ถ้าพูดถึงคำว่ากฎหมายแล้ว ทุกคนก็คงจะคิดถึงนิติศาสตร์ หรือเส้นทางนักกฎหมายอย่างทนายกันใช่ไหม?
แล้วเคยสงสัยไหมว่าคนเรียนิติศาสตร์นี้เขาเรียนอะไรกันบ้าง? แล้วที่ว่าแทบจะกินหนังสือแทนข้าวเพราะเรียนหนักมากนี้จริงไหม?
ในวันนี้เลยจะขอพาไปหาคำตอบสำหรับคนที่สงสัยเกี่ยวกับคนเรียนนิติศาสตร์กับ 4 ข้อสงสัยเกี่ยวกับการเรียนกฎหมาย เพื่อให้เราได้รู้จักกับคณะนี้มากขึ้นไปอีกนิด!
จริงๆ แล้วเรียนนิติศาสตร์ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเรียนแค่ตัวบทกฎหมายอย่างเดียวนะ ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ ภาษา เศรษฐศาสตร์ สถิติพื้นฐาน หรือแม้แต่จิตวิทยา ก็มาหมด! เพราะเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับกฎหมาย ทั้งกฎหมายของแต่ละยุคสมัย กฎหมายระหว่างประเทศ การค้าขาย การเสียภาษี รวมถึงจิตวิทยาในการทำงาน
คณะนิติศาสตร์ไม่ได้ต้องการคนที่เรียนเก่งที่สุด ฉลาดที่สุด หรือความจำดีที่สุด แต่ต้องการคนที่นำกฎหมายไปใช้ได้อย่างถูกต้องและยุติธรรม เพราะการเรียนนิติศาสตร์ไม่ใช่เพียงแค่จะจำอย่างเดียวเพื่อเรียนให้จบไป แต่ต้องเป็นคนที่คิดเป็น วิเคราะห์เป็น ตีความได้ และเลือกใช้กฎหมายให้ถูกต้อง การจะเลือกใช้กฎหมายบทไหน จะต้องมีเหตุผลมาสนับสนุนว่าทำไมถึงใช้ และผลที่ตามมาจากการใช้กฎหมายบทนี้จะเป็นอย่างไร
ถ้าคุยกับเพื่อนที่เรียนนิติฯ แล้วเจอศัพท์แปลกๆ ที่ฟังแล้วงงๆ ก็อย่าแปลกใจไป เพราะภาษาที่เกี่ยวกับกฎหมายบางคำค่อนข้างที่จะซับซ้อน หรือเป็นคำที่มีความเฉพาะตัวมากๆ ถึงแม้จะเป็นภาษาไทย แต่บางทีฟังแล้วก็ไม่เข้าใจ ต้องแปลไทยเป็นไทยอีกรอบหนึ่ง อาจะมีบางครั้งที่เผลอติดมาพูดกับเพื่อน ก็อย่าถือสากันเลย
ไม่ว่าจะอาชีพไหนๆ ก็ต้องมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายทั้งนั้น ดังนั้นคนที่เรียนจบนิติศาสตร์ ไม่จำเป็นที่จะต้องทำงานกฎหมายอย่างเดียว สามารถทำงานอย่างอื่น โดยไม่จำเป็นต้องเป็นทนายความทุกคน เช่น อาชีพตำรวจ, นิติกร, เจ้าหน้าที่สินเชื่อ หรือ ที่ปรึกษากฎหมาย เป็นต้น
ใครที่สนใจอยากเรียนด้านกฎหมาย แต่ยังกลัวเพราะรู้สึกว่ายากหรือรู้สึกเรียนหนักเกินไปแล้วละก็ ต้องนี่เลย!
ที่นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่จะสอนกฎหมายสมัยใหม่ ทำเรื่องยากให้เข้าใจง่าย เรียนรู้ของจริง กับตัวจริงในวงการกฎหมาย เน้นความรู้ความเข้าใจ สนุกไปกับกฏหมาย
ติดตามข่าวสารและเรื่องน่าสนใจของคณะนิติศาสตร์ SPU ได้ที่ www.spu.ac.th/fac/law/