Album
หน้าแรก/The Professional

คำว่า“สีแดง” กลับเขียนด้วย “สีเขียว” คำว่า“สีเหลือง”เขียนด้วย “สีดำ” “สีขาว”เขียนด้วย “สีเหลือง” ฯลฯ เมื่อให้ทุกคนอ่าน “ตัวอักษร” ทุกคนอ่านได้ถูกต้อง แต่พอเปลี่ยนให้อ่านตาม “สี” ที่เขียน เชื่อไหมครับว่าทุกคนอ่านแบบตะกุกตะกัก ถูกบ้าง-ผิดบ้าง ที่“ผิด” คืออ่านไม่ตรงกับ “สี”แต่กลับอ่านตาม “ตัวอักษร” คำว่า“สีแดง” ที่เขียนด้วย “สีเขียว” ก็อ่านว่า“สีแดง”
นายแพทย์วันชัย วัฒนศัพท์ ผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันพระปกเกล้า ที่นำเกมนี้มาเล่นสรุปว่าที่เราอ่าน “ตัวอักษร” ถูก แต่อ่าน “สี” ผิด ก็เพราะเราใช้สมองด้าน “ซ้าย” มากกว่าด้าน “ขวา” สมองซีกขวาจะใช้กับเรี่อง“ความรู้สึก” ควบคุมอารมณ์ ใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ มนุษย์ทั่วไปใช้“สมองซีกซ้าย” มากกว่า“สมองซีกขวา” ใช้“เหตุผล” มากกว่า “ความรู้สึก” “หมอวันชัย” คือผู้เชี่ยวชาญเรื่องการสานเสวนา ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่ง ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี เขาบอกว่าปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เพราะเราใช้สมองซีกซ้ายมากกว่าซีกขวา ซึ่งบางที“เหตุผล” ก็แก้ปัญหาไม่ได้ การสานเสวนา คือ กระบวนการที่ให้ “คู่ขัดแย้ง” มานั่งคุยกัน เล่าให้อีกฝ่ายหนึ่งฟังถึงความคับข้องใจของเขา เมื่อเราฟังกันแบบเห็นหน้าเห็นตารับรู้ความรู้สึกแบบ “มนุษย์” ต่อ “มนุษย์” “สมองซีกขวา”จะเริ่มทำงาน จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ไม่เป็นไร แต่จะ“เข้าใจ” อีกฝ่ายหนึ่งมากขึ้นอย่างแน่นอน เชื่อไหมครับ “ความเข้าใจ”เป็นเรื่องสำคัญมากของการแก้ปัญหา ถ้าเราเข้าใจอีกฝ่ายหนึ่งว่าทำแบบนี้เพราะอะไร เราก็จะโกรธเขาน้อยลง เหมือนเราเห็นเด็กบางคนแสดงอาการก้าวร้าว ถ้าไม่เคยรู้จักพื้นฐานของเด็กคนนั้นมาก่อน เราก็อาจไม่พอใจ แต่ถ้ารู้ว่าเด็กคนนี้มาจากครอบครัวที่แตกแยก และเคยถูกทำร้ายมาก่อน เราจะเข้าใจและเห็นใจ แทนที่จะโกรธเรากลับสงสารเด็กคนนั้น และแทนที่จะ“ตี” บางทีเราจะเปลี่ยนเป็นการโอบกอดเด็กคนนี้แทน อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ คือ เรื่องการตั้ง“คำถาม” ในการแก้ปัญหา คนเรามี “จุด”2จุดที่น่าสนใจ “จุดยืน”(Position) กับ “จุดสนใจ”(Interest) “หมอวันชัย” ยกตัวอย่างเรื่องการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ถ้าเราตั้งคำถามว่าควรจะสร้างเขื่อนหรือไม