ความเชี่ยวชาญใน e-learning ทำให้นิเทศศาสตร์ไม่ต้องเริ่มนับ 1 กับการเรียนออนไลน์

ไวรัส Covid-19 จุดเปลี่ยนของการศึกษาไทยที่ทำให้การเรียนการสอนต้องเข้าสู่ระบบออนไลน์เต็มรูปแบบ 100% แต่สำหรับคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ด้วยความที่ใช้ Elearning อยู่แล้วทุกวิชาและอาจารย์ผู้สอนต่างมีความเชี่ยวชาญ การตอบรับกับสถานการณ์จึงดำเนินต่อไปได้โดยไม่ต้องเริ่มต้นนับ 1
ผศ.มานินทร์ เจริญลาภ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์มีเดีย กลุ่มงานโครงสร้างพื้นฐาน
เตรียมการเรื่องการสอน Online อย่างไร
ปกติในการเรียนการสอนของคณะนิเทศศาสตร์มีการใช้ Elearning อยู่แล้วทุกวิชา อาจารย์ทุกคนมีความเชี่ยวชาญและมีทักษะในการใช้ระบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ e-Learning บน LMS ของมหาวิทยาลัยมานานหลายปีแล้ว จึงทำให้มีประสบการณ์ในการสอน Online และไม่ต้องมาเริ่มนับ 1 ใหม่ เมื่อเกิดสถานการณ์นี้ขึ้น
สิ่งที่ต้องปรับตัว เมื่อเปลี่ยนการเรียนการสอนเป็น Online 100%
ในการปรับตัวของคณาจารย์ผู้สอนเมื่อเกิดสถานการณ์ Covid-19 นั้น ต้องขอบคุณท่าน ดร.รัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีปทุม รองอธิการบดี ผศ.ดร.วิรัช และส่วนงานหลายๆ ส่วนของมหาวิทยาลัย ทั้งสำนัก OOE ศูนย์ TLC, ICT ที่มีความพร้อมในการจัดอบรมเพิ่มความเชี่ยวชาญ เพิ่มทักษะให้อาจารย์ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ App หรือโปรแกรมต่างๆ ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการวัดประเมินผล แบบ Online 100% ได้แก่ Zoom, Microsoft Teams, Loom, Google meet ทำให้อาจารย์ในทุกวิชานำไปใช้ได้ทันที รวมถึงทำให้การเรียนการสอนนักศึกษาไม่ขาดช่วง สามารถสอนได้ครบในทุกเนื้อหาที่กำหนดไว้ใน มคอ.3 โดยการปรับเทคนิควิธีการสอนให้เข้ากับการใช้ App ต่างๆ
ความแตกต่างระหว่างการสอนปกติและการสอน Online
ความแตกต่างของการสอนปกติและการสอน Online | ||
กิจกรรม | การสอนปกติ | การสอน Online |
1. การสื่อสารขณะทำการสอน | ผู้สอนสามารถสังเกตและรับรู้ทั้งการพูดตอบ การคุยกัน การแสดงสีหน้าสายตา ท่าทาง อากัปกิริยาของนักศึกษาเมื่อกวาดสายตาไปทั้งห้องเรียน เป็นการสื่อสารที่เห็นหน้าเห็นตากัน รับรู้ความรู้สึกของผู้เรียนและผู้สอน | ผู้สอนรับรู้ได้เฉพาะบางคนจากการถามตอบ แต่ไม่สามารถสังเกต Feedback ที่เกิดขึ้นพร้อมๆกันด้วยข้อจำกัดของการสอน Online ผู้สอนไม่สามารถรับรู้ได้ว่าขณะทำการสอนนักศึกษาแต่ละคนกำลังทำอะไรอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่ปิดกล้อง จะวัดว่าผู้เรียนมีความตั้งใจในการเรียน ยากกว่าการสอนแบบปกติ |
2. ความสะดวกสบายในการเรียนการสอนและการประชุมกลุ่มย่อย | ผู้สอนและผู้เรียนต้องเสียเวลาในการเดินทาง ต้องมีการวางแผนตื่นเช้าซึ่งผู้เรียนมักมีปัญหาในเรื่องนี้ หรือการประชุมพูดคุยกับ ผู้เรียนทำได้ยากเพราะเวลาทุกคนจะว่างไม่ตรงกัน | จัดการเรียนการสอนได้ทุกที่ทุกเวลาทั้งในช่วงเวลาตารางสอนและนอกเวลาตารางสอน นักศึกษาที่มีปัญหาการเข้าเรียนสายเพราะปัญหารถติด ตื่นสายมาไม่ทัน หรือขาดเรียนปรากฏว่ากลุ่มนี้มาเข้าเรียนได้ แม้ว่าตื่นสายแต่เข้าเรียนทันจากบนที่นอนก็มี ทำให้ยอดผู้เรียนที่เข้าห้องเรียน Online มีจำนวนมากกว่าการสอนแบบปกติ นอกจากนี้สามารถประชุมพูดคุยผ่าน Online ได้สะดวกรวดเร็วทั้งผู้สอนและผู้เรียน การให้คำแนะนำปรึกษาทำได้ง่าย สะดวก จะเรียกประชุมเมื่อไรก็ได้ในกรณีเร่งด่วน |
3. การส่ง Project และ แบบฝึกหัด | ผู้สอนกำหนดให้ Print งานเป็นชิ้นหรือฉบับแล้วจัดส่ง ซึ่งมีเรื่องค่าใช้จ่ายในการผลิต | งานและแบบฝึกหัดทุกชิ้นส่งผ่านสื่อออนไลน์ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนการผลิต |
4. การวัดประเมินผล | มีการวัดประเมินผลในชั้นเรียน การสอบกลางภาค และสอบปลายภาค | การวัดประเมินผลใช้การทดสอบย่อย แบบฝึกหัด และการวัดประเมินผล Online ทั้งหมด |
ปัญหาอุปสรรคและวิธีการแก้ไขปรับปรุง
ปัญหาอุปสรรค |
วิธีการแก้ไขปรับปรุง |
1. ความแรง ความเร็ว ความเสถียร ของ Internet | 1. มหาวิทยาลัยให้การสนับสนุน รวมทั้งภาครัฐและเครือข่ายค่ายบริการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ |
2. ความตั้งใจ สนใจของผู้เรียน | 2. ผู้สอนใช้วิธีการสอนและวิธีการในการดึงดูดผู้เรียนให้อยู่กับผู้สอน มีการหาเทคนิควิธีการเช็ค Feedback ในรูปแบบต่างๆ ระหว่างการสอน การนัดคุยเป็นกลุ่มเล็กๆนอกตารางเรียนผ่าน Zoom หรือระหว่างเรียนให้ Capture แล้วส่งท้ายชั่วโมง หรือการถามตอบ การทำ Quiz ท้ายชั่วโมง |
3. ความใกล้ชิดในการดูแล | 3.มีการพูดคุยรายบุคคลและกลุ่มย่อยบ่อยมากขึ้นกว่าปกติ นักศึกษา Post ปัญหาถามและอาจารย์ตอบให้คำปรึกษา คำแนะนำได้ตลอดเวลา แม้ว่าจะไม่ได้เจอหน้ากันแบบยามปกติ |