เปิด 6 กลุ่มวิชาเฉพาะด้านน่าเรียน ว.การบิน SPU เรียนให้เลือกได้ ครอบคลุมทุกตำแหน่งงานด้านการบิน!
วิทยาลัยการบินและคมนาคม ของ ม.ศรีปทุม มีกลุ่มวิชาเฉพาะด้านอะไรน่าเรียนบ้างนะ? คอลัมน์ Homeroom จะพาน้องๆ ทุกคนมารู้จัก ว.การบิน แบบเจาะลึก ว่าเรียนเกี่ยวกับอะไร จบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง ทำให้รู้ว่ากลุ่มวิชาเฉพาะด้านไหนเหมาะกับน้องๆ กันแน่ และต้องเรียนอะไรถึงจะตรงใจฝัน เพราะงานด้านอุตสาหกรรมการบินจริงๆ แล้วมีหลายตำแหน่งให้เลือก ถ้าไม่อยากพลาดต้องเริ่มอ่านกันเลย
วิทยาลัยการบินและคมนาคม
เรียนเกี่ยวกับอะไร : เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่มีหลักสูตรเรื่องการจัดการความปลอดภัยการบิน พร้อมอีก 6 กลุ่มวิชาเฉพาะด้านของหลักสูตร ที่คิดมาแล้วว่าตรงทุกความต้องการในทุกตำแหน่งงานด้านอุตสาหกรรมการบิน และสามารถเลือกเรียนต่อยอดเป็นนักบินได้อีกด้วย
มีหลักสูตรอะไรบ้าง?
เราขอแนะนำหลักสูตรที่ตรงใจเด็กยุคใหม่ + ตรงตำแหน่งงานด้านการบิน
1. การจัดการความปลอดภัยการคมนาคม (Transportation Safety Management)
เรียนเกี่ยวกับอะไร : หลักสูตรการจัดการความปลอดภัยการบินที่ช่วยให้ทุกเที่ยวบินปลอดภัยไร้กังวล พร้อมเหินฟ้าได้อย่างมืออาชีพ เรียนต่อยอดนักบิน Safe flight แน่นอน! พร้อมมั่นใจทำงานที่ไหนก็ทำได้ เพราะเราสอนภาษาที่สามให้เน้นๆ
จบไปทำงานด้านไหน :
- งานด้านความปลอดภัยการบิน สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT)
- งานด้านความปลอดภัยการบินในท่าอากาศยาน สายการบิน ภาคพื้น ภาคอากาศ
- งานด้านความปลอดภัยกับบริษัทหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบิน เช่น บริษัทวิทยุการบิน โรงเรียนการบิน กรมอุตุนิยมวิทยา บริษัทเชื้อเพลิงสำหรับอากาศยาน และอื่นๆ อีกมายมาย
- งานด้านความปลอดภัยในอาคารหรือโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
- เจ้าหน้าที่กองกฎหมายมาตรฐานการรักษาความปลอดภัย
- ผู้สืบสวนสอบสวนอากาศยานอุบัติเหตุ
- งานด้านการบริหารระดับต้นของสายการบิน
- งานด้านการบริหารระดับต้นของท่าอากาศยาน
2. การจัดการสนามบินและสินค้าทางอากาศ (Airport and Air Cargo Management)
เรียนเกี่ยวกับอะไร : เรียนรู้ระบบการจัดการสนามบินหรือท่าอากาศยาน การบริการด้านปฏิบัติการบิน การบริการผู้โดยสารและสินค้า ให้มีความปลอดภัยกับผู้โดยสารและทรัพย์สินของผู้โดยสาร และได้เรียนรู้ด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศ ประเภทของสินค้าที่ขนส่งทางอากาศ สินค้าอันตรายในการขนส่ง ขั้นตอนการส่งสินค้าออกและการรับสินค้าเข้า การคำนวณค่าใช้จ่ายในการขนส่ง เครื่องบินที่ใช้ในการขนส่ง เพื่อให้มีความปลอดภัยในการขนส่งทางอากาศ
จบไปทำงานด้านไหน :
- พนักงานต้อนรับ ประจำท่าอากาศยาน
- เจ้าหน้าที่ท่าอากาศยาน
- ตัวแทน รับ-ส่งสินค้าทางอากาศ
- งานด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศ
- เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการลานจอด (Ramp Agent)
- เจ้าหน้าที่ควบคุมการขนถ่ายสัมภาระ (Foreman)
- เจ้าหน้าที่บริการลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้น (Ground Equipment Services)
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์สินค้าและไปรษณียภัณฑ์ (Cargo Services)
- พนักงานธุรการคลังสินค้า (Cargo Coordinator)
- พนักงานจัดระวางบรรทุกสินค้าและไปรษณีย์ (Warehouse Loader)
- ตัวแทนออกของ (Shipping)
3. นักบินพาณิชย์ (Commercial Pilot)
เรียนเกี่ยวกับอะไร : ฝันอยากเป็นนักบินพาณิชย์ตรี (Commercial Pilot License) หรือ นักบินส่วนบุคคล (Private Pilot License) ต้องหลักสูตรนี้เลย นอกจากจะได้ความรู้ด้านวิชาการต่างๆ แล้ว ยังเตรียมความพร้อมให้น้องๆ ทุกคนเตรียมสอบใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี (CPL) การตรวจร่างกายตามข้อกำหนดขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ International Civil Aviation Organization – ICAO เรียนเกี่ยวกับกฎหมายการบิน ความรู้เกี่ยวกับเครื่องบิน สมรรถนะการบิน การวางแผนและการบรรทุก มนุษย์ปัจจัย อุตุนิยมวิทยา ระบบการเดินอากาศ คู่มือการปฏิบัติการบิน หลักการบินเบื้องต้น การติดต่อวิทยุภาคอากาศ ซึ่งเป็นการเรียนบินจริงตามมาตรฐานของสำนักงานการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)
จบไปทำงานด้านไหน :
- นักบินพาณิชย์ตรี (Commercial Pilot License)
- นักบินส่วนบุคคล (Private Pilot License)
ความก้าวหน้าทางอาชีพ :
- Captain กัปตัน (นักบินที่1)
- Co-Pilot ผู้ช่วยนักบิน (นักบินที่2)
- Senior Co-Pilot ผู้ช่วยนักบินอาวุโส
4. นักบินอากาศยานไร้คนขับ (Remote Pilot Aircraft System)
เรียนเกี่ยวกับอะไร : “นักบินโดรน” อาชีพใหม่สุดคูล ที่ช่วยให้ได้ภาพมุมสูง โดยที่ประหยัดค่าใช้จ่าย น้องๆ จะได้เรียนรู้การบังคับโดรนที่ต้องอาศัยการเรียนรู้จากตัวจริง เพราะแม้ไม่ใช่เรื่องยากแต่ก็ไม่ง่าย อาจต้องเจอปัญหาเฉพาะหน้า อาทิ สภาพอากาศ หรือถูกจำกัดการบินชั่วคราว ถ้าเป็นงานเร่งรีบหรือต้องการภาพที่คมชัด ผู้บังคับจะต้องแก้ไขปัญหาเหล่านี้ให้ได้ทันท่วงที โดยการจะบังคับโดรนถ่ายภาพมุมสูงอย่างมืออาชีพนั้น ผู้บินโดรนจะต้องศึกษาเพื่อเลือกใช้ประเภทของโดรนที่เหมาะกับลักษณะงานและต้องมีใบอนุญาตบังคับอากาศยานไร้คนขับ แต่ก็ไม่ใช่สิ่งที่ยากจนเกินไปสำหรับน้องๆ แน่นอน
จบไปทำงานด้านไหน :
- ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง
- ทีมโปรดักชั่น
- ช่างภาพ
- นักข่าว
- การเกษตร
- ขนส่งทางอากาศ
- งานสำรวจ
5. พนักงานอำนวยการบิน (Flight Operations Officer-Dispatcher)
เรียนเกี่ยวกับอะไร : อาชีพนี้มีความรับผิดชอบไม่แตกต่างจากนักบิน คอยบรีฟรายละเอียดการบินให้กับนักบิน วางแผนเส้นทางบิน หรือ Flight Planning ให้กับเครื่องบินทั้งภายในและต่างประเทศ ซึ่งแต่ละเที่ยวบินจะต้องมีการวางแผนการบิน ดูข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา คำนวณน้ำหนัก คำนวณน้ำมัน จัดเตรียมเอกสาร โดยจะกำหนดเส้นทางการบินให้กับนักบิน ก่อนที่นักบินจะนำเครื่องขึ้น 2 ชั่วโมง พร้อมทั้งบรรยายสรุปให้กับนักบินฟังในแต่ละเที่ยวบิน เป็นการทำงานที่ควบคู่ไปกับนักบินเลย เพราะจริงๆ แล้วนักบินไม่สามารถขึ้นเครื่องแล้วขับออกไปได้ เขาต้องมีผู้ช่วยวางแผนการบิน ดังนั้นการวางแผนก่อนขึ้นบิน จึงยกให้ Flight Dispatcher ดูแล ช่วยจัดเตรียมข้อมูลแผนปฏิบัติการบิน และเอกสารประกอบการบินที่เกี่ยวข้องนั่นเอง
จบไปทำงานด้านไหน :
- ผู้ช่วยพนักงานอำนวยการบิน (Assistant Flight Dispatch) หรือ พนักงานอำนวยการบินฝึกหัด เป็นตำแหน่งเริ่มต้นก่อนที่จะก้าวไปสู่พนักงานอำนวยการบินที่ได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT)
- พนักงานอำนวยการบิน
6. การควบคุมจราจรทางอากาศ (Air Traffic Control)
เรียนเกี่ยวกับอะไร : เป็นผู้ควบคุมให้การสัญจรของอากาศยานราบรื่น ป้องกันอุบัติเหตุทางอากาศ รวมไปถึงระหว่างอากาศยาน กับสิ่งกีดขวางภาคพื้นด้วย คอยอำนวยความสะดวก วางแผน ประสานงานกับนักบิน และฝ่ายอื่นๆ เพื่อให้การจราจรทางอากาศปลอดภัยตั้งแต่นำเครื่องขึ้นบิน ระหว่างเส้นทางการบิน จนไปถึงที่หมายโดยสวัสดิภาพ ในหลักสูตรน้องๆ จะได้ศึกษาความรู้ภาคทฤษฎี (Theory) มีเข้าใจเบื้องต้นในภาคปฏิบัติ (Practical) เกี่ยวกับการควบคุมจราจรทางอากาศพื้นฐาน มุ่งเน้นการนำความรู้ทางทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์และแก้ปัญหาในการควบคุมการจราจรทางอากาศบนพื้นฐานกฎเกณฑ์ที่ถูกต้องเป็นมาตรฐานและตระหนักถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
จบไปทำงานด้านไหน :
- เจ้าหน้าที่ข้อมูลการบิน
- เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ
- เจ้าหน้าที่ Area Control Center
- Supervisor ของแต่ละผลัดการทำงาน
- ผู้จัดการการบิน และสามารถย้ายสายงานเพื่อเติบโตไปด้านงานบริหารต่อไป