทดลองใช้โปรแกรมและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น Library หรือ Platform Online ง่ายๆ มาประยุกต์ใช้กับการสร้างสรรค์ผลงาน
Q : เครื่องมือ AI ที่เด็กยุคนี้ต้องรู้?
A : อาจารย์ขอแนะนำเครื่องมือ AI ดังนี้ค่ะ
- ChatGPT : ช่วยงานเอกสาร วางแผน สรุปเนื้อหา ตรวจสอบ Error ใน Code และเสนอ Solution
- Stable Diffuse : เครื่องมือฟรีสำหรับการสร้างภาพที่สามารถศึกษาและฝึกฝนได้ มีตัว Train ที่ปลอดภัยจากการละเมิดลิขสิทธิ์
Luma AI : โปรแกรมสร้างงาน 3D ช่วยสร้าง Asset และตกแต่งฉาก 3D ได้ดี
Q : ทำไม SPU เป็นมหาวิทยาลัยแห่งโลกอนาคต?
A : SPU เป็น Dynamic University ที่ปรับตัวได้ทันเทคโนโลยีใหม่ๆ และมุ่งมั่นพัฒนาการเรียนการสอนให้ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมในอนาคต จึงมองเห็นสิ่งเดียวกับที่เจ้าของธุรกิจเห็น ทำเป็นในสิ่งที่ใครก็ต้องการ ดังนั้นไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไปในทิศทางไหน การเรียนการสอนของ ม.ศรีปทุม ก็ก้าวไปพร้อมกันเสมอ
PROFILE :
อาจารย์พันธ์ – ธีระพันธ์ ชนาพรรณ
ตำแหน่ง : หัวหน้าสาขาวิชาภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Q : ทำไมเด็กนิเทศฯ SPU ต้องรู้ AI?
A : AI เป็นเหมือนเพื่อนคู่คิดที่ช่วยเสริมความสามารถให้เราในการทำงานมากยิ่งขึ้น โดยช่วยเปลี่ยนจินตนาการให้เป็นรูปธรรมที่เห็นภาพและเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น การใช้ AI ในการทำพรีเซนเทชันที่เราอาจไม่ถนัด แต่ด้วย AI เราสามารถสร้างสิ่งที่คิดไว้ให้เป็นจริง และทำให้การนำเสนอมีความชัดเจนมากขึ้น
Q : AI ที่เด็กนิเทศฯ เรียนมีอะไรเจ๋งๆ บ้าง?
A : ขอยกตัวอย่าง AI ที่เราสอนให้เด็กนิเทศฯ ทุกคนใช้งานเป็นคือ
- Canva: ใช้สำหรับการทำสตอรี่บอร์ด มูดบอร์ด และพรีเซนเทชันต่างๆ เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ช่วยในการสร้างงานดีไซน์
- Midjourney: ใช้ในการสร้างภาพและทำบอร์ดให้ตรงตามที่ต้องการ เช่น การสร้างภาพจากจินตนาการ
- Runway: ใช้ในการทำภาพเคลื่อนไหวจากภาพนิ่ง ทำให้ภาพนิ่งดูน่าสนใจมากขึ้น
นอกจากนี้ยังมี AI ต่างๆ ที่ควรรู้อย่าง Suno สำหรับการทำเสียงและเพลง และ ChatGPT สำหรับการหาข้อมูลและซัพพอร์ตข้อมูลต่างๆ
Q : เก่ง AI แล้วมันดียังไง?
A : นักศึกษาที่มีความรู้ด้าน AI จะมีโอกาสเลือกงานได้มากกว่าคนที่ไม่รู้ เพราะ AI ช่วยให้เราเข้าใจและสื่อสารได้ดีขึ้นในทุกสายงานของนิเทศฯ โดย AI สามารถช่วยในการทำสตอรี่บอร์ด การสร้างเสียง และการทำคลิปง่ายๆ สำหรับการสื่อสารหรือโฆษณา แม้ปัจจุบัน AI ยังไม่สามารถทำงานที่ซับซ้อนในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ได้ แต่อนาคต AI จะพัฒนาและช่วยในการทำงานได้มากขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้นคนที่รู้ก่อนก็ได้เปรียบก่อนครับ
Q : เด็ก SPU ใช้ AI ทำโปรเจกต์จริงไหม?
A : นักศึกษาของเราใช้ AI หลายตัวในการทำโปรเจกต์เช่น การใช้ Alisa ในการเขียนบทและหาข้อมูล, Midjourney ในการสร้างสตอรี่บอร์ดและมูดบอร์ด, Suno หรือ Neutron ในการสร้างเสียงและทำเพลง และ Runway ในการทำภาพเคลื่อนไหวและตัดต่อ นอกจากนี้ AI ยังช่วยในการสร้างและนำเสนอโปรเจกต์ รวมถึงการขายงานได้ด้วย
Q : ฝากถึงน้องๆ ที่อยากเรียนนิเทศฯ SPU?
A : สำหรับสาขาภาพยนตร์ เราเป็นศาสตร์ที่สร้างเรื่องราวจากจินตนาการ นักเรียนที่มีความคิดสร้างสรรค์และแพสชันในการผลิตงานจะมีโอกาสดีในการทำงานในวงการนี้ เพราะ AI เข้ามาช่วยเพิ่มคุณภาพของผลงาน ดังนั้นนักเรียนควรเรียนรู้เทคโนโลยีต่างๆ และพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ อย่าปิดกั้นตัวเองครับ
PROFILE :
ผศ.ดร.สำเริง ฮินท่าไม้
ตำแหน่ง : อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Q : AI ส่งผลต่ออาชีพวิศวกรอย่างไรในอนาคต?
A : ส่งผลในหลายๆ ข้อเลยครับ เช่น
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน : AI ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลรวดเร็วและแม่นยำ ทำให้วิศวกรสามารถตัดสินใจและแก้ไขปัญหาได้เร็วขึ้น
- เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ : วิศวกรที่มีความรู้ AI สามารถพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น ระบบอัตโนมัติ การวิเคราะห์ข้อมูล
- เป็นทักษะที่ต้องการ : วิศวกรต้องมีทักษะในการเขียนโปรแกรม การวิเคราะห์ข้อมูล และการทำงานกับระบบ AI
- ช่วยลดต้นทุนและเวลาในการพัฒนา : AI ช่วยลดต้นทุนและเวลาในการออกแบบ พัฒนา และทดสอบผลิตภัณฑ์
- เพิ่มโอกาสในการทำงาน : วิศวกรที่มีความรู้ AI จะมีโอกาสในการทำงานและเข้าร่วมโครงการเทคโนโลยีสูง
ดังนั้นวิศวกรรุ่นใหม่จึงต้องเรียนรู้การทำงานร่วมกับ AI การพัฒนาทักษะนี้จะช่วยให้วิศวกรสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถปรับตัว เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างดี
Q : เด็กวิศวะฯ ม.ศรีปทุม ใช้ AI บ้างไหม?
A : เด็กๆ ของเราได้ใช้ AI ในวิชาโครงงานครับ โดยเราให้นักศึกษาใช้ความรู้วิชาการออกแบบระบบไฟฟ้ากับการทำงานร่วมกับ AI ในการออกแบบระบบไฟฟ้าและประมาณราคาอาคาร ที่มีขั้นตอนซับซ้อน ซึ่ง AI นั้นช่วยลดเวลาและความผิดพลาดในการทำงานได้ อีกทั้งยังเพิ่มความแม่นยำในการคำนวณและการวางแผนด้วย
Q : สิ่งที่เด็กวิศวะฯ ต้องเป็นเมื่อเรียนรู้ทักษะด้าน AI ?
A : คณะวิศวะฯ SPU จัดการเสริมทักษะด้าน AI พร้อมเตรียมทักษะด้านอื่นๆ ที่จำเป็นดังนี้
- ต้องความเข้าใจในแนวคิดพื้นฐานของ AI
- ได้ทักษะการเขียนโปรแกรม และการใช้งานเครื่องมือ AI
- มีทักษะการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาร่วมกับ AI
- ทำงานเป็นทีมเป็น : เพราะโครงการด้าน AI จำเป็นต้องร่วมมือกับ ระหว่างผู้เชี่ยวชาญในหลายสาขา
- ต้องเรียนรู้และปรับตัวอย่างต่อเนื่อง
- มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ AI ในสาขาต่างๆ
- ต้องมีความรับผิดชอบและจริยธรรมในการใช้งาน AI
Q : AI ใช้ต่อยอดอาชีพวิศวกรอย่างไร?
A : นักศึกษาที่มีทักษะ AI จะมีข้อได้เปรียบในการทำงานวิชาชีพทางด้านวิศวกรรมอย่างมาก ทั้งในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ การบริหารจัดการโครงการ และการมีโอกาสในการทำงานในหลายอุตสาหกรรม ซึ่งจะช่วยให้สามารถปรับตัวและเติบโตในสายอาชีพได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างทักษะเหล่านี้ เช่น
- ใช้วิเคราะห์ข้อมูลและการตัดสินใจ
- ใช้พัฒนาระบบอัตโนมัติ
- ใช้ออกแบบและพัฒนา
- ใช้บริหารจัดการโครงการ
- ใช้ในการวิจัยและพัฒนา
- ใช้เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
- ใช้ในการประยุกต์ใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม
Q : คำแนะนำถึงน้องๆ ที่อยากเรียนต่อวิศวะ?
A : การเตรียมตัวที่ดีจะช่วยให้คุณมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง พร้อมสำหรับการเรียนต่อในสาขาวิศวกรรมศาสตร์และ AI ในอนาคต อาจารย์แนะนำให้คุณเตรียมตัวดังนี้ครับ
- พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
- เรียนรู้การเขียนโปรแกรม
- ศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับ AI
- เข้าร่วมกิจกรรมและโครงการที่เกี่ยวข้อง
- หาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งอื่นๆ
- พัฒนาทักษะการคิดเชิงตรรกะและการแก้ปัญหา
- เตรียมตัวสำหรับการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
- สร้างเครือข่ายและหาที่ปรึกษา
แต่หากใครที่ไม่มีเวลาเตรียมตัว ทางคณะวิศกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม ได้เตรียมพร้อมทักษะทั้งหมดที่กล่าวไปไว้แล้ว อยากเป็นวิศวกรคุณภาพที่ใช้ AI เป็น มาเริ่มต้นที่เราได้เลยครับ