คู่มือนักศึกษาปีการศึกษา 2561
มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้จัดทำแนวปฏิบัติที่นักศึกษาควรรู้นี้ เพื่อเป็นคู่มือนักศึกษาระดับปริญญาตรี ใช้เป็นแนวทางสำหรับนักศึกษาให้เข้าใจกับระบบการจัดการศึกษา รายละเอียด โครงสร้างหลักสูตร แผนการศึกษา ระบบการลงทะเบียน การวัดและประเมินผลการศึกษา ระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ที่นักศึกษาจะต้องเรียนรู้ และข้อปฏิบัติที่จำเป็นในการดำเนินการในเรื่องต่างๆ ตลอดระยะเวลาที่ศึกษาในหลักสูตร เพื่อประโยชน์แก่นักศึกษา โปรดยึดถือแนวปฏิบัตินี้ รวมทั้งติดตามข้อมูล ข่าวสารที่มหาวิทยาลัย ที่เผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ เป็นประจำ หรือติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หากมีข้อสงสัย ในระหว่างการศึกษา ทั้งนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่านักศึกษาจะได้รับประโยชน์จากแนวปฏิบัตินี้ตลอดระยะเวลาการศึกษา โดยแบ่งเป็นรายละเอียด ดังนี้
การศึกษาของมหาวิทยาลัยในระดับปริญญาตรี เป็นการศึกษาระบบทวิภาค ประกอบด้วยภาคการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 และอาจมีการจัดการศึกษาภาคการศึกษาฤดูร้อน ซึ่งระยะเวลาในการเรียนสำหรับภาคการศึกษาฤดูร้อนจะมีสัดส่วนเทียบเคียงกันได้กับการศึกษาภาคปกติ ภาคการศึกษาฤดูร้อนเป็นภาคการศึกษาที่ไม่บังคับสำหรับนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีภาคปกติ ยกเว้นหลักสูตรที่กำหนดให้ต้องศึกษาภาคฤดูร้อนด้วย อนึ่ง นักศึกษาแรกเข้าของทุกหลักสูตร จะต้องเริ่มเรียนตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 เป็นภาคการศึกษาแรก ทั้งนี้เป็นการเตรียมความพร้อมและเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับระบบการเรียนการสอน ในมหาวิทยาลัย
ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าเป็นนักศึกษาต้องขึ้นทะเบียนนักศึกษาด้วยตนเอง ตามวัน เวลา และสถานที่ที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยจะมีสถานภาพเป็นนักศึกษาเมื่อได้ขึ้นทะเบียนนักศึกษา และทำการลงทะเบียนเรียนพร้อมชำระเงินค่าหน่วยกิต ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียมแล้ว กรณีที่ไม่อาจขึ้นทะเบียนนักศึกษา ตามวันเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด จะต้องแจ้งเหตุขัดข้องเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อสำนักงานทะเบียนก่อนวันขึ้นทะเบียน และจะต้องทำการขึ้นทะเบียนนักศึกษาภายในระยะเวลาที่กำหนดภายหลัง มิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์ในการเป็นนักศึกษา
มหาวิทยาลัยจะจัดให้มีการลงทะเบียนเรียนวิชาต่างๆ ในแต่ละภาคการศึกษาให้เสร็จสิ้นก่อนวันเปิดภาคการศึกษานั้นๆ ในกรณีมีเหตุอันสมควร มหาวิทยาลัยอาจประกาศปิดรายวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือกลุ่มเรียนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งของรายวิชา หรืออาจจำกัดจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือกลุ่มเรียนใดกลุ่มเรียนหนึ่งได้ ทั้งนี้การประกาศปิดรายวิชาหรือกลุ่มเรียนใดที่มีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนไปแล้ว นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียน ในรายวิชาอื่นหรือกลุ่มเรียนอื่นทดแทน หรือขอถอนรายวิชาเพื่อโอนเงินค่าหน่วยกิตไปภาคการศึกษาถัดไป อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยได้มีข้อกำหนดเกี่ยวกับลงทะเบียน ซึ่งนักศึกษาควรทราบเพิ่มเติมดังนี้
- นักศึกษาที่เข้าศึกษาเป็นภาคการศึกษาแรกจะต้องลงทะเบียนเรียนตามรายวิชา และจำนวนหน่วยกิตที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยไม่มีการเพิ่มหรือถอนรายวิชาใด
- การลงทะเบียนเรียนจะต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาและหากรายวิชาใดที่หลักสูตรกำหนดให้ต้องศึกษาหรือสอบผ่านรายวิชาบังคับก่อน นักศึกษาต้องศึกษาตามเงื่อนไขให้เรียบร้อยแล้ว จึงจะมีสิทธิ์ลงทะเบียนเรียนวิชานั้นได้
- นักศึกษาที่ไม่ได้ลงทะเบียนเรียนภายใน 14 วัน นับจากวันเปิดภาคการศึกษาปกติ หรือภายใน 7 วันนับจากวันเปิดภาคการศึกษาฤดูร้อน จะหมดสิทธิ์สำหรับการลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษานั้น และจะต้องยื่นคำร้องขอลาพักการศึกษา เพื่อรักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย
- นักศึกษาที่ไม่สามารถลงทะเบียนในภาคการศึกษาใด จะต้องยื่นคำร้องขอลาพักการศึกษาภายใน 8 สัปดาห์ นับจากวันเปิดภาคการศึกษาปกติ หรือภายใน 4 สัปดาห์ นับจากวันเปิดภาคการศึกษาฤดูร้อน
จำนวนหน่วยกิตที่นักศึกษาจะลงทะเบียนเรียน ให้กระทำตามเกณฑ์ต่อไปนี้
- นักศึกษาสภาพปกติ (เกรดเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 1.75) ให้ลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคการศึกษา
นักศึกษาหลักสูตรภาคปกติ ต้องลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาปกติไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต แต่ไม่เกิน 22 หน่วยกิต และในภาคการศึกษาฤดูร้อนไม่เกิน 9 หน่วยกิต
นักศึกษาหลักสูตรภาคพิเศษ ต้องลงทะเบียนเรียนตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ในแต่ละภาคการศึกษา
- นักศึกษาสภาพรอพินิจ (เกรดเฉลี่ยสะสม ต่ำกว่า 1.75) ให้ลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคการศึกษา
นักศึกษาภาคปกติ ลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคการศึกษาปกติไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต แต่ไม่เกิน 15 หน่วยกิต และในภาคการศึกษาฤดูร้อนจะลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 6 หน่วยกิต .
นักศึกษาภาคค่ำ ลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคการศึกษาปกติไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต แต่ไม่เกิน 12 หน่วยกิต และในภาคการศึกษาฤดูร้อนจะลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 6 หน่วยกิต
- นักศึกษาจะไม่ได้รับอนุญาตให้ลงทะเบียนเรียนรายวิชาที่มีเวลาเรียน หรือเวลาสอนตรงกันได้ อย่างไรก็ตามหากนักศึกษาไปลงทะเบียนเรียนเอง มหาวิทยาลัยจะนับผลการสอบเพียงรายวิชาเดียว และอีกรายวิชาที่ตารางสอนตรงกันนั้นจะบันทึก “W” และไม่มีสิทธิ์ขอคืนหรือโอนค่าหน่วยกิต
- นักศึกษาอาจลงทะเบียนเรียนสูงกว่าหน่วยกิตที่มหาวิทยาลัยกำหนดได้ ไม่เกิน 3 หน่วยกิต เฉพาะกรณีที่เป็นการลงทะเบียนเรียนเป็นภาคการศึกษาสุดท้ายที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษาเท่านั้น โดยได้รับอนุมัติจากคณบดีคณะที่นักศึกษาสังกัด
- นักศึกษาทุกหลักสูตรอาจลงทะเบียนเรียนต่ำกว่าหน่วยกิตที่กำหนดไว้ได้โดยได้รับอนุมัติจากคณบดีคณะที่นักศึกษาสังกัด
การขอเพิ่มวิชาและการขอเพิกถอนรายวิชา ให้กระทำตามเกณฑ์ต่อไปนี้
- การขอเพิ่มรายวิชา จะกระทำได้ภายใน 2 สัปดาห์แรกนับจากวันเปิดภาคการศึกษาปกติ หรือภายในสัปดาห์แรกนับจากวันเปิดภาคการศึกษาฤดูร้อน โดยการเพิ่มรายวิชานั้นจะต้องไม่เกินจำนวนหน่วยกิต ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- การขอถอนรายวิชา จะกระทำได้ภายใน 2 สัปดาห์แรกนับจากวันเปิดภาคการศึกษาปกติหรือภายในสัปดาห์แรกนับจากวันเปิดภาคการศึกษาฤดูร้อน โดยไม่บันทึกรายวิชาที่ขอถอนในใบรายงานผลการ ศึกษา และนักศึกษาจะได้รับโอนเงินค่าหน่วยกิตของรายวิชาที่ถอนไปใช้ในรายวิชาที่ขอเพิ่มหรือใช้ในภาคการศึกษาถัดไปที่ลงทะเบียนเรียนโดยจะได้เต็มจำนวน
- การขอถอนรายวิชาภายหลัง 2 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 12 สัปดาห์ นับจากวันเปิดภาคการศึกษาปกติหรือภายใน 1 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 6 สัปดาห์ นับจากวันเปิดการศึกษาภาคฤดูร้อน รายวิชาที่ถอนจะบันทึกสัญลักษณ์ W และนักศึกษาไม่มีสิทธิ์ขอคืนหรือโอนค่าหน่วยกิต
- การขอถอนรายวิชาหลังจากได้กำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้น รายวิชาที่ถอนจะบันทึกสัญลักษณ์ F และนักศึกษาไม่มีสิทธิ์ขอคืนหรือโอนค่าหน่วยกิต
- การขอเพิ่มรายวิชาและหรือการขอถอนรายวิชา จะต้องมีจำนวนหน่วยกิตรวมต่อภาคการ ศึกษาตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
การวัดและการประเมินผลการศึกษา
เมื่อสิ้นภาคการศึกษา มหาวิทยาลัยจะมีการวัดและประเมินผลการศึกษาของรายวิชา โดยดำเนินการตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
การวัดผลการศึกษา
- การวัดผลการศึกษาเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของอาจารย์ผู้สอนหรือผู้ที่คณะเจ้าของรายวิชากำหนด ซึ่งอาจจะกระทำ โดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม การสอบหรือวิธีอื่น ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- หากเวลาเรียนของนักศึกษาไม่ถึงร้อยละ 80 ในรายวิชาใด อาจถูกตัดสิทธิ์สอบพร้อมกับการบันทึก “W” ในรายงานผลการศึกษา
- นักศึกษาทุกคนต้องเข้าสอบทุกครั้งที่มีการสอบทุกประเภทของแต่ละรายวิชา ได้แก่ การสอบย่อย การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค หากไม่เข้าสอบให้ถือว่านักศึกษาได้คะแนนศูนย์ในการสอบครั้งนั้น
- กรณีที่นักศึกษาขาดสอบกลางภาคหรือปลายภาค เนื่องจากเจ็บป่วยหรือมีเหตุสุดวิสัย ให้นักศึกษายื่นคำร้อง ขอสอบกรณีเหตุสุดวิสัย ภายใน 10 วันทำการ นับจากวันที่ขาดสอบนั้น เพื่อขออนุมัติถอนรายวิชาที่ขาดสอบ โดยได้สัญลักษณ์ W
- กรณีนักศึกษาประสงค์จะสอบชดเชย มหาวิทยาลัยจะพิจารณาเฉพาะกรณีที่เป็นเหตุสุดวิสัยเท่านั้น โดยให้นักศึกษาหรือผู้ปกครองยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานประกอบการพิจารณา ภายใน 10 วันทำการ นับจากวันที่ขาดสอบนั้น และให้นักศึกษาชำระค่าธรรมเนียมการสอบชดเชย ภายใน 3 วันทำการ หลังจากการได้รับอนุมัติ โดยดำเนินการสอบให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด
- มหาวิทยาลัยอาจพิจารณาจัดให้มีการสอบแก้ตัวได้ สำหรับนักศึกษาที่สอบไม่ผ่านในรายวิชาต่างๆ โดยผลการศึกษาในรายวิชาที่สอบแก้ตัวจะมีระดับคะแนนไม่เกิน 2.00 หรือสัญลักษณ์ C
การประเมินผลการศึกษา
- ผลการศึกษาของแต่ละรายวิชา ให้มีการประเมินเป็นสัญลักษณ์ที่มีค่าระดับคะแนน จำนวน 8 ระดับ ดังนี้
สัญลักษณ์ | ค่าระดับคะแนน | ความหมาย |
---|---|---|
A | 4.0 | ดีเยี่ยม (Excellent) |
B+ | 3.5 | ดีมาก (Very Good) |
B | 3.0 | ดี (Good) |
C+ | 2.5 | ค่อนข้างดี (Fairly Good) |
C | 2.0 | พอใช้ (Fair) |
D+ | 1.5 | เกือบพอใช้ (Almost Fair) |
D | 1.0 | อ่อน (Poor) |
F | 0 | ตก (Failure) |
- การนับหน่วยกิตสะสม (Credit Earned) เพื่อให้ครบหลักสูตร คือ การนับหน่วยกิตของรายวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนและสอบผ่านเท่านั้น ในกรณีที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนรายวิชาใดมากกว่าหนึ่งครั้ง ให้นับหน่วยกิตที่สอบผ่านเป็นหน่วยกิตสะสมเพียงครั้งเดียว
- การคำนวณคะแนนเฉลี่ยประจำภาค (Grade Point Average – GPA) ให้คำนวณจากผลการศึกษาของทุกรายวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษานั้นๆ โดยเอาผลรวมของผลคูณของหน่วยกิตกับค่าระดับคะแนนของทุกรายวิชาหารด้วยผลรวมของหน่วยกิตของทุกรายวิชาที่มีสัญลักษณ์ค่าระดับคะแนนศึกษาในภาคการศึกษานั้นๆ
- การคำนวณคะแนนเฉลี่ยสะสม (Cumulative Grade Point Average, CGPA) ให้คำนวณจากผลการศึกษา ตั้งแต่เริ่มเข้าศึกษาจนถึงภาคสุดท้าย โดยเอาผลรวมของผลคูณของหน่วยกิตกับค่าระดับคะแนนของทุกวิชาหารด้วยผลรวมของหน่วยกิตทุกรายวิชาที่สอบผ่าน โดยนำผลการศึกษาครั้งที่ได้ค่าระดับคะแนนสูงสุดของรายวิชานั้นมาใช้ในการคำนวณคะแนนเฉลี่ยสะสมและแสดงผลการศึกษา ทั้งนี้ ไม่นำวิชาที่ได้สัญลักษณ์ S มาคำนวณ นักศึกษาที่ลงทะเบียนรายวิชาใดมากกว่าหนึ่งครั้ง ให้นับหน่วยกิตเพียงครั้งเดียว
- ในกรณีที่ไม่สามารถประเมินผลเป็นสัญลักษณ์ที่มีค่าระดับคะแนนดังกล่าวข้างต้น ให้ใช้สัญลักษณ์ที่ไม่มีค่าระดับ ดังนี้
Firstname | Lastname |
---|---|
I |
ยังไม่สมบูรณ์ (Incomplete) |
S | พอใจ (Satisfactory) |
U | ไม่พอใจ (Unsatisfactory) |
W | การเพิกถอนรายวิชา (Withdrawal) |
AU | การร่วมเรียน (Audit) |
- สัญลักษณ์ “I” (Incomplete) หมายถึง การวัดผลยังไม่สมบูรณ์และจะกระทำได้ ดังต่อไปนี้
- 6.1 การให้ “I” จะกระทำได้ในกรณีที่การวัดผลไม่สมบูรณ์ ซึ่งไม่ได้เกิดจากความบกพร่องทางวิชาการของนักศึกษา และอาจารย์ผู้สอน เห็นสมควรให้รอผลการศึกษา โดยความเห็นชอบของหัวหน้าสาขาวิชา หรือโดยความเห็นชอบของคณบดีในกรณีที่คณะไม่มีสาขาวิชา
6.2 นักศึกษาที่ได้รับสัญลักษณ์ “I” ในรายวิชาใดจะต้องทำการศึกษาให้สมบูรณ์ภายใน 2 สัปดาห์นับจากวันประกาศเกรด มิฉะนั้น สัญลักษณ์ “I” จะเปลี่ยนเป็น “F” หรือ “U” แล้วแต่กรณีโดยอัตโนมัติ และให้บันทึกผลการศึกษาในภาคการศึกษาที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนวิชานั้น. - สัญลักษณ์ “S” (Satisfactory) หมายถึง การเรียนเป็นที่น่าพอใจ นักศึกษาสอบผ่านวิชานั้น
- สัญลักษณ์ “U” (Unsatisfactory) หมายถึง การเรียนไม่เป็นที่น่าพอใจ นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนซ้ำเพื่อเปลี่ยน “U” เป็น “S”
- สัญลักษณ์ “W” (Withdrawal) หมายถึงการขอเพิกถอนรายวิชา โดยได้รับอนุมัติหรือถูกมหาวิทยาลัยเพิกถอนรายวิชา และไม่นับหน่วยกิตโดยการให้ “W”
- 9.1 นักศึกษาขอถอนรายวิชานั้น ตามเงื่อนไข ที่ระบุไว้ในเรื่องของการขอเพิกถอนรายวิชา
9.2 นักศึกษาขอถอนรายวิชานั้น เนื่องจากขาดสอบ และได้รับอนุมัติให้เพิกถอนภายในเวลาที่กำหนด
9.3 นักศึกษาได้รับอนุมัติให้ลาพักการศึกษา หลังจากที่ได้ลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาที่ลาพัก - สัญลักษณ์ “AU” (Audit) หมายถึง เป็นการเรียนร่วมโดยไม่นับหน่วยกิต แต่อาจให้มีการวัดผลและประเมินผลการเรียนเพื่อขอรับสัมฤทธิบัตร
- นักศึกษาที่มีผลการเรียนในระดับ “D” ขึ้นไป หรือได้ “S” ตามแต่กรณี ถือว่า สอบได้ในรายวิชานั้น ยกเว้นรายวิชาที่กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในหลักสูตร
- การให้ F จะกระทำได้ดังต่อไปนี้
- นักศึกษาเข้าสอบแต่สอบตก
- นักศึกษาขาดสอบโดยมิได้ดำเนินการยื่นคำร้องขอถอนก่อน
- นักศึกษาทำผิดระเบียบการสอบและได้รับการตัดสินให้สอบตก
การลงทะเบียนเรียนซ้ำและปรับคะแนนเฉลี่ยสะสม
การลงทะเบียนเรียนซ้ำ สามารถกระทำได้ ดังนี้
- นักศึกษาที่สอบได้สัญลักษณ์ “F” หรือ “U” ในรายวิชาบังคับจะต้องลงทะเบียนเรียนซ้ำจนกว่าจะสอบได้
- นักศึกษาที่สอบได้สัญลักษณ์ “F” หรือ “U” ในรายวิชาเอกเลือก (Major Elective) หรือรายวิชาโทเลือก (Minor Elective) หรืรายวิชาเลือกเสรี (Free Elective) จะลงทะเบียนเรียนวิชานั้นซ้ำอีก หรือเลือกวิชาอื่นแทนได้ โดยขออนุมัติลงทะเบียนและเปลี่ยนวิชาเรียนจากคณบดีคณะที่นักศึกษาสังกัด
การลงทะเบียนเรียนเพื่อปรับคะแนนเฉลี่ยสะสม สามารถกระทำได้ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้
- นักศึกษาลงทะเบียนเรียนวิชาอื่นนอกเหนือจากที่หลักสูตรกำหนดและเป็นรายวิชาที่เปิดสอนในระดับเดียวกับหลักสูตรที่นักศึกษากำลังศึกษาอยู่
- นักศึกษาลงทะเบียนในรายวิชาที่ได้สัญลักษณ์ D หรือ D+ ใหม่ เพื่อปรับคะแนนเฉลี่ยสะสม
ในแต่ละภาคการศึกษาให้เสร็จสิ้นก่อนวันเปิดภาคการศึกษานั้นๆ ในกรณีมีเหตุอันสมควร มหาวิทยาลัยอาจประกาศปิดรายวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือกลุ่มเรียนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งของรายวิชา หรืออาจจำกัดจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในวิชาใดวิชาหนึ่ง หรือกลุ่มเรียนใดกลุ่มเรียนหนึ่งได้ ทั้งนี้การประกาศปิดรายวิชาหรือกลุ่มเรียนใดที่มีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนไปแล้ว นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียน ในรายวิชาอื่นหรือกลุ่มเรียนอื่นทดแทน หรือขอถอนรายวิชาเพื่อโอนเงินค่าหน่วยกิตไปภาคการศึกษาถัดไป อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยได้มีข้อกำหนดเกี่ยวกับลงทะเบียน ซึ่งนักศึกษาควรทราบเพิ่มเติมดังนี้
- นักศึกษาที่เข้าศึกษาเป็นภาคการศึกษาแรกจะต้องลงทะเบียนเรียนตามรายวิชา และจำนวนหน่วยกิตที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยไม่มีการเพิ่มหรือถอนรายวิชาใด
- การลงทะเบียนเรียนจะต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาและหากรายวิชาใดที่หลักสูตรกำหนดให้ต้องศึกษาหรือสอบผ่านรายวิชาบังคับก่อน นักศึกษาต้องศึกษาตามเงื่อนไขให้เรียบร้อยแล้ว จึงจะมีสิทธิ์ลงทะเบียนเรียนวิชานั้นได้
- นักศึกษาที่ไม่ได้ลงทะเบียนเรียนภายใน 14 วัน นับจากวันเปิดภาคการศึกษาปกติ หรือภายใน 7 วันนับจากวันเปิดภาคการศึกษาฤดูร้อน จะหมดสิทธิ์สำหรับการลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษานั้น และจะต้องยื่นคำร้องขอลาพักการศึกษา เพื่อรักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย
- นักศึกษาที่ไม่สามารถลงทะเบียนในภาคการศึกษาใด จะต้องยื่นคำร้องขอลาพักการศึกษาภายใน 8 สัปดาห์ นับจากวันเปิดภาคการศึกษาปกติ หรือภายใน 4 สัปดาห์ นับจากวันเปิดภาคการศึกษาฤดูร้อน
จำนวนหน่วยกิตที่นักศึกษาจะลงทะเบียนเรียน ให้กระทำตามเกณฑ์ต่อไปนี้
- นักศึกษาสภาพปกติ (เกรดเฉลี่ยสะสม ไม่ต่ำกว่า 1.75) ให้ลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคการศึกษา
นักศึกษาหลักสูตรภาคปกติ ต้องลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาปกติไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต แต่ไม่เกิน 22 หน่วยกิต และในภาคการศึกษาฤดูร้อนไม่เกิน 9 หน่วยกิต
นักศึกษาหลักสูตรภาคพิเศษ ต้องลงทะเบียนเรียนตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ในแต่ละภาคการศึกษา
- นักศึกษาสภาพรอพินิจ (เกรดเฉลี่ยสะสม ต่ำกว่า 1.75) ให้ลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคการศึกษา
นักศึกษาภาคปกติ ลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคการศึกษาปกติไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต แต่ไม่เกิน 15 หน่วยกิต และในภาคการศึกษาฤดูร้อนจะลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 6 หน่วยกิต .
นักศึกษาภาคค่ำ ลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคการศึกษาปกติไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต แต่ไม่เกิน 12 หน่วยกิต และในภาคการศึกษาฤดูร้อนจะลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน 6 หน่วยกิต
- นักศึกษาจะไม่ได้รับอนุญาตให้ลงทะเบียนเรียนรายวิชาที่มีเวลาเรียน หรือเวลาสอนตรงกันได้ อย่างไรก็ตามหากนักศึกษาไปลงทะเบียนเรียนเอง มหาวิทยาลัยจะนับผลการสอบเพียงรายวิชาเดียว และอีกรายวิชาที่ตารางสอนตรงกันนั้นจะบันทึก “W” และไม่มีสิทธิ์ขอคืนหรือโอนค่าหน่วยกิต
- นักศึกษาอาจลงทะเบียนเรียนสูงกว่าหน่วยกิตที่มหาวิทยาลัยกำหนดได้ ไม่เกิน 3 หน่วยกิต เฉพาะกรณีที่เป็นการลงทะเบียนเรียนเป็นภาคการศึกษาสุดท้ายที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษาเท่านั้น โดยได้รับอนุมัติจากคณบดีคณะที่นักศึกษาสังกัด
- นักศึกษาทุกหลักสูตรอาจลงทะเบียนเรียนต่ำกว่าหน่วยกิตที่กำหนดไว้ได้โดยได้รับอนุมัติจากคณบดีคณะที่นักศึกษาสังกัด
การขอเพิ่มวิชาและการขอเพิกถอนรายวิชา ให้กระทำตามเกณฑ์ต่อไปนี้
- การขอเพิ่มรายวิชา จะกระทำได้ภายใน 2 สัปดาห์แรกนับจากวันเปิดภาคการศึกษาปกติ หรือภายในสัปดาห์แรกนับจากวันเปิดภาคการศึกษาฤดูร้อน โดยการเพิ่มรายวิชานั้นจะต้องไม่เกินจำนวนหน่วยกิต ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- การขอถอนรายวิชา จะกระทำได้ภายใน 2 สัปดาห์แรกนับจากวันเปิดภาคการศึกษาปกติหรือภายในสัปดาห์แรกนับจากวันเปิดภาคการศึกษาฤดูร้อน โดยไม่บันทึกรายวิชาที่ขอถอนในใบรายงานผลการ ศึกษา และนักศึกษาจะได้รับโอนเงินค่าหน่วยกิตของรายวิชาที่ถอนไปใช้ในรายวิชาที่ขอเพิ่มหรือใช้ในภาคการศึกษาถัดไปที่ลงทะเบียนเรียนโดยจะได้เต็มจำนวน
- การขอถอนรายวิชาภายหลัง 2 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 12 สัปดาห์ นับจากวันเปิดภาคการศึกษาปกติหรือภายใน 1 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 6 สัปดาห์ นับจากวันเปิดการศึกษาภาคฤดูร้อน รายวิชาที่ถอนจะบันทึกสัญลักษณ์ W และนักศึกษาไม่มีสิทธิ์ขอคืนหรือโอนค่าหน่วยกิต
- การขอถอนรายวิชาหลังจากได้กำหนดไว้ดังกล่าวข้างต้น รายวิชาที่ถอนจะบันทึกสัญลักษณ์ F และนักศึกษาไม่มีสิทธิ์ขอคืนหรือโอนค่าหน่วยกิต
- การขอเพิ่มรายวิชาและหรือการขอถอนรายวิชา จะต้องมีจำนวนหน่วยกิตรวมต่อภาคการ ศึกษาตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
การลงทะเบียนเรียนซ้ำและปรับคะแนนเฉลี่ยสะสม
การลงทะเบียนเรียนซ้ำ สามารถกระทำได้ ดังนี้
- นักศึกษาที่สอบได้สัญลักษณ์ “F” หรือ “U” ในรายวิชาบังคับจะต้องลงทะเบียนเรียนซ้ำจนกว่าจะสอบได้
- นักศึกษาที่สอบได้สัญลักษณ์ “F” หรือ “U” ในรายวิชาเอกเลือก (Major Elective) หรือรายวิชาโทเลือก (Minor Elective) หรืรายวิชาเลือกเสรี (Free Elective) จะลงทะเบียนเรียนวิชานั้นซ้ำอีก หรือเลือกวิชาอื่นแทนได้ โดยขออนุมัติลงทะเบียนและเปลี่ยนวิชาเรียนจากคณบดีคณะที่นักศึกษาสังกัด
การลงทะเบียนเรียนเพื่อปรับคะแนนเฉลี่ยสะสม สามารถกระทำได้ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้
- นักศึกษาลงทะเบียนเรียนวิชาอื่นนอกเหนือจากที่หลักสูตรกำหนดและเป็นรายวิชาที่เปิดสอนในระดับเดียวกับหลักสูตรที่นักศึกษากำลังศึกษาอยู่
- นักศึกษาลงทะเบียนในรายวิชาที่ได้สัญลักษณ์ D หรือ D+ ใหม่ เพื่อปรับคะแนนเฉลี่ยสะสม
สถานภาพการเรียนและสภาพนักศึกษา
สถานภาพการเรียนและสภาพนักศึกษา ระดับปริญญาตรี ประเมินตามภาคการศึกษาและชั้นปีการศึกษา โดยการเทียบชั้นปีของนักศึกษาให้เทียบจากจำนวนหน่วยกิตที่สอบได้ตามอัตราส่วนของหน่วยกิต ของหลักสูตรนั้น
- นักศึกษาที่สอบได้ต่ำกว่า 32 หน่วยกิตให้เทียบเท่าเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1
- นักศึกษาที่สอบได้ตั้งแต่ 32 หน่วยกิตขึ้นไป แต่ต่ำกว่า 64 หน่วยกิต ให้เทียบเท่าเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2
- นักศึกษาที่สอบได้ตั้งแต่ 64 หน่วยกิตขึ้นไป แต่ต่ำกว่า 96 หน่วยกิต ให้เทียบเท่าเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3
- นักศึกษาที่สอบได้ตั้งแต่ 96 หน่วยกิตขึ้นไป แต่ต่ำกว่า 150 หน่วยกิต ให้เทียบเท่าเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4
- นักศึกษาที่สอบได้ตั้งแต่ 150 หน่วยกิตขึ้นไป ให้เทียบเท่าเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 5
สถานภาพการเรียนของนักศึกษา
การจำแนกสถานภาพการเรียนของนักศึกษา จะกระทำเมื่อสิ้นปีการศึกษาและนักศึกษาได้ทำการ ศึกษาไปแล้วเป็นเวลา 2 ภาคการศึกษาปกติ โดยจำแนกเป็นดังนี้
- สถานะการเรียนปกติ หมายถึง นักศึกษาสอบได้คะแนนเฉลี่ยสะสม (CGPA) ไม่ต่ำกว่า 1.75
- สถานะการเรียนรอพินิจ หมายถึง นักศึกษาสอบได้คะแนนเฉลี่ยสะสม (CGPA) ต่ำกว่า 1.75
การพ้นสภาพนักศึกษา
นักศึกษาจะพ้นสภาพนักศึกษาในกรณีดังต่อไปนี้
- สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
- สอบได้คะแนนเฉลี่ยสะสม (CGPA) ต่ำกว่า 1.50 เมื่อสิ้นปีการศึกษายกเว้นปีแรกที่เข้าศึกษา
- มีระยะเวลาการศึกษาครบตามข้อบังคับที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- ใช้หลักฐานเท็จในการสมัครเข้าเป็นนักศึกษา
- ขาดคุณสมบัติในการเข้าศึกษาต่อในหลักสูตร
- ขาดการลงทะเบียนและไม่ได้ลาพักการศึกษาเป็นเวลา 2 ภาคการศึกษาปกติติดต่อกับ
- มหาวิทยาลัยมีคำสั่งให้พ้นสภาพนักศึกษาด้วยเหตุผลกระทำผิดทางวินัยร้ายแรง
- ลาออกจากการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย
- ตาย
ระยะเวลาการศึกษา
กำหนดระยะเวลาการศึกษาในการศึกษาของนักศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี
- หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี
- หลักสูตรภาคปกติ สำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อน 6 ภาคการศึกษาปกติและอย่างมากไม่เกิน 8 ปีการศึกษา และต้องเรียนให้ได้หน่วยกิต ครบตามหลักสูตรคณะที่นักศึกษาสังกัด
- - หลักสูตรภาคพิเศษ สำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อน 7 ภาคการศึกษาปกติและอย่างมาก ไม่เกิน 12 ปีการศึกษา และต้องเรียนให้ได้หน่วยกิตครบตามหลักสูตรคณะที่นักศึกษาสังกัด
- หลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี
- หลักสูตรภาคปกติ สำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อน 8 ภาคการศึกษาปกติและอย่างมากไม่เกิน 10 ปีการศึกษา และต้องเรียนให้ได้หน่วยกิต ครบตามหลักสูตรคณะที่นักศึกษาสังกัด
- หลักสูตรภาคพิเศษ สำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อน 9 ภาคการศึกษาปกติและอย่างมากไม่เกิน 15 ปีการศึกษา และต้องเรียนให้ได้หน่วยกิตครบตามหลักสูตรคณะที่นักศึกษาสังกัด
การย้ายคณะ เปลี่ยนภาควิชา เปลี่ยนสาขาวิชา
การย้ายคณะ เปลี่ยนภาควิชาหรือสาขาวิชา ของนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องศึกษาอยู่ในคณะหรือภาควิชา หรือสาขาวิชาเดิมมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ภาคการศึกษา ทั้งนี้นักศึกษาจะต้องดำเนินการดังนี้
- ให้นักศึกษายื่นคำร้องขอย้ายคณะ หรือเปลี่ยนภาควิชาหรือสาขาวิชา โดยอยู่ในดุลยพินิจของคณบดีที่เกี่ยวข้องพิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนการลงทะเบียนเรียนประจำภาคการศึกษานั้นๆ
- นักศึกษาที่ได้รับอนุมัติย้ายคณะ หรือเปลี่ยนภาควิชา หรือสาขาวิชา จะต้องแสดงความจำนงขอโอนหน่วยกิตรายวิชาที่ได้เคยศึกษามาแล้ว เพื่อนำมาคำนวณหาค่าคะแนนเฉลี่ยสะสม และการคำนวณหาค่าคะแนนเฉลี่ยสะสมใหม่ จะคำนวณเมื่อคะแนนของคณะหรือภาควิชาหรือสาขาวิชาใหม่ได้แสดงผลการเรียนแล้ว
- นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติไม่ขัดต่อเกณฑ์คุณสมบัติการเข้าศึกษาตามหลักสูตรกำหนด
- นักศึกษาจะต้องมีเวลาที่ศึกษาในหลักสูตรของคณะใหม่ หรือสาขาวิชาใหม่ ขอย้ายเข้าศึกษาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 ภาคการศึกษาปกติ จึงจะมีสิทธิ์สำเร็จการศึกษา
การลาพักนักศึกษา
- การลาพักนักศึกษา หมายถึง การขอรักษาสถานภาพนักศึกษาในกรณีที่นักศึกษา มีความประสงค์จะไม่ลงทะเบียนเรียนหรือไม่สามารถลงทะเบียนเรียนในแต่ละภาคการศึกษา หลังจากได้ศึกษาในมหาวิทยาลัยแล้ว อย่างน้อยหนึ่งภาคการศึกษา โดยนักศึกษาอาจยื่นคำร้องขออนุมัติลาพักการศึกษาได้ ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนี้
- ถูกเกณฑ์หรือระดมเข้ารับราชการทหารกองประจำการ
- ได้รับทุนแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างประเทศหรือทุนอื่นใดที่มหาวิทยาลัยเห็นว่าสมควรสนับสนุน
- เจ็บป่วยจนต้องรักษาตัวเป็นเวลานานตามคำสั่งแพทย์ โดยมีใบรับรองแพทย์จากสถานพยาบาล
- มีเหตุจำเป็นส่วนตัวหรือมีเหตุสุดวิสัยอันสมควร ได้รับพิจารณาให้ลาพักการศึกษาได้ ทั้งนี้ให้นักศึกษายื่นคำร้องโดยเร็วที่สุด
- การลาพักการศึกษา ให้นักศึกษายื่นคำร้องขอลาพักการศึกษาได้ครั้งละ 1 ภาคการศึกษา แต่ไม่เกิน 2 ภาคการศึกษาปกติติดต่อกัน หากนักศึกษามีความจำเป็นที่จะขอลาพักต่อไปอีกให้ขออนุมัติเป็น กรณีพิเศษจากอธิการบดี
- การนับระยะเวลาการศึกษาให้นับระยะเวลาที่ขอลาพักการศึกษาทุกครั้ง อยู่ในระยะเวลาการ ศึกษาตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ยกเว้นกรณีลาพักการศึกษาเนื่องจากถูกเกณฑ์ หรือระดมเข้ารับราชการทหารกองประจำการ
- นักศึกษาจะต้องชำระค่ารักษาสถานภาพนักศึกษา ทุกภาคการศึกษาปกติที่ลาพักการศึกษา
- เมื่อนักศึกษาได้รับอนุมัติให้กลับเข้าศึกษาแล้วให้มีสถานภาพเป็นนักศึกษาเช่นเดียวกับก่อนได้รับการอนุมัติให้ลาพักการศึกษา
การเทียบวิชาเรียนและโอนหน่วยกิต
- การเทียบวิชาเรียนและโอนหน่วยกิตภายในมหาวิทยาลัย
การเทียบวิชาเรียนและโอนหน่วยกิต ให้กระทำภายใต้หลักเกณฑ์ดังนี้
-
- เป็นรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาในหลักสูตร ที่เคยศึกษาในมหาวิทยาลัย
- เป็นรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่บรรจุในหลักสูตรของคณะหรือสาขาวิชาที่ขอเทียบ
- เป็นรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่มีเนื้อหาสาระครอบคลุมไม่น้อยกว่าสามในสี่ของรายวิชาหรือกลุ่มสาขาวิชาที่ขอเทียบ
- เป็นรายวิชาที่ได้สัญลักษณ์หรือระดับคะแนน เป็นไปตามเกณฑ์ของคณะหรือสาขาวิชาในหลักสูตรที่ขอเทียบ
- จำนวนหน่วยกิตของรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่ขอเทียบโอนหน่วยกิต นับรวมกันแล้วไม่เกินสามในสี่ของจำนวนหน่วยกิตของหลักสูตรที่ได้รับโอนเข้าศึกษา
- นักศึกษาต้องศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ภาคการศึกษาปกติและลงทะเบียนเรียนโดยมีผลการศึกษาในหลักสูตรที่รับโอนเข้าศึกษาไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต และจะไม่มีสิทธิ์ได้รับปริญญาเกียรตินิยม
- การเทียบโอนหน่วยกิตในหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง จะต้องไม่เกินชั้นปีและภาคการศึกษาที่มีนักศึกษาอยู่
- ให้นักศึกษายื่นคำร้องขอเทียบรายวิชาและโอนหน่วยกิต ให้เสร็จสิ้นก่อนการลงทะเบียนประจำภาคการศึกษานั้นๆ
- การเทียบวิชาเรียนและโอนหน่วยกิตจากสถาบันการศึกษาอื่น
- คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ขอโอนหน่วยกิตจากสถาบันการศึกษาอื่นมีดังนี้
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าขึ้นไป
- เป็นหรือเคยเป็นนักศึกษาของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่าในหลักสูตรที่ทบวงมหาวิทยาลัย หรือกระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจตามกฎหมายรับรอง
- ไม่เป็นผู้ถูกคัดชื่อออก หรือถูกไล่ออก หรือให้พ้นสภาพนักศึกษาด้วยเหตุถูกลงโทษทางวินัยจากสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาใดมาก่อน
- การเทียบวิชาเรียนและโอนหน่วยกิตจากสถาบันการศึกษาอื่นให้ใช้เกณฑ์ดังนี้
- เป็นรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาในหลักสูตรระดับอุดมศึกษา หรือเทียบเท่าที่สำนักงานคณะ กรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) หรือกระทรวงศึกษาธิการ หรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจตามกฎหมายรับรอง
- เป็นรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่มีเนื้อหาสาระครอบคลุมไม่น้อยกว่าสามในสี่ของรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาในหลักสูตรของมหาวิทยาลัย
- เป็นรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่สอบไล่ได้ไม่ต่ำกว่าระดับคะแนน C หรือ แต้มระดับคะแนน 2.00 หรือเทียบเท่า
- จำนวนหน่วยกิตของรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่ขอโอนหน่วยกิตนับรวมกันแล้วต้องไม่เกินสามในสี่ของจำนวนหน่วยกิตรวมของหลักสูตรที่รับโอนเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย
- รายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่เทียบโอนมาจากสถาบันการศึกษาอื่น จะไม่นำมาคำนวณระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม ยกเว้นรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาที่เทียบโอนหน่วยกิต จากกรณีที่ศึกษาข้ามสถาบันการศึกษา
- การเทียบรายวิชาหรือโอนหน่วยกิตจะกระทำได้ไม่เกินชั้นปีและภาคการศึกษาที่มหาวิทยาลัยได้รับอนุญาตให้มีนักศึกษาอยู่ตามหลักสูตรที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา(สกอ.)แล้ว
- - เอกสารประกอบการเทียบวิชาเรียนและโอนหน่วยกิต
- ใบรายงานผลการศึกษา (Transcript) ที่สถาบันอุดมศึกษาเดิมออกให้เป็นทางการ
- รายละเอียดประจำวิชา (Course Description) ของสถาบันอุดมศึกษาเดิม
- หนังสือรับรองความประพฤติจากอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเดิม
- นักศึกษาต้องศึกษาในมหาวิทยาลัยไม่น้อยกว่า 1 ปีการศึกษา และต้องลงทะเบียนเรียนโดยมีผลการศึกษาในหลักสูตรที่รับโอนเข้าศึกษาไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต จึงจะมีสิทธิ์สำเร็จการศึกษา และจะไม่มีสิทธิ์ได้รับปริญญาเกียรตินิยม
- ให้นักศึกษายื่นคำร้องขอเทียบรายวิชาและโอนหน่วยกิต ภายใน 30 วัน นับแต่วันเปิดภาคการศึกษาแรก ที่นักศึกษาเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย
3. การเทียบความรู้และการให้โอนหน่วยกิตจากการศึกษานอกระบบและ/หรือการศึกษาตามอัธยาศัยเข้าสู่การศึกษาในระบบ
- คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ขอเทียบโอนความรู้และการให้หน่วยกิตให้เป็นไปตามข้อบังคับที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด
- การเทียบโอนความรู้และการให้หน่วยกิตให้ใช้เกณฑ์ดังนี้
-
- การเทียบความรู้จะเทียบเป็นรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาตามหลักสูตรและระดับการศึกษาที่เปิดสอนในหลักสูตรระดับปริญญาตรี
- วิธีการประเมินเพื่อการเปรียบเทียบโอนความรู้ในแต่ละรายวิชา หรือกลุ่มรายวิชาและเกณฑ์ตัดสินของการประเมินเป็นไปตามข้อบังคับที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด
- ผลการประเมินจะต้องเทียบได้ไม่ต่ำกว่าค่าระดับ C หรือ ระดับคะแนน 2.00 หรือเทียบเท่าสำหรับรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาระดับปริญญาตรีจึงจะให้จำนวนหน่วยกิตของรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชานั้น แต่จะไม่ให้ค่าระดับคะแนนสัญลักษณ์ และจะนำมาคิดคะแนนผลการเรียน หรือคำนวณระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม
- การบันทึกผลการเรียนให้บันทึกตามวิธีประเมิน
- การเทียบรายวิชาหรือกลุ่มรายวิชาจากการศึกษานอกระบบและหรือการศึกษาตามอัธยาศัยให้เทียบโอนหน่วยกิต ได้รวมกันไม่เกินสามในสี่ของจำนวนหน่วยกิตรวมของหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่ขอเทียบ
- นักศึกษาจะต้องใช้เวลาศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยอย่างน้อย 1 ปีการศึกษา
การศึกษาข้ามสถาบัน
- นักศึกษาข้ามสถาบัน หมายถึง นักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุมที่ลงทะเบียนรายวิชาเพื่อการศึกษากับสถาบันอุดมศึกษาอื่นทั้งภายในและภายนอกประเทศ หรือนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่ลงทะเบียนรายวิชาเพื่อศึกษากับมหาวิทยาลัยศรีปทุม โดยขอรับผลการศึกษาเพื่อโอนหน่วยกิต
- การลงทะเบียนเรียนเพื่อศึกษากับสถาบันอุดมศึกษาอื่น มีเกณฑ์ดังนี้
-
- เป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนในภาคการศึกษานั้นเป็นภาคการศึกษาสุดท้ายที่จะสำเร็จการศึกษาและมหาวิทยาลัยไม่ได้เปิดสอนรายวิชานั้น
- สถาบันอุดมศึกษาที่นักศึกษาขอศึกษาข้ามสถาบันต้องเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่สำนำงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือกระทรวงศึกษาธิการให้การรับรองหลักสูตรและมาตรฐานการศึกษาแล้ว และมหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบและรับรองระบบการวัดผล
- นักศึกษาที่ประสงค์จะใช้สิทธิ์ดังกล่าวต้องยื่นคำร้อง ก่อนเปิดภาคการศึกษาไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์ เพื่อขออนุมัติ
- รายวิชาที่นักศึกษาขอศึกษาข้ามสถาบันต้องมีเนื้อหาสาระครอบคลุมไม่น้อยกว่าสามในสี่ของรายวิชาของมหาวิทยาลัย
- จำนวนหน่วยกิตที่ลงทะเบียนในภาคการศึกษาที่เรียนข้ามสถาบัน การศึกษานับรวมแล้ว ต้องไม่เกินจำนวนหน่วยกิตที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้นักศึกษาลงทะเบียนต่อภาคการศึกษา และมีรายวิชาที่ขอเรียนข้ามสถาบันได้ไม่เกิน 2 รายวิชา
- นักศึกษาที่ได้รับอนุมัติให้ลงทะเบียนเรียนเพื่อศึกษาข้ามสถาบันต้องปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการลงทะเบียนของสถาบันที่นักศึกษาไปลงทะเบียนเรียน
- นักศึกษาต้องติดตามผลการศึกษา เพื่อให้สถาบันการศึกษานั้นๆ จัดส่งรายงานผลการศึกษาโดยตรงต่อมหาวิทยาลัย
- กรณีนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนข้ามสถาบัน หากรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนข้ามสถาบันมีเวลาเรียนที่ตรงกันกับรายวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนที่มหาวิทยาลัย จะไม่ได้รับอนุญาตให้เรียนข้ามสถาบัน
- การลงทะเบียนเรียนรายวิชาของนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาอื่นเพื่อศึกษากับมหาวิทยาลัยมีเกณฑ์ดังนี้
-
- เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาอื่นทั้งภายนอกและภายในประเทศ
- นักศึกษาต้องยื่นคำร้องต่อมหาวิทยาลัยก่อนเปิดการศึกษาไม่น้อยกว่า 2 สัปดาห์ เพื่อขออนุมัติ
- นักศึกษาที่ได้รับอนุมัติให้ลงทะเบียนต้องชำระค่าหน่วยกิตและค่าธรรมเนียมตามระเบียบของมหาวิทยาลัยทุกประการ
นักศึกษาพิเศษ
- นักศึกษาพิเศษ หมายถึง ผู้ที่ประสงค์ขอเข้าศึกษาในรายวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยโดยไม่ขอ รับปริญญา
- การสมัครเข้าเป็นนักศึกษาพิเศษสามารถดำเนินการดังนี้
-
- ให้ผู้สมัครยื่นคำร้องขอเป็นนักศึกษาพิเศษ ล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือนก่อนเปิดภาคการศึกษา โดยระบุรายวิชาที่จะขอเข้าศึกษาและวัตถุประสงค์ในการขอเข้าศึกษา
- เมื่อได้รับอนุมัติให้เข้าศึกษาแล้ว ให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนรายวิชา โดยชำระค่าหน่วยกิต ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียมตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- การวัดผลและประเมินผลการศึกษาในรายวิชาที่นักศึกษาพิเศษลงทะเบียนเรียนให้เป็นไปตามข้อบังคับการวัดและประเมินผลการศึกษา
- มหาวิทยาลัยอาจพิจารณาให้สัมฤทธิบัตร หรือบันทึกการวัดและประเมินผลการศึกษาในรายวิชานั้น หรือทุกรายวิชาที่นักศึกษาพิเศษลงทะเบียนเรียนในใบรายงานรับรองผลการศึกษาอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างก็ได้
การสำเร็จการศึกษา
- เมื่อนักศึกษาลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาสุดท้าย และตรวจสอบแล้วพบว่านักศึกษาลงทะเบียนเรียนวิชาต่างๆ ครบตามข้อกำหนดของหลักสูตรของคณะที่นักศึกษาสังกัดและคาดว่าจะสำเร็จการศึกษา ให้นักศึกษาแจ้งขอสำเร็จการศึกษา ภายในระยะเวลาที่กำหนด
- นักศึกษาที่จะได้รับประกาศนียบัตร อนุปริญญา และปริญญาต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
2.1 ประกาศนียบัตร
- ออกให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาเฉพาะวิชา สำหรับหลักสูตรฝึกอบรมหรือหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยจัดขึ้น หรือโดยความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก
- เป็นผู้ศึกษาหรือผู้ฝึกอบรม โดยมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาตลอดหลักสูตร
- มีผลสัมฤทธิ์ของการประเมิน(หากมี) อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในแต่ละหลักสูตร
2.2 อนุปริญญา
- สอบได้หน่วยกิตครบถ้วนตามหลักสูตรสาขาวิชาใด สาขาวิชาหนึ่งก่อนถึงขั้นได้รับปริญญาตรีได้รับอนุมัติให้มีอนุปริญญา และได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 หรือสอบได้ครบทุกลักษณะวิชาตามหลักสูตรปริญญาตรี โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรต่ำกว่าเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี แต่ไม่ต่ำกว่า 1.75 หรือ สอบได้ครบทุกลักษณะวิชาตามโครงสร้างหลักสูตรระดับอนุปริญญาตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรโดยมีจำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 90 หน่วยกิตใช้เวลาศึกษาไม่เกิน 6 ปีการศึกษา
- นักศึกษาที่โอนมาจากสถาบันอื่น ต้องมีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- มีความประพฤติดี และไม่มีหนี้สินผูกพันกับมหาวิทยาลัย
2.3 ปริญญาบัตร
- สอบได้หน่วยกิตครบถ้วนตามสาขาวิชาที่ศึกษาและครบทุกรายวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตรปริญญาตรี
- มีระดับคะแนนสะสม (CGPA) ของรายวิชาทั้งหมดที่นักศึกษาได้ศึกษาไม่ต่ำกว่า 2.00
- มีผลการศึกษาไม่ต่ำกว่า C ในรายวิชาที่หลักสูตรกำหนด
- มีความประพฤติดี และไม่มีหนี้สิ้นผูกพันกับมหาวิทยาลัย
- นักศึกษาที่โอนหน่วยกิตมาจากสถาบันอื่นต้องมีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- สภามหาวิทยาลัยจะเป็นผู้อนุมัติการสำเร็จการศึกษาและการให้อนุปริญญาและปริญญา
- การให้ปริญญาเกียรตินิยม นักศึกษาที่ได้รับเสนอชื่อเพื่อรับปริญญาบันฑิตเกียรตินิยมต้องมีผลการ ศึกษา ดังต่อไปนี้
4.1 ปริญญาเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ให้แก่นักศึกษาที่
4.1.1 สอบได้ครบทุกรายวิชาตามหลักสูตร และมีระยะเวลาเรียนอย่างมากไม่เกินจำนวนภาคการศึกษาปกติติดต่อกันตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
4.1.2 สอบได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไป
4.1.3 ไม่เคยสอบตกหรือไม่เคยลงทะเบียนเรียนซ้ำในรายวิชาใดของมหาวิทยาลัย
4.1.4 นักศึกษาที่มีการเทียบโอนรายวิชาจากสถาบันอื่นไม่มีสิทธิ์ได้รับปริญญาเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
4.2 ปริญญาเกียรตินิยมอันดับสอง ให้แก่นักศึกษาที่
4.2.1 สอบได้ครบทุกรายวิชาตามหลักสูตร และมีระยะเวลาเรียนอย่างมากไม่เกินจำนวนภาคการศึกษาปกติติดต่อกันตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
4.2.2 สอบได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 3.25 แต่ไม่ถึง 3.50
4.2.3 ไม่เคยสอบตกหรือไม่เคยลงทะเบียนเรียนซ้ำในรายวิชาใดของมหาวิทยาลัย
4.2.4 นักศึกษาที่มีการเทียบโอนรายวิชาจากสถาบันอื่นไม่มีสิทธิ์ได้รับปริญญาเกียรตินิยมอันดับสอง
การศึกษาปริญญาที่สอง
- คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าเป็นนักศึกษาปริญญาที่สอง
-
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าขั้นปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับรองวิทยฐานะหรือรับรองปริญญาแล้ว
- เป็นผู้ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง โรคที่สังคมรังเกียจ หรือโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
- ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย และไม่บกพร่องในศีลธรรมอันดี
- มีผู้รับรองความประพฤติและมีภูมิลำเนาที่พัก ซึ่งมหาวิทยาลัยสามารถติดต่อได้
- หลักเกณฑ์การขอศึกษาปริญญาที่สอง
-
- การขอศึกษาปริญญาที่สองต้องเป็นสาขาวิชาที่ไม่ตรงกับสาขาวิชาเดิมที่สำเร็จการศึกษามาแล้ว โดยถือให้สาขาวิชาของมหาวิทยาลัยศรีปทุมเป็นเกณฑ์
- มหาวิทยาลัยจะพิจารณายกเว้นรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของหลักสูตรปริญญาตรีที่ขอศึกษาปริญญาที่สองและไม่ถือเป็นหน่วยกิตสะสมในการศึกษาปริญญาที่สอง กรณีที่พิจารณาเห็นว่าผู้ขอศึกษาปริญญาที่สอง ยังขาดความรู้ในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จะต้องศึกษาเพิ่มเติมวิชาเหล่านั้น โดยนับเป็นหน่วยกิตสะสม
- ต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาเฉพาะสาขาของสาขาวิชา ในหลักสูตรปริญญาที่สอง ให้ครบตามที่กำหนดในหลักสูตร
- ต้องลงทะเบียนเรียนวิชาเพิ่มเติมอีกไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรของปริญญาที่สอง
- มหาวิทยาลัยอาจพิจารณาเทียบโอนวิชาเฉพาะสาขาที่ได้เรียนมาแล้วจากปริญญาเดิมให้ แต่ต้องเป็นไปตามเกณฑ์การเทียบวิชาเรียนและโอนหน่วยกิตสำหรับหลักสูตรระดับไม่สูงกว่าปริญญาตรี เพื่อเข้าศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2542
- รายวิชาที่เทียบโอนหน่วยกิตสะสมได้ จะต้องมีเนื้อหาสาระครอบคลุม ไม่น้อยกว่าสามในสี่ของรายวิชาที่ขอโอนและมีผลการเรียนเทียบไม่ต่ำกว่า C
- รายวิชาที่ได้ศึกษามาแล้วในสาขาวิชาเดิม จะได้รับการพิจารณาเทียบโอนหน่วยกิต เพื่อกำหนดแผนการศึกษาของสาขาวิชาปริญญาที่สองรายวิชาที่โอนไม่ได้ให้ตัดออก
- การเรียนและวัดผล
-
- ใช้ระเบียบการศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัย
- ระยะเวลาการศึกษาปริญญาที่สอง ต้องไม่เกินสองเท่าของจำนวนเวลาที่กำหนดไว้ที่ต้องศึกษาในหลักสูตร ทั้งนี้ให้เริ่มนับตั้งแต่ลงทะเบียนครั้งแรก
- ผู้สำเร็จการศึกษาไม่มีสิทธิ์ได้รับปริญญาเกียรตินิยม
- โปรแกรมการศึกษาการกำหนดโปรแกรมการศึกษาปริญญาที่สองให้เป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
- เอกสารที่ต้องนำมาแสดงในวันสมัคร
-
- หนังสือสำคัญรับรองคุณวุฒิ เช่น ปริญญาบัตรหรือใบรับรอง
- ใบรายงานผลการศึกษา (Transcript) ที่สถาบันเดิมออกให้อย่างเป็นทางการ
- รายละเอียดประจำวิชา (Course Description) ของคณะวิชาที่ได้รับปริญญา มาแล้วจากสถาบันเดิม
- รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกไม่สวมแว่นตา ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 6 รูป
- สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล(ถ้ามี)
- การสมัครเข้าศึกษาผู้ประสงค์จะสมัครเข้าศึกษาปริญญาที่สองจะต้องติดต่อยื่นใบสมัครพร้อมหลักฐานต่อมหาวิทยาลัย ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 เดือนก่อนเปิดภาคการศึกษาที่หนึ่งของปีการศึกษานั้น