จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าการเรียนโลจิสติกส์ ทำได้มากกว่าการ นำเข้า – ส่งออก สินค้า
วันนี้เราจะมารู้ให้ลึกกว่าที่เคยรู้กับ 6 อาชีพนักจัดการ สายโลจิสติกส์
มาที่อาชีพแรก อยากรู้ไหมว่าการเป็น นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ทำอะไรบ้าง?
หน้าที่หลักเลยก็คือการวิเคราะห์ ให้คำปรึกษา แนะนำ เพื่อลดต้นทุนด้านบริหารคลังสินค้า วัตถุดิบ สินค้าหลังการผลิต และการขนส่งสินค้าเพื่อให้ลูกค้าที่ได้รับสินค้าตรงตามเวลาและสถานที่ตามที่กำหนดไว้ โดยจะวิเคราะห์ดัชนีชี้วัด วิเคราะห์กระบวนการดำเนินงาน สนับสนุนงานบริการและการผลิต รวมทั้งให้คำปรึกษาแก่สถานประกอบการ
ถึงหน้าที่จะดูเครียดไปบ้าง แต่ถ้าเราชอบก็จะกลายเป็นความสนุกในการทำงานได้เลยนะคะน้องๆ
นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ
รวมหน้าที่ทั้งหมดของนักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ อย่างแรกคือวิเคราะห์และศึกษาความเป็นไปได้ ต่อมาคือวางแผนการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบตามขั้นตอนของวงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ วิเคราะห์และออกแบบระบบให้สอดรับกับความต้องการขององค์กรและผู้ใช้งาน ทำการทดสอบระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นว่าตรงกับข้อกำหนดความต้องการใช้งานระบบ ติดตั้งและปรับค่าระบบก่อนการเริ่มต้นใช้งานระบบ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับระบบที่พัฒนา รวมทั้งการให้ข้อแนะนำด้านเทคนิคและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบ ใครอยากเป็นก็เล็งไว้เลยนะ
ฝ่ายซัพพลายเชนและโลจิสติกส์
ฝ่ายนี้ทำงานเกี่ยวกับการขนส่งสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ธุรกิจชิปปิ้ง หรือการดำเนินการพิธีทางศุลกากร เป็นต้น ซึ่งได้กลายเป็นส่วนสำคัญในธุรกิจไปแล้ว โดยหัวใจสำคัญคือการเคลื่อนย้ายสินค้าจากสถานที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งอย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดการด้านบริการ รวมไปถึงการบริหารทรัพยากรให้คุ้มค่า เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สำคัญมากกับงานสายโลจิสติกส์เชียวนะคะ
ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า
วางแผนการใช้พื้นที่จัดเก็บสินค้าสำเร็จรูปและบริหารสินค้าคงคลังให้เป็นไปตามระเบียบ ควบคุมการดำเนินงานรับเข้าและเบิกจ่ายสินค้าภายในคลังให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ประสานงาน กำกับดูแลงานจัดส่งสินค้าตั้งแต่การวางแผน คัดเลือกตัวแทนขนส่งและควบคุมต้นทุนการขนส่ง
ฝ่ายจัดซื้อ
ทำหน้าที่จัดซื้อสินค้าและบริการจากผู้ขาย (Supplier) ด้วยการจ่ายเงินตามที่ราคากำหนดไว้จากผู้ให้บริการ ให้ได้ราคาที่สอดกับปริมาณและคุณภาพ รวมทั้งการจัดส่งที่ตรงเวลาตามสถานที่ที่กำหนดไว้
ฝ่ายควบคุมวัตถุดิบ
มาที่อาชีพสุดท้ายที่พี่จะแนะนำละ ฝ่ายควบคุมวัตถุดิบมีหน้าที่จัดทำแผนความต้องการใช้วัตถุดิบเพื่อการผลิตที่สอดคล้องกับแผนการผลิต ในเรื่องจำนวน ชนิด เวลาที่จะต้องมี – ติดตามตรวจสอบการมีอยู่ของวัสดุเพื่อให้มั่นใจว่าการผลิตจะไม่ติดขัด
ใครอยากทำงานสายโลจิสติกส์ตำแหน่งหรือฝ่ายไหนกันบ้าง ถ้าสนใจอยากทำงานและได้รับประสบการณ์จริงตั้งแต่เรียน ที่วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน SPU เป็น Choice ที่พี่อยากจะแนะนำกับน้องๆ ได้เข้ามาเรียน เพราะน้องจะได้รับความรู้จนเต็มอิ่ม ประสบการณ์ที่แปลกใหม่และใช้ได้จริง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.spu.ac.th/fac/logistics/