สร้างวิศวกรพันธุ์แท้ ด้วยคณาจารย์ระดับมืออาชีพ
ตอบ : วุฒิการศึกษาที่เปิดรับ
1. ต้องสำเร็จการศึกษา ม.6
วิทย์ - คณิต
ศิลป์ - คำนวณ
ศิลป์ - สังคม
ศิลป์ - ภาษา
ศิลป์ - จีน
ศิลป์ - ญี่ปุ่น
2. หรือ เทียบเท่า (อาชีวะ) เทียบเท่า (กศน.)
เป็นสาขาที่ศึกษาทฤษฏีและการประยุกต์ใช้ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ระบบควบคุมอัตโนมัติ ผู้ที่ประกอบวิชาชีพในสาขานี้เรียกว่า วิศวกรไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเป็นสาขาที่กว้างประกอบไปด้วยหลายสาขาย่อย สามารถเลือกเรียนมุ่งเน้นกลุ่มวิชาความเชี่ยวชาญ
- ระบบหุ่นยนต์และการควบคุมอัตโนมัติ
- ไฟฟ้ากำลัง
คำอธิบายรายวิชา >> ไฟล์แนบ คำอธิบายรายวิชาหลักสูตร 2560-2564
มีคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในระดับปริญญาเอกและปริญญาโท ที่มีความเชี่ยวชาญ และได้รับการยอมรับจากภาครัฐและเอกชน มีผลงานวิจัยและมีการพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อต่อยอดองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง
- วิศวกรออกแบบติดตั้งระบบไฟฟ้า
- วิศวกรระบบหุ่นยนต์อุตสาหกรรมและเมคคาทรอนิกส์
- วิศวกรวางแผนออกแบบระบบโครงข่ายโทรคมนาคม
- วิศวกรโรงงาน
- วิศวกรดูแลเครื่องจักรกลไฟฟ้า
- วิศวกรระบบโทรคมนาคม
- วิศวกรผู้จัดการอาคาร
- วิศวกรระบบไฟฟ้ากำลัง
- วิศวกรออกแบบแผ่นพิมพ์วงจร
- วิศวกรด้านสมองกลฝังตัว
- สร้างผลิตภัณฑ์
- ที่ปรึกษาด้านพลังงาน
- วิศวกรขายผลิตภัณฑ์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า
- เป็นผู้ประกอบการ ฯลฯ
เป็นสาขาที่ศึกษาทฤษฏีและการประยุกต์ใช้ ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ระบบควบคุมอัตโนมัติ ผู้ที่ประกอบวิชาชีพในสาขานี้เรียกว่า วิศวกรไฟฟ้า สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าเป็นสาขาที่กว้างประกอบไปด้วยหลายสาขาย่อย โดยนักศึกษาสามารถเลือกเรียน มุ่งเน้นกลุ่มวิชาความเชี่ยวชาญ
- ระบบหุ่นยนต์และการควบคุมอัตโนมัติ
- ไฟฟ้ากำลัง
คำอธิบายรายวิชา >> ไฟล์แนบ คำอธิบายรายวิชาหลักสูตร 2560-2564
มีคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในระดับปริญญาเอกและปริญญาโท ที่มีความเชี่ยวชาญ และได้รับการยอมรับจากภาครัฐและเอกชน มีผลงานวิจัยและมีการพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อต่อยอดองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง
- วิศวกรออกแบบ ติดตั้งระบบไฟฟ้า
- วิศวกรระบบหุ่นยนต์อุตสาหกรรมและเมคคาทรอนิกส์
- วิศวกรวางแผน ออกแบบระบบโครงข่ายโทรคมนาคม
- วิศวกรโรงงาน
- วิศวกรดูแลเครื่องจักรกลไฟฟ้า
- วิศวกรระบบโทรคมนาคม
- วิศวกรผู้จัดการอาคาร
- วิศวกรระบบไฟฟ้ากำลัง
- วิศวกรออกแบบแผ่นพิมพ์วงจร
- วิศวกรด้านสมองกลฝังตัว
- สร้างผลิตภัณฑ์
- ที่ปรึกษาด้านพลังงาน
- วิศวกรขายผลิตภัณฑ์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า
- เป็นผู้ประกอบการ ฯลฯ
ก้าวสู่การเป็นวิศวกรโยธาชั้นแนวหน้า
เจาะลึกวิชามากกว่าที่ไหน
ตอบ : วุฒิการศึกษาที่เปิดรับ
1. ต้องสำเร็จการศึกษา ม.6
วิทย์ - คณิต
ศิลป์ - คำนวณ
ศิลป์ - สังคม
ศิลป์ - ภาษา
ศิลป์ - จีน
ศิลป์ - ญี่ปุ่น
2. หรือ เทียบเท่า (อาชีวะ) เทียบเท่า (กศน.)
เรียนเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างทางโยธาในหลายรูปแบบ เช่น อาคาร สะพาน สนามบิน ท่าเรือ เขื่อน ถนน สัญญาณไฟจราจร รวมไปถึงการวิเคราะห์ ทางธรณีและชลศาสตร์ และการบริหารจัดการการก่อสร้าง
คำอธิบายรายวิชา >> ไฟล์แนบ คำอธิบายรายวิชาหลักสูตร 2555-2559
- มีอาจารย์ที่คอยดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิด
- จัดหลักสูตรให้นักศึกษามีทักษะในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม มีวัสดุอุปกรณ์ และห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย
- มีโครงการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาเพื่อให้มีศักยภาพในการแข่งขันกับวิศวกรที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอื่นๆ
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาเป็นสาขาหนึ่งในงานวิศวกรรมควบคุม ซึ่งผู้จะทำงานทางด้านวิศวกรรมโยธาได้ต้องได้รับใบอนุญาตวิศวกรรมควบคุมจากสภาวิศวกร ซึ่งจะได้รับใบอนุญาตก็ต่อเมื่อจบการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา และสอบผ่านเกณฑ์ของสภาวิศวกรอาชีพที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต้องใช้วิศวกรโยธา มีทั้งงานในภาครัฐและเอกชน
ศึกษาการออกแบบเครื่องจักรกลชนิดต่างๆ การผลิตและการนำพลังงานความร้อน และพลังงานกลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
คำอธิบายรายวิชา >> ไฟล์แนบ คำอธิบายรายวิชาหลักสูตร 2560-2564
มุ่งเน้นการพัฒนานักศึกษาให้เป็นวิศวกรคุณภาพของประเทศมีทักษะเป็น “Practical Engineer” หรือ วิศวกรวิชาชีพ อยู่บนพื้นฐานความเชี่ยวชาญ ที่ชำนาญการปฏิบัติตามความต้องการของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม (Industry Focus) ที่ทันสมัย ซึ่งครอบคลุมงานวิศวกรรมในหลายๆด้าน
งานวิชาชีพหลักของสาขาวิศวกรรมเครื่องกล เกี่ยวข้องกับ การคำนวณออกแบบควบคุมการผลิต การค้นคว้า วิเคราะห์ ทดสอบ วางโครงการ อำนวยการติดตั้ง และอำนวยการใช้ระบบและอุปกรณ์ คือ เครื่องต้นกำลัง เครื่องใช้กำลัง อุปกรณ์ถ่ายเทความร้อน เครื่องกำเนิดไอน้ำ หรือไออย่างอื่นๆ เตาเผา ภาชนะใส่ก๊าซภายใต้ความดัน เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำความเย็น และระบบท่อส่งของไหลภายใต้ความดันและของไหลอันตราย
ตัวอย่างตำแหน่งงานของวิศวกรเครื่องกล
- วิศวกรออกแบบ - ติดตั้งระบบปรับอากาศ ระบบท่อประปา/สุขาภิบาล/ดับเพลิง ในอาคาร
- วิศวกรออกแบบ หรือ ติดตั้ง ระบบทางกล ในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม
- วิศวกร ออกแบบชิ้นส่วนทางกล ออกแบบผลิตภัณฑ์
- วิศวกรวางโครงการ บริหารโครงการ
- วิศวกรกระบวนการผลิต ในโรงงานอตสาหกรรม
- วิศวกร ซ่อมบำรุง รักษาเครื่องจักร ในโรงงาน
- วิศวกรควบคุมคุณภาพการผลิต
- วิศวกรบริหารจัดการอาคาร
- วิศวกรด้านวิเคราะห์ทุนในสถาบันทางการเงิน
- วิศวกรผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน ในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม
- วิศวกรด้านอุตสาหกรรมพลังงาน หรือ พลังงานทางเลือก
- วิศวกรด้านการขายผลิตภัณฑ์ ระบบทางวิศวกรรม
- นักวิชาการ นักวิจัย นักพัฒนา ระบบทางกล เครื่องยนต์ ระบบพลังงาน
- เป็นผู้ประกอบการ - ฯลฯ
ตัวอย่างสถานที่ทำงาน
- โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท เช่น Toyota, TATA, CP, ปตท., ปูนซีเมนต์ไทย ฯลฯ
- บริษัทออกแบบ ก่อสร้าง ติดตั้ง ระบบทางกลในอาคาร (ระบบปรับอากาศ ลิฟท์ ประปา) เช่น Jardines Engineering, Italian Thai, พฤษา ฯลฯ
- บริษัทที่ปรึกษา ด้าน สิ่งแวดล้อม พลังงาน และ วิศวกรรมอื่นๆ
- สถาบันทางการเงิน ที่ต้องการการวิเคราะห์ทางด้านทุน ที่เกี่ยวข้องกับงานอุตสาหกรรม
- บริษัท จำหน่ายอุปกรณ์ทางวิศวกรรมเครื่องกล
- หน่วยงานรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับด้านวิศวกรรม - ฯลฯ
ศึกษาการออกแบบเครื่องจักรกลชนิดต่างๆ การผลิตและการนำพลังงานความร้อน และพลังงานกลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
คำอธิบายรายวิชา >> ไฟล์แนบ คำอธิบายรายวิชาหลักสูตร 2560-2564
มุ่งเน้นการพัฒนานักศึกษาให้เป็นวิศวกรคุณภาพของประเทศมีทักษะเป็น “Practical Engineer” หรือวิศวกรวิชาชีพ อยู่บนพื้นฐานความเชี่ยวชาญ ที่ชำนาญการปฏิบัติตามความต้องการของภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม (Industry Focus) ที่ทันสมัย ซึ่งครอบคลุมงานวิศวกรรมในหลายๆด้าน
งานวิชาชีพหลักของสาขาวิศวกรรมเครื่องกล เกี่ยวข้องกับ การคำนวณออกแบบควบคุมการผลิต การค้นคว้า วิเคราะห์ ทดสอบ วางโครงการ อำนวยการติดตั้ง และอำนวยการใช้ระบบและอุปกรณ์ คือ เครื่องต้นกำลัง เครื่องใช้กำลัง อุปกรณ์ถ่ายเทความร้อน เครื่องกำเนิดไอน้ำ หรือไออย่างอื่นๆ เตาเผา ภาชนะใส่ก๊าซภายใต้ความดัน เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำความเย็น และระบบท่อส่งของไหลภายใต้ความดันและของไหลอันตราย
ตัวอย่างตำแหน่งงานของวิศวกรเครื่องกล
- วิศวกรออกแบบ-ติดตั้งระบบปรับอากาศ ระบบท่อประปา/สุขาภิบาล/ดับเพลิง ในอาคาร
- วิศวกรออกแบบ หรือ ติดตั้ง ระบบทางกล ในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม
- วิศวกร ออกแบบชิ้นส่วนทางกล ออกแบบผลิตภัณฑ์
- วิศวกรวางโครงการ บริหารโครงการ
- วิศวกรกระบวนการผลิต ในโรงงานอตสาหกรรม
- วิศวกร ซ่อมบำรุง รักษาเครื่องจักร ในโรงงาน
- วิศวกรควบคุมคุณภาพการผลิต
- วิศวกร บริหารจัดการอาคาร
- วิศวกรด้านวิเคราะห์ทุนในสถาบันทางการเงิน
- วิศวกรผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน ในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม
- วิศวกรด้านอุตสาหกรรมพลังงาน หรือ พลังงานทางเลือก
- วิศวกรด้านการขายผลิตภัณฑ์ ระบบทางวิศวกรรม
- นักวิชาการ นักวิจัย นักพัฒนา ระบบทางกล เครื่องยนต์ ระบบพลังงาน
- เป็นผู้ประกอบการ - ฯลฯ
ตัวอย่างสถานที่ทำงาน
- โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท เช่น Toyota, TATA, CP, ปตท., ปูนซีเมนต์ไทย ฯลฯ
- บริษัทออกแบบ ก่อสร้าง ติดตั้ง ระบบทางกลในอาคาร (ระบบปรับอากาศ ลิฟท์ ประปา) เช่น Jardines Engineering, Italian Thai, พฤษา ฯลฯ
- บริษัทที่ปรึกษา ด้าน สิ่งแวดล้อม พลังงาน และ วิศวกรรมอื่นๆ
- สถาบันทางการเงิน ที่ต้องการการวิเคราะห์ทางด้านทุน ที่เกี่ยวข้องกับงานอุตสาหกรรม
- บริษัท จำหน่ายอุปกรณ์ทางวิศวกรรมเครื่องกล
- หน่วยงานรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับด้านวิศวกรรม ฯลฯ
การคำนวณออกแบบ ควบคุมการผลิต ค้นคว้า วิเคราะห์ ทดสอบ ดัดแปลง เกี่ยวกับยานพาหนะ อีกทั้งสามารถอำนวยการใช้ระบบและอุปกรณ์เกี่ยวกับเครื่องยนต์ต้นกำลัง อุปกรณ์ถ่ายเทความร้อน ภาชนะใส่ก๊าซภายใต้ความดัน ระบบเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในยานยนต์
คำอธิบายรายวิชา >> ไฟล์แนบ คำอธิบายรายวิชาหลักสูตร 2557-2561
หลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตวิศวกรที่มีความรู้และปัญญา ที่สามารถประกอบอาชีพทางวิศวกรรมยานยนต์ได้อย่างมีประสิทธิผล การศึกษาจะเน้นทั้งทางด้านทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้นำไปสู่การวิเคราะห์วิจัยปัญหาทางวิศวกรรมอย่างถูกต้อง
- วิศวกรยานยนต์ประจำโรงงาน วิศวกรอำนวยการผลิต วิศวกรควบคุมคุณภาพสินค้า วิศวกรควบคุมหรือซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลภายในโรงงานทางด้านอุตสากรรมยานยนต์
- วิศวกรออกแบบ ทดสอบ งานทางด้านยานยนต์
- วิศวกรควบคุมการติดตั้งระบบงานทางด้านยานยนต์
- วิศวกรการขายหรืองานบริการทางด้านเทคนิคในอุตสาหกรรมยานยนต์ วิศวกรประจำทีมการแข่งขัน หรือฝ่ายจัดการแข่งขันทางด้านยานยนต์
- อาจารย์ / นักวิชาการและนักวิจัยทางด้านวิศวกรรมยานยนต์
- ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมบริการทางด้านยานยนต์
- งานอื่นที่เกี่ยวข้องกับทางวิศวกรรมยานยนต์และเครื่องกล เช่น วิศวกรประเมินราคา ฯลฯ
วิศวกรทางด้านนี้ที่มีหน้าที่หลักในการออกแบบ และจัดการระบบต่างๆ เช่น โลจิสติกส์ ระบบคลังสินค้า ระบบการผลิต ระบบการบรรจุภัณฑ์ ระบบการกระจายสินค้า รวมถึงการนำเข้าและส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนกระบวนการดำเนินงานที่ใช้ในธุรกิจอุตสาหกรรมทุกประเภท สามารถเลือกเรียนมุ่งเน้นกลุ่มวิชาความเชี่ยวชาญ
- โลจิสติกส์
- กระบวนการอุตสาหกรรม
คำอธิบายรายวิชา >> ไฟล์แนบ คำอธิบายรายวิชาหลักสูตร 2559-2563
มีนโยบายปรับกระบวนการจัดการศึกษาเพื่อให้เรียนเรื่องยากให้ง่าย ใช้งานได้จริง - เรียนรู้ประสบการณ์จริงจากวิศวกรมืออาชีพ คัดเน้นเนื้อหา ฝึกปฏิบัติอย่างตรงจุดให้เข้าใจง่าย ประยุกต์ใช้ในการทำงานวิศวกรรมได้จริงจากห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย ตอบสนองต่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีเครื่อข่ายภาคอุตสาหกรรม และ โอกาสการฝึกปฏิบัติงานจริง
- วิศวกรในองค์กรของรัฐและเอกชน เช่นอุตสาหกรรมค้าส่งค้าปลีก นำ เข้าส่งออก อุตสาหกรรมผลิตนํ้ามัน รถยนต์ ปูนซิเมนต์ อาหารสำเร็จรูป เป็นต้น
- วิศวกรด้านผู้ออกแบบ ควบคุม วิเคราะห์การขนส่ง และการบริการโลจิสติกส์ (LSPs)
- วิศวกรวางแผนด้านวัสดุ และการผลิต ในโรงงาน
- วิศวกรการบริหารจัดการ และออกแบบระบบด้านคลังสินค้า และกระจายสินค้า
- ผู้ประกอบการธุรกิจด้านโลจิสติกส์ (ขนส่ง จัดเก็บ วางแผน ฯลฯ)
- ที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมโลจิสติกส์
- นักวิจัย นักวิชาการเกี่ยวกับงานทางด้านวิศวกรรมโลจิสติกส์ในหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน
โครงการหลักสูตรบัณฑิตพันธุ์ใหม่ วิศวกรรมระบบราง
- แผนเรียน 2 ปี (ปวส.) จำนวน 83 หน่วยกิต
- แผนเรียน 4 ปี (ม.6/ปวช.) จำนวน 132 หน่วยกิต
(ชั้นปีที่ 2 เรียนที่ประเทศจีน)
โครงสร้างหลักสูตร >> ไฟล์แนบ โครงสร้างหลักสูตร
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทั้งทางด้านวิชาการและปฏิบัติการในด้านวิศวกรรมโยธา มีความสามารถในการวิจัยและพัฒนางานด้านวิศวกรรมโยธารวมทั้งสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ในการพัฒนาประเทศได้
1. มุ่งเน้นการเรียนรู้ด้านการวิเคราะห์ การออกแบบ และการวางแผน ส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สู่ระดับสากล จากคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิและเข้มข้นด้วยประสบการณ์ มีประสบการณ์ที่หลากหลายทั้งในและต่างประเทศ
2. ความรู้ที่ได้รับมีความทันสมัย และสามารถนำมาใช้ปฏิบัติงานได้ทันที
3. เรียน วันเสาร์-อาทิตย์ หรือเวลานัดหมายที่นักศึกษาสะดวก เหมาะสำหรับนักศึกษาที่ทำงานประจำให้มีโอกาสศึกษาต่อได้
4. Class size ขนาดเล็ก อาจารย์ดูแลอย่างใกล้ชิดเสมือนญาติ ที่ให้คำปรึกษาทั้ง ด้านวิชาการ ด้านวิชาชีพ และการดำเนินชีวิต
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาเป็นสาขาหนึ่งในงานวิศวกรรมควบคุม ซึ่งผู้จะทำงานทางด้านวิศวกรรมโยธาได้ต้องได้รับใบอนุญาตวิศวกรรมควบคุมจากสภาวิศวกร ซึ่งจะได้รับใบอนุญาตก็ต่อเมื่อจบการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา และสอบผ่านเกณฑ์ของสภาวิศวกรอาชีพที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต้องใช้วิศวกรโยธา มีทั้งงานในภาครัฐและเอกชน
มุ่งเน้นการการวิจัยเพื่อพัฒนาความรู้ขั้นสูง และการประยุกต์ใช้ในสาขาวิศวกรรมโยธา โดยมีคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิและเข้มข้นด้วยประสบการณ์ มีประสบการณ์ที่หลากหลายทั้งในและต่างประเทศ มีอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การเรียนเป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้
มุ่งเน้นการการวิจัยเพื่อพัฒนาความรู้ขั้นสูง และการประยุกต์ใช้ในสาขาวิศวกรรมโยธา โดยมีคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิและเข้มข้นด้วยประสบการณ์ มีประสบการณ์ที่หลากหลายทั้งในและต่างประเทศ
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา เป็นสาขาหนึ่งในงานวิศวกรรมควบคุม ซึ่งผู้จะทำงานทางด้านวิศวกรรมโยธาได้ต้องได้รับใบอนุญาตวิศวกรรมควบคุมจากสภาวิศวกร ซึ่งจะได้รับใบอนุญาตก็ต่อเมื่อจบการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา และสอบผ่านเกณฑ์ของสภาวิศวกรอาชีพที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต้องใช้วิศวกรโยธา มีทั้งงานในภาครัฐและเอกชน
เงินเดือน : 50,000 บาท ขึ้นไป